ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : การเขียนเพื่อประชาสัมพนธ์...คือไรหว๊า ??
สำหรับรายวิชา การเขียนเพื่องานประชาสัมพันธ์ นะครับ คุณจะได้เรียนในภาคการศึกษาที่2 ของชั้นปีที่1 คณะนิเทศศาสตร์ ซึ่งวิชา การเขียนเพื่องานประชาสัมพันธ์ จะเป็นวิชาที่เรียนต่อเนื่องจากวิชา หลักการประชาสัมพันธ์ ที่ได้เรียนในภาคการศึกษาที่2 ของชั้นปีที่1 (ตามที่พี่จ๊ะเอ๋เรียนน๊ะ แล้วแต่มหาวิทยาลัยนะจ๊า !!)
จุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ ทั้งหมด3ระดับด้วยกัน คือ
1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ (Knowledge)
2.เพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude)
3.เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior)
ในบทที่1นี้นะครับ คุณจะได้รู้จักความแตกต่างระหว่างการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ กับ การเขียนเพื่อการโฆษณา ซึ่งในบทนี้อาจารย์ผู้จะสอนให้นักศึกษารู้ว่าการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อ “มุ่งสร้างความเข้าใจ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและโน้มน้าวใจกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร” และการเขียนเพื่อการโฆษณาจะมีวัตถุประสงค์เพื่อ “มุ่งตรงไปที่กลุ่มประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า เพื่อหวังให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น” และนี่คือความแตกต่างระหว่างการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ กับ การเขียนเพื่อการโฆษณา ทั้งนี้อาจารย์ผู้สอนจะสอนถึงประเภทของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์จะแบ่งออกเป็น4 วัตถุประสงค์ใหญ่ๆคือ
1.การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้เข้าใจ
2.การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
3.การเขียนเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด
4.การเขียนเพื่อสนับสนุนการตลาด
และนี่คือเนื้อหาคร่าวๆของบทที่1 ในวิชาการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ ที่คุณได้เรียนที่คณะนิเทศศาสตร์ <<< เวอร์บ้างอะไรบ้างนะคร๊าบบบบ >>> (@v@) *-*... แล้วเจอกับพี่จ๊ะเอ๋กันใหม่คราวหน้านะครับบบบบ...>,.<
นามปากกา : จ๊ะเอ๋ วันที่เขียน 22/1/2555 เวลา 23.47 น.
ความคิดเห็น