ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
เรื่องน่ารักน่ารู้ของอัญมณี

ลำดับตอนที่ #7 : อัญมณีกับสีสัน

  • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 49



         
ทราบกันไหมคะว่าทำไมอัญมณีจึงมีสีสันมากมาย ทั้งๆ ที่อัญมณีบางชนิดอยู่ในตระกูลเดียวกัน ตัวอย่างเช่น พลอยชนิดคอรันดัม
, เบริล, และตระกูลการเน็ต เป็นต้น

 

 

          เพราะว่าสีของพลอยขึ้นกับส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้างภายในของอะตอม ธาตุที่ทำให้เกิดสี ได้แก่ โครเมียม เหล็ก ไททาเนียม วานาเดียม และนิเกิล เป็นต้น

 

 

          การที่เราเห็นพลอยเป็นสีต่างๆเนื่องจากคุณสมบัติการดูดกลืนและการส่องผ่านคลื่นแสงของพลอย เช่น เรามองเห็นพลอยเป็นสีแดงเนื่องจากเมื่อแสงส่องผ่านตัวพลอย พลอยจะดูดกลืนแสงสีอื่นๆ ไว้และส่องผ่านคลื่นแสงสีแดงออกมา

 

 

          ก่อนอื่นก็ขอกล่าวถึงประเภทสีในแร่คร่าวๆ ก่อน

 

 

          ประเภทสีในแร่ธาตุนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

 

 

          อิดิโอโครแมติค (Idiochromatic) หมายถึง สีของพลอยที่เกิดจากธาตุที่จำเป็นต่อโครงสร้างทางเคมีของพลอยชนิดนั้น พลอยประเภทนี้จะมีสีเดียว เช่น เทอร์ควอยส์ จะมีสีฟ้าเนื่องจากมีธาตุคอปเปอร์ มาลาไคต์ จะมีสีเขียวเนื่องจากมีธาตุคอปเปอร์ เช่นเดียวกัน โกเมนอูวาโรไวต์ จะมีสีเขียวเนื่องจากมีธาตุโครเมียม ฯลฯ

 

 

          แอลโลโครแมติค (Allochromatic) หมายถึง สีของพลอยที่เกิดการแทรกซึมของธาตุที่ไม่จำเป็นต่อโครงสร้างทางเคมีของพลอยชนิดนั้นๆ พลอยประเภทนี้ถ้าอยู่ในสภาพบริสุทธิ์จะใสไม่มีสี การที่เกิดสีได้เนื่องจากมีมลทินเข้าไปเป็นส่วนประกอบของพลอย เช่น ทับทิมมีธาตุโครเมียมทำให้เกิดสีแดง ไพลินมีธาตุทิทาเนียม + เหล็กจึงเกิดสีน้ำเงิน บุษราคัมมีธาตุเหล็กจึงเกิดสีเหลือง

 

 

          ทุกๆ ท่านคงจะเข้าใจถึงการเกิดสีของพลอยมากขึ้นแล้วนะคะ ต่อจากนี้จะเป็นการกล่าวถึงการจัดกลุ่มพลอยด้วยสี

 

 

          เนื่องจากพลอยต่างชนิดกันบางครั้งอาจมีสีที่คล้ายกันมากจนไม่สามารถแยกได้ แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์เพียงแค่มองก็สามารถทราบได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดใด ดังนั้นเราสามารถใช้คุณสมบัติอื่นๆช่วยแยกพลอยได้ เช่น เราอาจจะดูจากเนื้อพลอย ซึ่งพลอยแต่ละชนิดจะมีความแข็งที่แตกต่างกัน พลอยที่มีความแข็งมากกว่าจะให้ประกาย และความระยิบระยับสวยงามกว่าพลอยที่แข็งน้อยกว่า หรือดูการกระจายแสง ความวาว นอกจากนี้ถ้าเราแยกด้วยตาเปล่าไม่เห็นเราอาจจะใช้ Loop ซึ่งมีกำลังขยาย 10 เท่า ช่วยได้เล็กน้อย หรือจะใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดูตำหนิภายใน เช่น

 

          ทับทิมจะมีตำหนิเส้นเข็มที่ตัดกันเป็นมุม 60 องศา และ 120 องศา และมีความแข็ง 9

 

          ส่วนโกเมนซึ่งมีสีแดงเช่นกัน จะมีตำหนิเส้นเข็มทำมุมกัน 70 องศา และ 120 องศา มีความแข็ง 7-7.5

 

 

          ดังนั้นจะขอแนะนำพลอยที่มีสีเดียวกันเพื่อง่ายต่อการเลือกซื้อ และยังสามารถใช้เป็นอัญมณีเลียนแบบ (วัตถุที่มีลักษณะภายนอกคล้ายอัญมณีธรรมชาติที่ต้องการเลียนแบบ แต่ส่วนประกอบ และคุณสมบัติต่างๆแตกต่างจากอัญมณีธรรมชาติ เช่น โกเมนสีแดงเลียนแบบทับทิม แก้วสีเขียวเลียนแบบมรกต คาลซีโดนีสีเขียวเลียนแบบหยก และคิวบิกเซอร์โคเนียสังเคราะห์เลียนแบบเพชร)

 

 

          ใสไม่มีสี (พวกควอทซ์ เพชร เพทาย) Rock Crystal(Quartz), Diamond, Scheelite, Danburite, Zircon, Sapphire, Achroite(Tourmaline), Orthoclase

 

 

          สีดำ (จำพวกนิล) Jet, Schorl, Onyx, Glass, Coral, Artifical Jet

 

 

          สีน้ำเงินหรือม่วง (พวกลาปส ลาซูลี อความารีน อะเมทิสต์) Lapis Lazuli, Turquoise, Azurite, Aquamarine, Hauyne(Lapis Lazuli), Amathyst, Topaz, Sapphire, Pearl, Spinel

 

 

          สีแดงหรือชมพู (ประมาณทับทิม) Pyrope, Ruby, Rubellite, Almandine, Pink Grossular, Spessartine, Topaz, Pink Sapphire, Watermelon Tourmarine, Coral(calcareous), Spinel

 

 

          สีเขียว (จำพวกมรกต หยก) Emeral, Peridot, Malachite, Crysoprase, Bloodstone, Jadeite, Nephrite, Damantoid, Diamond, Grossular , Garnet, Tourmaline, Zircon, Sapphire, Agate, Watermelon Tourmaline, Fluorite

 

 

          สีขาวหรือเงิน (พวกไข่มุก) Pearl, Milky Quartz, Ivory, Shell

 

 

          สีเหลืองน้ำตาล (พวกอำพัน โอปอล) Amber, Citrine, Sapphire, Fire opal, Carnelian, Orthoclase, Padparadscha, Hessonite, Chrysoberyl, Moss agate, Chatoyancy quartz

 

 

          ยังฟันธงไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าอัญมณีชนิดนั้นต้องมีสีนั้นตลอดไป เพราต้องขึ้นอยู่กับเนื้อของอัญมณีและอื่นๆ อีกจิปาถะ

 

ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture