ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
About Equilibrium! มารู้เรื่องสมดุลกลกันเถอะ

ลำดับตอนที่ #6 : ::โมเมนต์::Moment

  • อัปเดตล่าสุด 12 ก.พ. 56


โมเมนต์ (Moment)

โมเมนต์ คือ ผลหมุนของวัตถุมีขนาดเท่ากับ ผลคูณของแรงกับการขจัดจากจุดหมุนตั้งฉากกับแนวแรง เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของโมเมนต์คือนิวตันต่อตารางเมตรทิศทางของโมเมนต์ได้แก่ ทิศการเคลื่อนที่ของตะปูเกลียวนั่นเอง

การหาโมเมนต์ แยกพิจารณาได้ 2 แบบ คือ

1.โมเมนต์เนื่องจากแรงใดๆ โดยทั่วไปการหาโมเมนต์เนื่องจากแรงใดๆ เรามักจะแตกแรงให้ตั้งฉากกับแนวคานที่กระทำ ดังตัวอย่างในรูป ต้องการหาโมเมนต์รอบจุด O อันเนื่องจากแรง P กระทำกับประแจเลื่อน

วิธีทำ

แตกแรง P ให้อยู่ในแนวราบและแนวดิ่ง ดังนั้น ผลรวมโมเมนต์รอบจุด O จะได้
ΣMO = (Pcosθ)l + (Psinθ)O
ΣMO = Plcosθ
มีทิศพุ่งเข้ากระดาษ

2.โมเมนต์เนื่องจากแรงคู่ควบ โมเมนต์เนื่องจากแรงคู่ควบมีค่าเท่ากับผลคูณของแรงกับการขจัด ตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง
กำหนดให้คาน AB ยาว l ถูกกระทำด้วยแรงคู่ควบ P ต้องการหาโมเมนต์เนื่องจากแรงคู่ควบ

ถ้าจุด O เป็นจุดที่อยู่ระหว่าง AB จะได้
ΣMO = P(AO) + P(OB)

ΣMO = P(AO+OB)
= P.AB = P.l

มีทิศทวนเข็มนาฬิกา
นั่นคือ โมเมนต์แรงคู่ควบมีค่าเท่ากับแรงคูณด้วยการขจัดตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง

ถ้าจุด O เป็นจุดที่อยู่ภายนอก AB จะได้
ΣMO = P(OB) - P(AO)
ΣMO = P(OA+AB) - P(AO)
= P.AB = P.l

มีทิศทวนเข็มนาฬิกา

แสดงว่าโมเมนต์แรงคู่ควบมีค่าเท่ากับแรงคูณด้วย การขจัดตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง
ดังนั้นโมเมนต์จากแรงคู่ควบจึงเป็นโมเมนต์รอบจุดใดๆ ก็ได้ย่อมมีค่าเท่ากับแรงคูณด้วยการขจัดระหว่างแนวแรงทั้งสอง

สมดุลต่อการหมุน

คือ สภาวะการไม่หมุนของวัตถุ ณ สภาวะนี้โมเมนต์ของวัตถุจะต้องมีค่าเท่ากับศูนย์

สภาพสมดุล สภาพสมดุลที่สมบูรณ์ของวัตถุใด ๆ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อวัตถุนั้นจะต้องไม่เคลื่อนที่และไม่หมุน ดังนั้นวัตถุจะอยู่ในสภาวะสมดุลที่สมบูรณ์ได้ต่อมื่อเงื่อนไขของแรงและ
โมเมนต์จะเป็นศูนย์ ( Σ F = 0, ΣM = 0)

การคำนวณสมดุลต่อการหมุนและการเคลื่อนที่

โดยทั่วไปการสมดุลของโจทย์ในลักษณะนี้มักจะเป็นการสมดุลของระบบที่มีแนวแรงตัดกันหลายจุด หรือเป็นการสมดุลของระบบที่ถูกกระทำด้วยแรงคู่ควบ การคำนวณโจทย์ลักษณะนี้ต้องใช้สมการคำนวณ 3 สมการ คือ ΣM = 0, Σ Fx = 0 , Σ Fy = 0 โดยมีขั้นตอนการคำนวณดังนี้

1.หยิบวัตถุที่ต้องการหาแรงออกมาเขียนแรงกระทำต่างๆ ให้ครบ
2.เลือก take moment รอบจุดที่ไม่ทราบค่าแรงมากที่สุดเสียก่อน
3.คำนวณหาค่าที่ต้องการจากสมการ Σ Fx = 0 และ Σ Fy = 0
4.ต้องการหาแรงปฏิกิริยาที่ใดให้รวมกันแบบ เวกเตอร์ได้

 




 

Happy Line Smiley
ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture