ลำดับตอนที่ #4
ตั้งค่าการอ่าน
ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ความขัดแย้งระหว่างอมเริกาและรัสเซียนั้นหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ (cold war)
รายงานสมันเรียนเช่นกันค่ะ เกี่ยวกับเรื่องสงครามเย็นระหว่างอเมริกาและรัสเซียค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความขัดแย้งระหว่างอเมริกาและรัสเซียนั้นหลีกเลี่ยงได้ไหม?
ต้นตอของสงครามเย็นได้มีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งทางอุดมการณ์เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐอเมริกาได้ถูกดึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นชาติพันธมิตรกับรัสเซีย ลักษณะของพันธมิตรนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสงคราม จะเห็นได้จากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกันเพื่อต่อต้านนาซีของเยอรมัน
ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เกิดการปฏิวัติรัสเซียเป็นต้นมา การที่สหภาพโซเวียตขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจได้สร้างบรรยากาศของความเป็นศัตรูกับอเมริกาบ่อยครั้ง อเมริกาได้สนับสนุนผู้นำต่างๆเพื่อคุกคามสถานะทางการเมืองของพรรคบอลเชวิกที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วงปฏิวัติ นอกจากนี้อเมริกาได้เข้าร่วมในการส่งกองกำลังเข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ทหารอเมริกันจำนวน 5,000 นายได้เข้าถูกส่งเข้าไปยังอาร์คเอนเจิลในปี 1918 และอีก 9,000 นายไปยังไซบีเรียในปีเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นชนวนทำให้การเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 ชาติในครั้งนี้นำไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้น
พรรคบอลเชวิกได้เป็นปรปักษ์ของสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ช่วงต้น ความสำเร็จของการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ได้คุกคามต่อนักทุนนิยมในอเมริกา การพูดปาฐกถาที่มอสโคว์ได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่พวกนายทุน คณะปฏิวัติได้ยึดทรัพย์สินของชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในรัสเซียโดยไม่ให้สิ่งชดเชยใดๆหรือตระหนักถึงข้อตกลงที่รัฐบาลซาร์ได้ตกลงก่อนหน้านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนาซีได้เข้ารุกรานรัสเซียในเดือนมิถุนายน 1941 ประกอบกับการเข้าโจมตีของกองกำลังญี่ปุ่นในบริเวณแถบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกา ได้ชักนำประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ประเทศมาร่วมเป็นพันธมิตรในการต่อต้านฝ่ายอักษะ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ก่อให้เกิดความยุ่งยากในกรณีถกเถียงในเรื่องนโยบายสงครามของฝ่ายประเทศมหาอำนาจพันธมิตร สตาลินไม่ได้ตอบสนองต่อการประชุมที่ไคโร 1943 และตัวแทนของโซเวียตได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสงครามทางด้านแปซิฟิก รูสเวลท์ เชอชิล และสตาลินได้ตัดสินใจจัดตั้งการประชุมร่วมที่เตฮารานในปี 1943 และตามมาด้วยการประชุมที่ยัลต้าและครั้งสุดท้ายที่ปอตสดัมเดือนกรกฎาคมปี 1945 ในการพยายามที่จะสร้างสันติภาพของโลก
การเข้าร่วมประชุมเหล่านั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก นอกจากเกิดการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้น ข้อตกลงของการประชุมอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้ง ข้อตกลงในเรื่องดินแดนที่ยินยอมให้รัสเซียได้ครอบครองพื้นที่จำนวนมากในยุโรปตะวันออกทำให้รัสเซียได้โอนอ่อนผ่อนตามมากขึ้น การเจรจาของประเทศผู้นำในช่วงเวลาระหว่างสงครามที่อังกฤษ อเมริกา และรัสเซียนั้นได้ดำเนินต่อไป สตาลิน เชอร์ชิลและรูสเวลท์ได้ชี้นำแนวทางโลกหลังสงคราม แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐบุรุษผู้แทนของประเทศมหาอำนาจคือ ประธานาธิบดีทรูแมนเป็นผู้แทนของสหรัฐอเมริกาแทนประธานาธิบดีรูสเวลท์ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม ส่วนเชอร์ชิลมาประชุมเฉพาะระยะแรกที่เริ่มประชุม แต่เมื่อเขาแพ้การเลือกตั้งทั่วไป นายคลีเมนท์ แอตลี นายกรัฐมนตรีคนใหม่แห่งพรรคแรงงานจึงเป็นผู้แทน สตาลินจึงเป็นผู้แทนจากสหภาพโซเวียตเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป สาระในสนธิสัญญาที่เตฮารานและยัลต้าได้ทำให้เห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ลักษณะใหม่ของผู้นำต่างๆ อำนาจทางการเมือง ระเบิดปรมาณู และความหวาดกลัวซึ่งกันและกัน ความไม่ไว้วางใจได้เข้ามาแทนที่ แม้หลักการและข้อตกลงของการประชุมจะถือได้ว่าเป็นที่มาของแนวทางการเมืองหลังสงคราม แต่ความขัดแย้งและสายสัมพันธ์ที่เริ่มแตกแยกของมหาอำนาจก็มีอิทธิพลไม่น้อยต่อสันติภาพของโลก
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เคลลี่ ได้เชื่อว่า ความขัดแย้งและจุดมุ่งหมายระหว่างลักษณะอุดมการณ์ประชาธิปไตยและทุนนิยม กับคอมมิวนิสต์ของรัสเซียภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นได้ทำให้สงครามเย็นนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตัวอย่างแนวคิดอีกแบบหนึ่งคือ โธมัส จี แพทเทอร์สัน นักประวัติศาสตร์ที่ยึดในหลักการที่หันเหออกจากหลักการเดิมๆ ได้โทษสหรัฐอเมริกาว่าเป็นต้นเหตุหลักของสงครามเย็น จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้นโยบายการครอบงำทางทหารและอำนาจทางเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการเปลี่ยนแปลงโลกโดยปรับให้สอดคล้องกลับอุดมคติการปกครองแบบประชาธิปไตยและการค้าเสรีระหว่างประเทศ
(Yes)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวอเมริกาต่างก็ยินดีที่สงครามจบลง เตรียมตัวรับความหวังใหม่แห่งโลกแห่งสันติ อย่างไรก็ตามภายในเวลาเพียงปีเดียว ความขัดแย้งระดับโลกก็กำลังคืบคลานและได้ขยายออกไปทั่วโลก สิ่งเลวร้ายนั้นก็คือสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตและอเมริกา นายวินสตัน เชอชิวล์ ได้ประกาศว่าบัดนี้ม่านเหล็กได้เคลื่อนลงมายังภาคพื้นทวีปแล้ว ในขณะที่สตาลิน ผู้นำของรัสเซียได้ประกาศว่า คอมมิวนิสต์และทุนนิยมนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงโชคชะตาที่จะต้องมาปะทะกันได้ ต่อมาประธานาธิบดี ทรูแมน ได้ประกาศ Truman doctrin ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการที่ สหรัฐอเมริกาจะสนับสนุนประเทศอิสระและประกาศการต่อต้านการเข้าควบคุมของคอมมิวนิสต์ ภายหลังสงครามกลางเมืองของกรีกและตุรกีที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของสหภาพโซเวียต สงครามเย็นที่ได้เติบโตอย่างช้าๆมาเป็นเวลาสองปีนั้นก็ได้ระเบิดออก
ในความรู้สึกของชาวอเมริกานั้นมั่นใจว่าพวกตนเป็นคนดี และตั้งคำถามว่าประเทศของตนไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ดี ที่ประชาชนทั่วโลกชื่นชอบหรือ และพวกเขาไม่ใช่หรือที่เอาชนะฟาสซิสต์และนำเสรีภาพมาสู่โลก อเมริกาเคยได้รับความขมขื่นจากโซเวียตและเกลียดชังโซเวียต ต้องการเห็นความเสียหายย่อยยับของโซเวียตเหมือนที่เคยได้เกิดกับมุสโสลินีและฮิตเลอร์ ขณะเดียวอเมริกาก็กลัว เพราะว่าแผนที่ของโลกดูเหมือนว่าจะแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ที่แผ่ขยายไปยังส่วนต่างๆของโลกทั้งในยุโรปตะวันออก ตะวันตก จีน และเกาหลี ความตื่นกลัวได้ครอบคลุมจิตใจของชาวอเมริกันหลายคนที่เชื่อว่าคอมมิวนิสต์จะเข้าครอบครองทุกสิ่ง
เค้าเงื่อนแห่งความยุ่งยากของสงครามเย็นมีจุดเริ่มต้นในช่วงก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นก็คือการประชุมที่ยัลต้า ซึ่งมีผู้นำเด่นๆ 3 คนคือ รูสเวสท์ สตาลิน และเชอชิล ที่มาพร้อมกับจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ทั้งการที่กองทัพแดงของโซเวียตเตรียมตัวเข้ายึดครองประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกนั้น ทำให้ทั้งอังกฤษและอเมริกาตระหนักถึงความพยายามของโซเวียตที่จะขยายอาณาเขตไปยังประเทศต่างๆของยุโรป โดยรูสเวลท์นั้น มีแนวคิดว่าในการเข้าไปในดินแดนเหล่านี้ก็เพียงเพื่อพยุงประเทศเหล่านี้ขึ้นมา จนเมื่อมีความมั่นคงพอก็จะปล่อยให้ประเทศเหล่านี้ปกครองตนเอง ทั้งเชอชิลและรูสเวลท์ต่างก็ได้พยายามชักชวนให้สตาลินเห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่ปัญหาก็คือ สตาลินไม่ยอมรับนโยบายอันนี้
สิ่งที่เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของทั้งสองประเทศนี้ก็คือ ประสบการณ์ ความคิด ประเมินค่าในสิ่งต่างๆ ของทั้งสองประเทศนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น อเมริกามีความมั่นคงภายในประเทศมากเพราะในประวัติ
ศาสตร์กว่า 170 ปีของอเมริกานั้น มีแค่สงครามกลางเมืองที่กินเวลาเพียง 4 ปี อเมริกาจึงเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จและมั่งคั่ง ทั้งยังแทบไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สองเลย ความมั่นคงนี้เองที่ทำให้ไม่มีประเทศไหนสามารถคุกคามประเทศที่สมบูรณ์และอยู่ในทวีปที่แยกออกไปนี้ได้ ชาวอเมริกันจึงเป็นพวกที่ยึดถือในสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ความคิดเสรี และความเป็นอิสรเสรีภาพในทุกเรื่อง นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นชาติแรกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาจึงมี
ความฝันที่จะนำประชาธิปไตยซึ่งเป็นความคิดแห่งชาตินี้ไปทั่วโลก ชาวอเมริกันเชื่อว่าสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดนั้นคือ การที่ประชาชนได้รับประชาธิปไตยที่ถูกต้องและสามารถจัดรัฐบาลของตัวเองได้ พร้อมทั้งการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้นอเมริกันชนจึงคิดว่าประเทศทั่วโลกก็ควรจะเชื่อชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ที่รักในอิสระและเสรีภาพ
สำหรับรัสเซียนั้นเป็นประเทศอันเก่าแก่ทีไม่มีพรมแดนทางภูมิศาสตร์ที่สามารถปกป้องประเทศจากภายนอกได้ รัสเซียจึงถูกรุกรานอยู่ตลอด ประสบการณ์อันเลวร้ายเหล่านี้ได้ฝังอยู่ในจิตใจของชาวรัสเซียมาเป็นเวลายาวนาน ชาวรัสเซียนั้นประสบกับสงครามอยู่ตลอดแม้กระทั่งในศตวรรษใหม่นี้และเป็นเวลาหลายปีก่อนสงครามโลกนั้นที่ชาวรัสเซียได้ประสบกับความวุ่นวายที่นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ในช่วงปี 1914-1945 นั้น ชาวรัสเซียต้องประสบกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามมาด้วยสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์และผู้ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ความอดอยากในช่วงปี 1920 การอยู่ใต้ความเผด็จการของสตาลินและท้ายสุดก็สงครามโลกครั้งที่ 2 ปีแห่งความนองเลือดอันยาวนานนี้ได้คร่าชีวิตชาวรัสเซียไปเป็นจำนวนกว่า 65 ล้านคนและในสงครามโลกครั้งที 2 อีกกว่า 20 ล้านคน ผลที่ตามมาก็คือ ตั้งแต่ช่วงก่อนปี 1945 รัสเซียเป็นประเทศที่ไม่ไว้วางใจใครและมักจะระมัดระวังตัวจากสปายหรือผู้สอดแนมภายนอกอยู่เสมอ รัสเซียรู้สึกอยู่เสมอว่าตนถูกล้อมรอบด้วยศัตรูและตัดสินใจว่าความเข้มแข็งของตนเองเท่านั้น(ไม่ใช่การไว้วางใจในคนอื่น) ที่จะประกันความมั่นคงของชาติได้
นอกจากนี้การรุกรานครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งของเยอรมนีทำให้รัสเซียคิดว่าเยอรมนีจำเป็นจะ
ต้องถูกบดขยี้และประเทศที่เคยอยู่ใต้อำนาจของเยอรมนีจะต้องถูกควบคุมโดยรัสเซีย เพื่อที่จะไม่ให้การรุกรานที่ตนเคยได้รับนั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นรัสเซียจึงไม่ยอมรับแนวคิดหรือนโยบายของอเมริกาที่จะปล่อยให้ประเทศเหล่านี้ปกครองตนเองอย่างอิสระ
รัสเซียนั้นเชื่อในการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของรัสเซียนั้นไม่เคยได้มีประสบการณ์ในการใช้ประชาธิปไตยและที่สำคัญรัสเซียก็ไม่ไว้วางใจในประชาธิปไตยด้วย ความสับสน ความวุ่นวายและการถูกรุกรานอยู่ตลอดนั้น ทำให้ชาวรัสเซียซึ่งมีชีวิตอยู่กับสิ่งเหล่านี้กลายเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการรับคำสั่ง การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและการร่วมกันเผชิญหน้ากับศัตรู สำหรับพวกเขานั้นเสรีภาพทำให้เกิดการพูดหรือกระทำในสิ่งที่เป็นอันตราย ประชาธิปไตยนั้นดูจะเป็นสิ่งที่เป็นส่วนบุคคลและวุ่นวายมากเกินไป
ในขณะที่ชาวอเมริกันนั้นกลัวเผด็จการและพยายามแบ่งอำนาจไปตามส่วนต่างๆชาวรัสเซียกลัวสภาวะการไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและความไม่มีระเบียบทางการเมือง หลักการของการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางนั้นจึงมีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่าในสหภาพโซเวียตนั้นอำนาจทุกอย่างจะถูกรวมเอาไว้ที่มอสโกว สาธารณรัฐทั้ง 15 รัฐไม่มีแม้กระทั่งอำนาจจะขึ้นภาษี
ดังนั้นเมื่อประธานาธิบดีรูสเวลท์ มายังที่ประชุมยัลต้า พร้อมทั้งการพูดถึงเรื่องประชาธิป-
ไตย สิทธิของมนุษย์ และการมีรัฐบาลเป็นของตนเองนั้นจึงไม่สามารถชักจูงสตาลินได้เพราะเขาไม่มีความสนใจในสิ่งเหล่านี้เลย ทั้งสตาลินและเลนิน ต่างดูถูกการมีรัฐสภาแบบประชาธิปไตยและเชื่อว่าสิทธิของชาติเล็กๆนั้นควรจะอยู่ในสายตาของผู้นำโซเวียต และควรจะถูกตัดออกไปเพื่อผล
ประโยชน์ของสิ่งที่ใหญ่กว่า การคิดแบบนี้ก็คือรูปแบบของคอมมิวนิสต์ การมีอำนาจสูงสุดของรัสเซียและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ
ดังนั้นขณะที่อเมริกา ในการประชุมที่ยัลต้ากับความฝันของอำนาจโลกใหม่ ชาวรัสเซียก็ฝันเช่นนั้นเหมือนกัน ชาวรัสเซียมีศรัทธาอันแรงกล้าที่จะนำคอมมิวนิสต์ไปสู่โลก นานมาแล้วที่ชาวรัสเซียเชื่อว่าตนมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ในโลก ซึ่งชาวอเมริกันก็คิดแบบนี้เช่นกัน
รัสเซียนั้นเป็นประเทศที่ใหญ่และใหญ่กว่าอเมริกาถึง 2 เท่า และความใหญ่นี้ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่ารัสเซียมีชะตาที่จะต้องแนะแนวทางให้แก่โลก หลังจากปี 1945 การที่รัสเซียสามารถเอาชนะการรุกรานครั้งใหญ่ที่สุดและสามารถเข้าครอบครองบางส่วนของยุโรปที่ศัตรูเคยรุกรานเข้าไปได้อย่างกว้างขวาง ทำให้พวกเขาเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในตัวเองและตัดสินใจที่จะเห็นอิทธิพลและอำนาจของพวกเขาแผ่ขยายออกไป
ในยัลต้านั้นอังกฤษและอเมริกาได้เสนอแนวคิดเรื่อง สมดุลแห่งอำนาจโดยให้แต่ละประเทศ
มีอำนาจในการปกครองตนเอง โดยมีสหประชาชาติรักษาความเป็นระเบียบไว้ ทั้งรูสเวลท์และวิลสันเชื่อว่าระเบียบของโลกจะประกันความสงบสุขของโลก ในขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตก็มีแนวคิดเช่นนี้แต่เป็นแนวคิดที่แตกต่างอย่างสินเชิงกับแนวคิดของรูสเวลท์ และสตาลินตั้งใจที่จะดำเนินตามพื้นฐานของหลักการสมดุลแห่งอำนาจของตนเองเช่นกัน
อเมริกาหลังปี 1945 พยายามที่จะให้โซเวียตปฏิบัติตามหลักของ Self-determination และหลักการความเท่าเทียมกันของชาติทุกชาติแต่สหภาพโซเวียตเมินเฉยต่อคำเรียกร้องนี้ ด้วยความรู้สึกโกรธเคือง และกลับขยายการแทรกแซงดินแดนอื่นๆมากขึ้นไปอีก กองทัพแดงได้เข้ายึดครองชาติต่างๆในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง แม้จะไม่ได้ถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของ USSR ตามกฎหมาย แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวดของโซเวียต
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในมุมมองของโซเวียตนั้น โซเวียตคิดว่าคนเป็นผู้ได้เอาชนะเยอรมนี โดยกล่าวว่าชัยชนะส่วนใหญ่ในสงครามนั้นเป็นชัยชนะของโซเวียต โซเวียตสามารถเอาชนะกอง
ทัพของเยอรมนีได้มากกว่า 258 กอง ในขณะที่อังกฤษและอเมริกาเอาชนะได้แค่ 20 กอง ดังนั้นกองทัพของโซเวียตจึงเป็นผู้ที่ได้นำเสรีภาพมาสู่ประชาชนในยุโรปและกล่าวว่าอเมริกาและอังกฤษซึ่งอยู่ภายใต้ธงของประชาธิปไตยนั้นได้แต่พยายามที่จะฟื้นฟูประเทศ ในขณะที่โซเวียตมีโอกาสเต็มที่ที่จะประกันว่าศัตรูของลัทธิชาตินิยมจะไม่สามารถเข้ามาในพรมแดนของพวกเขาได้อีก สิ่งนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความไม่ลงรอยกัน ได้ปกคลุมความสัมพันธ์ของโซเวียตและอเมริกาตั้งแต่ในช่วงก่อนการสิ้นสุดสงคราม
สำหรับมุมมองในเรื่องสงครามเย็นของโซเวียต ในความคิดของนักประวัติศาสตร์โซเวียต
นั้นโซเวียตเห็นว่าสงครามเย็นเป็นความพยายามของอเมริกาที่จะล้มล้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการใช้ระเบิดปรมาณู ทั้งที่โซเวียตได้ปิดผนึกชะตากรรมของญี่ปุ่นไว้แล้ว ไม่จำเป็นที่อเมริกาจะต้องใช้ระเบิดปรมาณูเลย แต่อเมริกานั้นทำเพื่อเพียงต้องการจะขู่ขวัญโซเวียตในความเป็นจริงนั้น โซเวียตไม่ได้มีเจตนาที่ก้าวร้าวเลย แท้จริงแล้วการกล่าวถึงความก้าวร้าวที่เป็นที่รู้จักกันจากการจัดการของทรูแมนนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จริง แต่เป็นการสร้างรูปแบบการเผด็จการที่บิดเบือนของสังคมนิยมโดยอเมริกา
นอกจากนี้ในขณะที่อเมริกายึดมั่นในการตั้งฐานที่มั่นไว้ในหลายประเทศ โดยอ้างว่าทำเพื่อความมั่งคงและสันติภาพ กองกำลังของโซเวียตได้ถอนกำลังออกจากหลายประเทศที่ตนได้ทำให้เป็นเสรีภาพแล้ว และคิดว่าการกระทำใดๆของอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ว่าจะนำสันติสุขหรืออะไรก็ตามมาให้คนยุโรปนั้น แท้จริงก็เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและสิ่งที่ผู้นำอเมริกายึดถือนี้ไม่ใช่ประชาธิป-
ไตยแต่เป็นการปกครองแบบจักรพรรดินิยมของอเมริกาเสียมากกว่า
นักประวัติศาสตร์ของอเมริกานั้นก็ได้เสนอมุมมองที่แตกต่างจากนักประวัติศาสตร์โซเวียต
อย่างสิ้นเชิง โดยกล่าวว่าสงครามเย็นนั้นเริ่มต้นและขับเคลื่อนโดยโซเวียต และไม่มีข้อสงสัยใดๆในวัตถุประสงค์ของอเมริกา วัตถุประสงค์ของอเมริกานั้นคือเสรีภาพของโลก โดยชี้ว่าในการปกครองแบบสตาลินนั้นเป็นสิ่งที่อันตราย เป็นผู้เผด็จการที่โหดร้ายไร้ความปรานี แม้ว่าความคิดแบบนี้ของชาวอเมริกายังคงเงียบอยู่ในช่วงของสงครามโลก แต่ก็ได้ระเบิดออกมาในช่วงต้นของสงครามเย็น นอกจากนี้ในอเมริกานั้นยังมีความเชื่ออย่างแข็งขันที่ว่าอเมริกานั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างโลกที่เป็นอิสระและเป็นธรรม ในทางตรงกันข้ามกับโซเวียตที่ทำสงครามต่อสิงมีค่าเหล่านี้ของมนุษยชาติทุกครั้งที่มีโอกาส อเมริกาได้ต่อสู้อย่างขมขื่นกับผู้นำเผด็จการในเยอรมนีผู้ซึ่งพยายามกลืนประเทศเล็กทั้งหลาย และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่า USSRกำลังทำในสิ่งที่ฮิตเลอร์เคยทำไว้ ประธานาธิปดีทรูแมนและภาคีสมาชิกของเขาได้พยายามด้วยความแข็งแกร่งและกล้าหาญในกายุติความยโสและคลื่นแห่งความโหดร้ายของโซเวียตให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง
สงครามเวียดนามนั้นได้สั่นสะเทือนความมั่นใจนี้อย่างรุนแรง ความขัดแย้งในจุดมุ่งหมายของอเมริกานั้นถูกประณามจากคนอเมริกานับล้าน ได้เกิดนักประวัติศาสตร์แนว Revisionist (ผู้ที่ยึดถือหลักการที่หันเหจากหลักการหรือทฤษฎีเดิมๆ)หลายคนที่ยึดมั่นว่าสงครามเย็นนั้นถูกสร้างขึ้นโดยอเมริกันทั่วโลกที่ต้องการอำนาจและตลาดการค้า การเข้าไปยังประเทศต่างๆนั้นก็แค่พยายามที่จะปกป้องความมั่นคงของตนเอง และอเมริกาต่างหากที่เป็น Aggressive power และกำลังฉีกความเป็นไปได้ของสันติภาพในโลกด้วยทุนนิยม
และยังมีการเสนอว่าการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นนั้นก็เพื่อทำให้โซเ%
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
กำลังโหลด...
ความคิดเห็น