คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ประวัติศาสตร์ยุโรป1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1815-ปัจจุบัน
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากประเทศมหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ แต่ละฝ่ายต่างก็ตระเตรียมกำลังรบไว้อย่างเต็มที่ และสนับสนุนให้ประชาชนนิยมทางการทหารเป็นการใหญ่ 2. 3. ไทรอลทางใต้ (South Tyrol) ตริเอสเต (Trieste) เตรนติโน (Trentino) ซึ่งอยู่ในการครอบครองของออสเตรียและอิตาลีก็ยังอยากได้ดินแดนมาเป็นของตน 4. ความเสียหายของสงคราม ความเสียหายของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่โลกไม่เคยประสบมาก่อนเลย มีข้อมูลว่าตั้งแต่สงครามนโปเลียนลงมาถึงสงครามที่คาบสมุทรบอลข่านยังไม่มีตัวเลขคนตายน้อยกว่าการสงครามในสมัยนี้มาก ทั้ง 2 สงครามคือสงครามนโปเลียน ปี ค.ศ. 1800-1815 และสงครามบอลข่านในช่วง 1912-1913 มีคน(ทหาร)ตายประมาณ 9,998,771 คน ตัวเลขของทางสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ทหารอังกฤษที่ตายและบาดเจ็บ 7,143,000 คน ทหารฝรั่งเศส 6,161,000 คน ทหารเยอรมัน 7,143,000 คน ทหารอเมริกัน 349,000 คน ผู้บาดเจ็บประมาณ 21,219,452 คน จำนวนเงินที่สูญเสียมากกว่า 330 พันล้านดอลลาร์อเมริกา ค่าเสียหายทางด้านการเงินและชีวิตทหารที่บาดเจ็บล้มตายเมื่อเทียบกับความอดอยาก ความเกลียดชังกันและโรคภัยไข้เจ็บยังไม่คุ้มกัน ความเสียหายอันมหาศาลทำให้ประชาชนต้องรับกรรมในเรื่องภาษีเพื่อจะนำมาใช้ในการฟื้นฟูประเทศ ประเทศที่น่าสงสารได้แก่ ประเทศที่แพ้สงคราม เพราะประเทศผู้ชนะต่างก็รุมให้ประเทศผู้แพ้ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม ซึ่งประเทศผู้แพ้ก็ไม่มีทางที่จะหาเงินมาให้ได้ ลำพังตัวเองก็ต่างเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว นอกจากนี้การมีประเทศใหม่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เท่ากับทำให้เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ก่อให้เกิดความตกต่ำแห่งเศรษฐกิจในช่วงปี ค.ศ. 1918-1920 และต่อไปจนเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามอีกครั้งหนึ่ง อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษ ถึงแม้ว่าอังกฤษจะไม่ต้องเผชิญกับภาวการณ์รุกรานในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่อังกฤษก็ต้องสูญเสียทหารไปประมาณ 7,143,000 คน ซึ่งเป็นทหารอาสาสมัครที่เข้มแข็งและดีๆทั้งนั้น อังกฤษเพิ่งมีกฎหมายการเกณฑ์ทหารที่ส่งไปรบในปี ค.ศ. 1916 ถึงแม้ว่าการสู้รบไม่ได้ทำกันในประเทศอังกฤษ อังกฤษจึงไม่ต้องมีการบูรณะซ่อมแซมสิ่งหักพังต่างๆ แต่ว่าอังกฤษก็เสียหายมากในทางกานค้า เรือสินค้ามากมายถูกทำลายทำให้สภาวะทางเศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำลงเพราะรายได้ส่วนใหญ่ของอังกฤษได้มาจากการค้าขายทางทะเล ถึงแม้ว่าอังกฤษจะได้ปกครองอาณานิคมของเยอรมนี และได้ดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมาน (ตุรกี) มาไว้ในอำนาจก็ตาม แต่สิ่งที่อังกฤษได้ก็แทบว่าจะไม่คุ้มกับที่เสีย เพียงแต่ได้ชื่อว่ารักษาศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของการเป็นชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งในเวลานั้นไว้ได้ อังกฤษจึงเพียงแต่ไม่ต้องหวาดกลัวว่าเยอรมนีจะเป็นคู่แข่งทางทะเลอีกต่อไปเท่านั้น ปัญหาที่กล่าวหนักหน่วงที่สุดได้แก่ จำนวนคนที่ว่างงานในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1921 จำนวนคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นถึง 1,934,000 คน หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 16.5 ของสมาชิกผู้ใช้แรงงานที่สังกัดอยู่ในสหภาพแรงงาน สินค้าออกก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากกิจการค้าของอังกฤษต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศอื่นๆ และโดยเฉพาะแต่ละประเทศก็ต่างขึ้นกำแพงภาษีกันทุกประเทศก็เลยทำให้สินค้าของอังกฤษขายไม่ออก ประทศอื่นๆก็ผลิตสินค้าแข่งกับประเทศอังกฤษ เช่น ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1924 ทางบริษัทต่อเรือของอังกฤษก็ต้องสูญเสียการต่อสัญญากับประเทศอินเดีย (อาณานิคมของอังกฤษ) เรื่องการสร้างถังบรรจุน้ำมัน เนื่องจากบริษัทต่อเรือของดัตช์ให้ราคาถูกกว่าบริษัทของอังกฤษถึง 150,000 ปอนด์ และแม้กระทั้งถ่านหินก็ยังขายไม่ออก เนื่องจากประเทศนอร์เวย์ สวีเดน อิตาลี ต่างก็สร้างพลังงานไฟฟ้าโดยพลังงานจากถังน้ำมันกันทั้งนั้น แต่พูดถึงส่วนรวมแล้ว ในช่วงปี ค.ศ. 1928 สถานการณ์ด้านส่งสินค้าออกเริ่มฟื้นฟูขึ้นหน่อย คือ เพิ่มขึ้นถึง 15.6 ปอนด์ เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1913 แล้วโดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1929 จัดได้ว่าเป็นปีที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรมต่อเรือ กล่าวคือผลลัพธ์ได้เพิ่มขึ้นถึง 3,333,000 ตัน เมื่อเทียบกับในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 2,793,000 ตัน เท่านั้น จำนวนคนว่างงานก็เริ่มลดลง แต่ก็ยังเป็ตัวเลขที่สูงอยู่ประมาณกว่า 1 ล้านกว่าคน ฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความสูญเสียของฝรั่งเศสมากมายหลายคณานัก กล่าวกันว่ามากมายกว่าคราวสงครามกับเยอรมนีในช่วงปี ค.ศ. 1870 1871 เสียอีก เนื่องจากในคราวนั้นเยอรมนีเพียงแต่เดินกองทัพมาถึงกรุงปารีสเฉยๆไม่ได้มีการต่อสู้อะไรนอกจากเมืองเมทซ์ (Mets) แห่งเดียวเท่านั้น และกาต่อสู้ในคราวเดียวนั้นก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาเพียงสั้นๆ แต่ในคราวสงครามโลกครั้งที่ 1 นี้ ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ทางตอนเหนือแถวช่องแคบอังกฤษเรื่อยมาจนถึงพรมแดนติดกับพรมแดนประเทศสวิตเซอร์แลนด์เสียหายอย่างย่อยยับมาก กล่าวประมาณกันว่า มีเมืองถึง 2,600 เมืองได้เสียหาย บ้าน 300,000 หลังถูกทำลายและ 360,000 หลังได้รับความเสียหายภายในรัศมีกว่า 100 หลังคาเรือนจะไม่มีเลยสักหลังหนึ่งที่ตรงอยู่ได้โดยไม่ถูกทำลาย มีแต่เศษกองอิฐกองหินไปทั่ว เมื่อผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งได้กลับบ้านเดิมเขาเหล่านั้นสามารถที่เพียงเห็นแต่กองอิฐกองหินที่ปรักหักพัง และที่น่าตกใจมากนอกจากซากบ้านเรือนปรักหักพังแล้ว ก็คือการสูญเสียทหารเป็นจำนวนมาก ในจำนวนทหารที่ไปรบ 7,935,000 คน ทหารเกือบ 1 ล้าน 5 แสนคนได้ตายไปมากกว่าการเกิดในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914 ถึง 1919 ก่อนสงครามฝรั่งเศสมีพลเมือง 39 ล้านคน พอหลังสงครามประชากรฝรั่งเศสลดลงถึง 35 ล้านคน ดังนั้นจำทำให้ฝรั่งเศสขาดแคลนผู้คนที่จะทำการเกษตรกรรมตามท้องไร่ท้องนาและกรรมกรที่จะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ฝรั่งเศสจึงต้องเกณฑ์คนงานมาจากประเทศเพื่อนบ้านมาทำงานในฝรั่งเศสแทน อย่างน้อยฝรั่งเศสได้หวังเอาไว้ว่าเยอรมนีคงจะจ่ายเงินค่าปฏิกรรมสงครามเพื่อที่ฝรั่งเศสจะได้เอามาบูรณะซ่อมแซมความเสียหายให้แก่เอกชนได้ สาเหตุที่ฝรั่งเศสได้คาดหวังว่าตอนช่วงหลังสงครามฟรังโก ปรัสเซียน ฝรั่งเศสยังจ่ายเงินค่าปฏิกรรมสงครามจนครบ ทำไมเยอรมนีจะจ่ายเงินค่าปฏิกรรมสงครามให้ฝรั่งเศสบ้างไม่ได้ แต่เยอรมนีก็จ่างค่าปฏิกรรมสงครามให้ฝรั่งเศสบ้างในปี ค.ศ. 1921 แต่พอถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1922 เยอรมนีเริ่มขอยืดเวลาการใช้หนี้ เนื่องจากเยอรมนีอ้างว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีทรุดโทรมลงมาก และเมื่อเยอรมนีลดจำนวนถ่านหินและเหล็กลง นายกรัฐมนตรีปวงกาเรก็ได้ส่งทหารฝรั่งเศสเข้ายึดครองแคว้นรูห์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1923 ปวงกาเรคิดว่าเยอรมนีคงจะต้องยินดีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแทนที่จะยอมเสียแคว้นอุตสาหกรรมของตนไป แต่ปวงกาเรก็ไม่เคยได้รับค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมนี จนกระทั่งแผนการดอว์สได้เริ่มต้นขึ้น แต่ระหว่างที่ฝรั่งเศสไม่ได้รับเงินค่าปฏิกรรมสงครามนั้น ฝรั่งเศสก็ไม่รอช้ากลับรีบลงมือซ่อมแซมถนน ทางรถไฟ บ้าน และโรงงานต่างๆ อย่างเร่งรีบ ในปี ค.ศ. 1921 เอม บรายอันด์ (M" Briand) ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี สามารถประกาศได้ว่า ฟาร์มไร่นาของฝรั่งเศสได้ถูกทำลายไปตั้ง 80% เมื่อหลังสงครามโลก จนบัดนี้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้แล้ว ในปี ค.ศ. 1921 เช่นกัน ได้มีการซ่อมแซมทางรถไฟทุกสายจนใช้การได้ดี โรงงานอุตสาหกรรมก็ได้รับการซ่อมแซมเป็นอย่างดีเช่นกัน พอถึงต้นๆปี ค.ศ. 1922 รัฐมนตรีแห่งการฟื้นฟูความเสียหายทั้งปวงเริ่มมีการประกาศว่าโรงงาน 4,084 แห่งที่ได้ดถูกทำลายไป 280,147 แห่ง และเสียหายไป 422,736 แห่ง รัฐบาลได้สร้างขึ้นใหม่และซ่อมแซมขึ้นใหม่ถึง 335,479 แห่ง สเปนหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สเปนตอนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นเป็นกลาง ดูแล้วสเปนคงจะไม่มีปัญหาอะไรหลังจาหสงครามแต่ปัญหาของสเปนคือผลลัพธ์จากการที่ไปมีเมืองขึ้นที่ประเทศโมร็อกโก และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทุกประเทศในยุโรปก็ต้องเผชิญกับปัญหานี้ด้วยกับทุกประเทศ ประเทศต่างๆก็พยายามปกป้องสินค้าของตนเองด้วยการขึ้นกำแพงภาษี ดังนั้นเมื่อต่างคนต่างนำสินค้าออกของตนไปขายตามที่ต่างๆก็จะถูกกำแพงภาษีเช่นกัน และท้ายที่สุดปัญหาก็คือปัญหาเรื่องเชื้อชาติ โดยเฉพาะคนในบางแคว้นบาสก์ (The Basques) อยู่แถวทางเหนือติดกับพรมแดนของฝรั่งเศสทางอ่าวบิสเคย์มีเมืองที่สำคัญคือเมือง ซาน เซบัสเตียน และคนที่แคว้นคาตาโลเนียน (The Catalonians) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือใต้เมืองบาเซโลนา 1. 2. 3. 4. 5. 6. 1. สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำสงครามก็คือการแย่งตลาดค้าขายกัน แย่งวัตถุดิบและแย่งกันกาอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (ระหว่าง ค.ศ. 1871 1914) กระทบกระเทือนชาวโลกมาก 2. ได้แก่การที่ประเทศต่างๆในขณะนั้นแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ พวกมี (Have Countries) กับพวกไม่มี (Have not Countries) นั้น เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปนะเทศกลุ่มมี ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และสหภาพโซเวียต ต่างก็มีดินแดนและทรัพยากรกันคนละมากๆ ส่วนกลุ่มไม่มี คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มแรกพวกนี้ก็เหมือนไม่มีอะไร เพราะเยอรมนีต้องสูญเสียอาณานิคมไปหมดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกล่าวถึงกลุ่มประเศไม่มีแล้ว เยอรมนีทั้งประเทศจะต้องทนทุกข์และเกลียดชังสนธิสัญญาแวร์ซายส์มากที่สุด เพราะสนธิสัญญานี้ตัดกำลังรบ ตัดดินแดนของเยอรมนีบังคับให้เยอรมนีชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ชนะสงครามอย่างมากมาย ส่วนอิตาลีนั้นมุสโสลินีต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าอิตาลีสมัยมีเขาเป็นผู้นำไม่ได้อ่อนแออย่างเดิม 3. เราอาจแบ่งระยะเวลา 20 ปีระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยแรก เป็นเวลาที่สันติภาพยังคงดำรงอยู่พร้อมกับความหวังของชาวโลกว่า สันนิบาตจะคุ้มครองให้โลกมีสันติภาพ สมัยหลัง คือใน ค.ศ. 1931 เกิดความไม่แน่ใจในความศักดิ์สิทธิ์ของสันนิบาต เพราะเกิดมีการลองดีโดยในปี ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นเข้ารุกรานแมนจูเรีย ทั้งญี่ปุ่นและจีนก็ต่างเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติด้วยกันทั้งคู่ จีนจึงร้องเรียนไปยังสันนิบาตชาติ สันนิบาตชาติจึงตัดสินว่าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายก้าวร้าวและสั่งให้ถอนทหารออก ญี่ปุ่นก็ไม่ทำตามกลับถอนตัวออกจากสันนิบาต สันนิบาตก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร โลกก็เลยรู้สึกกันว่าในเวลานั้น สันนิบาตชาติช่วยอะไรไม่ได้ 4. เมื่อเยอรมนีประกาศสร้างกำลังรบขึ้นใหม่แล้ว เยอรมนีได้สร้างอาวุธต่างๆขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งของทหารบก เรือ และอากาศ เยอรมนีได้พัฒนาอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า พรีดิคเตอร์ (Predictor) ที่สามารถยิงได้แม่นยำ 90% เทคนิคการรบถูกปรับปรุงให้เหมาะสมจนมีผู้ขนานนามการรบเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า สงครามสายฟ้าแลบบ้าง สงครามนั่งเฉยๆ (Phony war) บ้าง ฯลฯ เยอรมนีได้ทดสอบอาวุธของตนกลางเมืองสเปน ผลคือได้ผลดี เยอรมนีมีอาวุธเทียบเท่าศัตรูของตนแต่มีคุณภาพดีกว่า 5. หากชนกลุ่มน้อยไม่ก่อปัญหาในประเทศที่ตนอยู่ปัญหาต่างๆก็ไม่เกิด พวกนาซีจึงจับจุดนี้ได้แล้วโฆษณาชวนเชื่อในการรวมประเทศออสเตรียกับเยอรมนีเข้าด้วยกัน ที่เรียกขบวนการนี้ว่า "แอนส์ชลัส (Anschluss) ฉนวนโปแลนด์และเสรีนครดานซิก(ความไม่เป็นธรรมจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์) เมื่อประเทศสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ตั้งประเทศโปแลนด์ไปแล้ว สัมพันธมิตรได้ตัดดินแดนของเยอรมนีส่วนหนึ่งให้โปแลนด์เพื่อประเทศโปแลนด์จะได้มีทางออกทางทะเลบอลติกได้ ประวัติศาสตร์เรียกดินแดนที่โปแลนด์เฉือนมาจากเยอรมนีว่า "ฉนวนโปแลนด์" (The Polish Corridor) เพราะการเฉือนดินแดนในครั้งนี้ทำให้แคว้นรัสเซียตะวันออกของเยอรมนีต้องแยกออกไปอยู่ห่างจากประเทศเยอรมนี นอกจากนี้สนธิสัญญาแวร์ซายส์ยังแยกเอาเมืองท่าดานซิกของเยอรมนีตรงปากแม่น้ำวิสตุลาออกไปเป็นเมืองอิสระเพื่อให้เป็นเมืองท่าที่ชาติใดๆใช้ได้ เรียกชื่อว่า เสรีนครดานซิก (The Free City of Danzig) ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการคิดค้นประดิษฐ์อาวุธใหม่ๆที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในการทำลายล้างยิ่งกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการประดิษฐ์อาวุธเครื่องจักร ปืนกล ปืนต่อสู้อากาศยาน ปืนใหญ่ยิงระยะไกลมากขึ้น ปืนเจาะรถถัง รถจักรยานยนต์และรถหุ้มเกาะขนาดหนัก นอกจากนี้ยังผลิตเรือรบประเภทต่างๆที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เรือดำน้ำ เรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบิน ระเบิดใหม่ๆ การแข่งขันกันผลิตอาวุธใหม่ๆเป็นไปอย่างรีบด่วน เมื่อฝ่ายอักษะประดิษฐ์รถถังขนาดหนักหุ้มเกราะขึ้นใช้ ฝ่ายพันธมิตรก็สร้างปืนเจาะรถถัง และเมื่อเยอรมนีผลิตจรวด วี 1 และ วี -2 ได้ สหรัฐก็เผลิตระเบิดปรมาณู ซึ่งไม่เพียงสร้างความพินาศอย่างใหญ่หลวงมาสู่ชาวญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมาและนางาซากิเท่านั้น แต่นำความกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวงมาสู่มวลมนุษย์ทั่วโลกด้วย ภัยพิบัติของสงครามโลกครั้งนี้ ซึ่งดำเนินไปเป็นเวลา 6 ปี เฉพาะด้านหารทหารคิดว่าเป็นเงินกว่าหนึ่งล้านล้านเหรียญอเมริกา ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทหารกว่า 14 ล้านคนต้องสูญเสียชีวิต กว่า 14 ล้านคนต้องกลายเป็นคนพิการตลอดชีวิต พลเรือนต้องเสียชีวิตไปเป็นจำนวนสิบสิบล้านคนเช่นกัน สงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ยังผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่มนุษยชาติ สังคม ศีลธรรมและวัฒนธรรมของมนุษย์ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนตราบเท่าทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม แม้สงครามจะนำผลร้ายหลายประการมาสู่มวลมนุษย์ แต่ก็ก่อให้เกิดผลพลอยได้ในทางที่ดีเช่นกัน ความมีมานะของแต่ละฝ่ายที่จะชิงเอาชัยนั้น เป็นปัจจัยสำคัญกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวววิจัยค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เช่น การประดิษฐ์เรดาร์ของอังกฤษ เป็นต้น ตลอดจนการสร้างโทรทัศน์ การคิดค้นระเบิดปรมาณูและการเอาพลังนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในทางสันติ เช่น เป็นเครื่องให้พลังงานฆ่าแบคทีเรีย การสร้างจรวด วี -1 วี -2 ซึ่งนำไปสู่การสร้างยานอวกาศหลังสงครามเป็นต้น ทั้งนี้ล้วนเป็นผลของการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระหว่างสงคราม
วิกฤตการณ์นำหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันกันเพื่อหาตลาดค้าขาย หาวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงาน
6.
ปัญหาของชนกลุ่มน้อยที่ต้องอยู่ในประเทศอื่น เยอรมนีสร้างอาวุธและกำลังทหารขึ้นใหม่ ความอ่อนแอของสันนิบาตชาติและสันนิบาตชาติลดอาวุธไม่สำเร็จ โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย ฉนวนโปแลนด์และเสรีนครดานซิก(ความไม่เป็นธรรมจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์) การแข่งขันกันเพื่อตลาดค้าขาย หาวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงาน และการแสวงหาอาณานิคม ปัญหาของชนกลุ่มน้อยที่ต้องอยู่ในประเทศอื่น เยอรมนีสร้างอาวุธและกำลังทหารขึ้นมาใหม่ ความอ่อนแอของสันนิบาตชาติและสันนิบาตชาติลดอาวุธไม่สำเร็จ การแสวงหาอาณานิคมขนาดถึงกับแบ่งค่ายกัน กรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องดินแดน ทำให้ประเทศต่างๆแตกความสามัคคีกัน เช่น ฝรั่งเศสยังเสียดายแคว้นอัลซาส ลอร์เรน ซึ่งต้องสูญเสียให้แก่เยอรมนีในปี ค.ศ. 1871 ส่วนอิตาลีก็เสียดายแคว้น1.
ความคิดเห็น