ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
"ภาวะโลกร้อน" มหันตภัยใกล้ตัวเรา

ลำดับตอนที่ #18 : เพิ่มจำนวนแพลงก์ตอนในทะเลแก้โลกร้อน

  • อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 51


เพิ่มจำนวนแพลงก์ตอนในทะเลแก้โลกร้อน
โดย ผู้จัดการออนไลน์
เอพี – นักวิจัยสหรัฐฯ เผยวิธีแก้โลกร้อน ด้วยการกระตุ้นให้แพลงก์ตอนในทะเล เพิ่มจำนวนมากขึ้น สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเหล่านี้จะดึงก๊าซเรือนกระจกไปใช้ และกระตุ้นการก่อตัวของก้อนเมฆ ทำให้โลกเย็นลงได้
       
       ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลไปทั่ว ทำให้ประเทศต่างๆ พยายามหาวิธีแก้ไข โดยเฉพาะบรรเทาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ขณะที่นักวิจัยกลุ่มหนึ่งของสหรัฐฯ ได้ออกมาแนะว่า หากเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนในทะเลจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และทำให้โลกเย็นลงได้โดยกระตุ้นการก่อตัวของก้อนเมฆ
       
       โอลิเวอร์ วินเจนเทอร์ (Oliver Wingenter) นักวิทยาศาสตร์จากนิวเม็กซิโกเทค (New Mexico Tech: NMT) มลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐฯ ผู้เสนอแนวความคิดใช้แพลงก์ตอนลดโลกร้อน กล่าวว่า แพลงก์ตอนจะปล่อยก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์ (dimethyl sulfide: DMS) ซึ่งเป็นก๊าซที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศอยู่แล้วเช่นกัน ก๊าซไดเมทิลซัลไฟด์นี้ จะไปกระตุ้นให้ไอน้ำในบรรยากาศรวมตัวกันเกิดเป็นก้อนเมฆ ขณะเดียวกันก็จะไปแทนที่ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ ที่ถูกแพลงก์ตอนดึงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
       
       วินเจนเทอร์และทีมวิจัยได้เผยแพร่แนวคิดของพวกเขาในวารสารแอทมอสเฟียริค เอนไวรอนเมนท์ (Atmospheric Environment) ไปเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเขาเผยว่า ความคิดนี้มาจากการทำวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเมื่อปี 2545 ซึ่งต้องทำงานอยู่ในทะเลนาน 7 สัปดาห์ เพื่อเก็บข้อมูลของบรรยากาศ และขณะนั้นไดเมทิลซัลไฟด์กับการเกิดก้อนเมฆ คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ปรารถนามากที่สุด
       
       ทั้งนี้ พวกเขาพยายามแสดงให้เห็นว่า หากทำให้เกิดแพลงก์ตอนในมหาสมุทรมากขึ้น จะช่วยชะลอภาวะโลกร้อนให้ช้าลงได้ แพลงก์ตอนจำนวนมหาศาลจะดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไปใช้ ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศลดลง ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอันเป็นผลพวงจากกิจกรรมของมนุษย์นั่นเอง
       
       อย่างไรก็ดี ศักยภาพในการใช้แพลงก์ตอน เป็นเครื่องมือทำความสะอาดก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศ ยังเป็นเรื่องที่ไม่กระจ่างชัด ซึ่งก็มีนักวิทยาศาสตร์บางคนออกมาแสดงความคิดเห็นต่อแนวคิดของวินเจนเทอร์ด้วยเช่นกัน
       
       เคน คาลไดรา (Ken Caldeira) ผู้เชี่ยวชาญในด้านธรณีวิศวกรรม (geo-engineering) จากสถาบันคาร์เนอกี (Carnegie Institute) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า หลักการของวินเจนเทอร์ดูเหมือนจะใช้ได้ดี แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่างใกล้ชิด โดยศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบที่ของการเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนในทะเลต่อมหาสมุทรและสภาพอากาศโดยรวม ซึ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้
ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

1ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

1ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture