ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลนิยาย~*

    ลำดับตอนที่ #18 : ต้นกำเนิดการ์ตูนญี่ปุ่น~*

    • อัปเดตล่าสุด 6 เม.ย. 50


       ต้นกำเนิดการ์ตูนญี่ปุ่น



        วันก่อนไปกินซูชิกับ โทโมยะ เป็นเพื่อนที่โรงเรียน เค้ามาพร้อมกันสาวคนนึงชื่อว่า " ชิกะจัง " เป็นนักเรียน ม.ปลาย จากที่ได้กินข้าว ได้คุยกันหลายเรื่อง แต่เรื่องที่ผมสนใจ ไม่ใช่เรื่องของ "โทโมยะ" แต่กลับกลายเป็นเรื่องของ " ชิกะจัง " ไปได้อย่างไรไม่ทราบ ชิกะจัง เรียนอยู่ม.ปลาย ปีสอง ถ้าวัดระดับกับเมืองไทย ก็คงประมาณ ม.5 บ้านเรา.... แต่แปลกมาก ในสายตาผม " ชิกะจัง " ไม่เหมือนเด็ก ม.ห้า เลยซักนิด อายุแค่ 16-17 แต่ว่า เธอดูเป็นสาวมากกว่านักเรียนไทยที่ยังเป็นเด็กอยู่เลย ให้มองผ่านๆ ผมก็นึกว่าเด็กมหาลัย (อย่าคิดว่าผมลามก แต่มองโดยรวม..ต่างหาก)

    ใครรักการ์ตูนญี่ปุ่น อ่านการ์ตูนญี่ปุ่น คงจะบอกได้ว่า ส่วนประกอบสำคัญของการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขาดไปไม่ได้คือเรื่องของ "โรงเรียน" การ์ตูนญี่ปุ่นกว่า 90% จะมีเรื่องของโรงเรียนญี่ปุ่น นักเรียนญี่ปุ่น ให้เห็นตลอดเวลา เรื่องที่ผมได้คุยกะ "ชิกะ" ก็หนีไม่พ้นเรื่องของโรงเรียนเช่นกัน


    มุมสูงของโรงเรียนญี่ปุ่นทั่วไป ดาดฟ้าเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ของเหล่าพระเอก นางเอกหลายเรื่อง

    ตลอดเวลาที่ได้คุยกัน มีหลายเรื่องที่ผม "รู้แล้ว" และมีอีกหลายเรื่องมากมาย "ที่ผมไม่เคยรู้" ซึ่งเรื่องที่ "ไม่เคยรู้" ดูเหมือนจะเยอะเสียด้วย เราแลกเปลี่ยนกันหลายอย่าง "ชิกะ" ก็แปลกใจเรื่องของโรงเรียน การเรียน ของไทยไม่แพ้กัน (ในขณะที่โทโมยะ นั่งกลายเป็นใบ้ เพราะไม่มีใครพูดด้วย)

    คำถามส่วนใหญ่ ของผมจะเป็นคำถามที่ว่า "จริงรึปล่าว ที่ว่า....." หรือไม่ก็ "เคยเห็นในการ์ตูนมันเป็นแบบนี้จริงหรือ".... คำตอบที่ออกมา มีทั้ง "จริง" และ "เวอร์" ไปบ้าง แต่ทุกอย่างมีพื้นฐานจาก "ความจริง" ถึงแม้จะเวอร์ไปบ้างก็ตาม (ถึงตอนนี้ โทโมยะ มองค้อนมาอีกแล้ว....กลัวจีบน้องสาวมัน..มั้ง)


    โรงเรียนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็น "แหล่งกำเนิด การ์ตูนญี่ปุ่น" จะเป็นอย่างไร มีอะไรในนั้น และตรงกับที่คุณวาดฝันไว้รึปล่าวเอ่ย...... เรามาดูกัน......


    โรงเรียนของญี่ปุ่น หรือ "กักโค" (
    学校) ถ้านับตามประเภทใหญ่ๆ ก็แบ่งได้เป็น


    1. โรงเรียนอนุบาล หรือ โยจิเอ็ง
    幼稚園 ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมประถมนั่นเอง เราคงจำกันได้ ชินจัง เรียนโรงเรียนอนุบาล
    2. โรงเรียนประถม หรือ โชกักโค
    小学校 เป็นโรงเรียนประถม โนบิตะ และเพื่อนๆ เรียนอยู่ระดับนี้
    3. โรงเรียนมัธยมต้น หรือ จูกักโค
    中学校 โรงเรียนมัธยมต้น เรียน 3 ปี เหมือนบ้านเรา
    4. โรงเรียนเฉพาะทาง หรือ เซมมองกักโค
    専門学校 คล้ายโรงเรียนอาชีวะบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนแค่ 2 ปี บางที่เรียน 3 ปี
    5. โรงเรียนมัธยมปลาย หรือ โคโค
    高校 เป็นเโรงเรียนมัธยมปลาย เรียน 3 ปี เช่นกัน



    ประตูโรงเรียนทั่วๆ ไป (อันนีโรงเรียนแถวบ้านผมเอง)

    นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอื่นๆ ที่เรียก ผิดแปลกออกไปตามประเภทย่อยๆ อีกหลายอย่าง เช่น


    1. โรงเรียนเตรียม จูคุ หรือ โยบิโค
    or 予備校 เป็นโรงเรียนที่เรียนเพื่อเตรียมเข้าระดับมหาลัย ซึ่งโรงเรียนนี้ ใครจำได้ พระเอกของ Chobits เรียนอยู่.... หรือแม้แต่ จุนเปย์ และ โทโจ จาก Ichigo100% ก็ต้องมาเรียนที่นี่
    2. โรงเรียนประถม - มัธยมต้น หรือ โชจูกักโค
    小中学校 เป็นโรงเรียนที่มีระดับประถม และมัธยมต้นปนกัน....
    3. โรงเรียนหญิงล้วน หรือ โจฉิกักโค
    女子学校 เป็นโรงเรียนหญิงล้วน ใครจำได้ ม.ปลาย นิชิโนะ ซึคาสะ Ichigo100% ย้ายมาเรียนที่นี่
    4. โรงเรียนสำหรับผู้พิการ หรือ โยโงกักโค
    養護学校 เป็นโรงเรียนที่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ โดยแบ่งระดับการเรียนเหมือนกับโรงเรียนปกติทั่วไป
    5. อื่นๆ อีกมากมาย......


    พูดถึงประเภทของโรงเรียนไปแล้ว ต่อไป " เราไปโรงเรียนกันดีกว่า"
    学校へ行こう !!

    สิ่งหนึ่งที่เหมือนบ้านเรา เวลานักเรียนไปเรียน " ไม่ขับรถไปเรียน" อาจเป็นเพราะ ยังไม่มีใบขับขี่ อีกทั้งไม่มีที่จอดรถ นักเรียน หรือ กักเซย์ซัง (
    学生 ) ทั้งหลายจะใช้การเดิน หรือไม่ก็ขี่จักรยานไปเรียน ใครบ้านใกล ก็ใช้บริการรถประจำทาง หรือไม่ก็รถไฟ ที่มีให้บริการ แม้ต้องต่อหลายต่อก็ไม่ท้อ......


    ที่จอดจักรยาน พร้อมที่ล๊อก เป็นช่องๆ เลย เห็นป่ะ

    การมาโรงเรียนของนักเรียนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในระดับ ม.ต้น จะมี คะแนนการเข้าเรียน หรือว่า ฉุดเซกิ ( 出席 ) ซึ่งคะแนนนี้ จะถูกนำไปรวมกับคะแนนทำเข้าสอบเพื่อเข้าเรียนระดับ ม.ปลาย ด้วย โรงเรียนของญี่ปุ่น เข้าเรียนตอน 8.30 น. ใครมาช้า ประตูโรงเรียนจะปิดจริงๆ ใครมาไม่ทันต้องไปรายงานตัว แล้วถูกตัดคะแนนในส่วนนี้ ใครดูการ์ตูนถึงตอนนี้คงเข้าใจว่า ทำไมพระเอก นางเอกเรา มาเรียนสาย ต้องวิ่งกันจ้าละหวั่น....ไม่งั้นตัดแต้ม !!

    แต่แปลกมาก ... แม้มีการตัดแต้ม นักเรียนก็มักใช้วิธี " มาเช้า แล้วหลับในห้อง " ประจำ ซึ่งการหลับในห้อง กลับไม่โดนตัดแต้ม แต่อาจโดนชอล์คปาหัวแบบในการ์ตูนก็ได้......

    โรงเรียนญี่ปุ่น แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 เทอม โดยแบ่งตามวันหยุดในช่วงฤดูต่างๆ ได้แก่


    ฤดูหนาว ฟุยุยาสุมิ (
    冬休み)
    ฤดูใบไม้ผลิ ฮารุยาสุมิ (
    春休み)
    ฤดูร้อน นัทสึ (
    夏休み)



    ทางระหว่างโรงเรียนในฤดูใบไม้ร่วง ก็ช่วงประมาณเดือนตุลา - พฤศจิกา แดงไปหมด...


    ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ก็จะสวยอีกแบบ ซากุระเต็มไปหมด

    ฤดูใบไม้ผลิ ถือเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นสิ่งใหม่ในเดือนสาม โรงเรียนต่างๆ ก็มักเปิดเรียนช่วงนี้ ......ใครดูการ์ตูนนักเรียนเดินไปเรียน มีดอกซากุระเยอะแยะ ก็หมายถึงฤดูแห่งการเปิดเรียนนั่นเอง ส่วนฤดูที่นักเรียนชอบที่สุดคงเป็นฤดูร้อน เพราะมีวันหยุดยาวประมาณสองเดือน.......

    เครื่องแบบนักเรียนของญี่ปุ่น เป็นที่ขึ้นชื่อมานานด้านความน่ารัก น่าใส่ มาถึงตอนนี้ "ชิกะ" ก็บอกไม่ได้ว่า เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นมาจาก "การ์ตูน" หรือว่า "การ์ตูน" ลอกแบบมาจากชุดนักเรียนจริงๆ ชุดนักเรียนของญี่ปุ่นมีลักษณะต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นแบบ Sailor หรือ กะลาสีเรือ จากเรื่อง SailorMoon หรือแบบธรรมดา แต่กระนั้น เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นก็ยังแบ่งย่อย เพื่อสวมใส่แยกตามฤดูอีกด้วย เช่น ฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือ แบบธรรมดา..... ก็ใส่ไม่เหมือนกัน ยังกะ "พระแก้วมรกตบ้านเรา" -_- ดูยุ่งยาก แต่ว่าน่ารัก และมีประโยชน์ดี..


    ชุดนักเรียนญี่ปุ่นที่แสนชวนมอง ใส่แยกตามฤดูต่างๆ ดังนี้

    ฤดูร้อน ฤดูหนาว และ แบบปกติ ตามลำดับ...



    ประตูทางเข้าตึกเรียน ดูดีๆ จะมีช่อง ช่องอะไร ข้างล่างมีคำตอบ.....

    เมื่อถึงโรงเรียน นักเรียนเกือบทุกโรงเรียน และทุกระดับ จะไป "เปลี่ยนรองเท้า" ที่ล๊อกเกอร์ซึ่งอยู่หน้าประตูก่อนเป็นอันดับแรก นี่เป็นคำถามแรกๆ ที่ผมถาม " ชิกะ " ว่ามันต้องทำแบบนี้จริงๆ หรือ เธอยืนยันว่าต้องทำ เพราะนอกจากป้องกันโรงเรียนจากความสกปรกแล้ว เวลาเดินตรงระเบียงทำให้ "ไม่มีเสียงดัง" เวลาเดินด้วย.....(ความรู้ใหม่....)


    ช่องเก็บรองเท้า (มีเก็บขยะด้วย...)

    รองเท้าที่ว่าเป็นรองเท้าผ้าใบบางๆ สวมใส่สบายๆ บางโรงเรียนทำเป็นสีต่างๆ แยกกัน เช่น สีฟ้าของผู้ชาย ชมพูของผู้หญิง และมีชื่อเขียนไว้บนหัวรองเท้าทุกคู่.....ป้องกันการโฉบของพวกมือดี..

    ตอนเช้า ก่อนเรียนวิชาต่างๆ จะมี ครูประจำชั้น หรือ ทันนินเซ็นเซย์ (
    担任先生) มาโฮมรูมก่อน โดย หัวข้อการโฮมรูมคือ เช็คชื่อนักเรียน นอกจากนี้ ยังบอกข้อมูลคร่าวๆ ว่า โรงเรียนจะมีกิจกรรมอะไร นักเรียนต้องทำอะไร ซึ่งเป็นที่รับรู้รับทราบพร้อมกัน.....

    ระบบ "ครูประจำชั้น" กับ " นักเรียน " มีความสัมพันธ์กันมากในการเรียนของญี่ปุ่น โดยเฉพาะระดับ ม.ปลาย และ มหาลัย ต้องมีครูที่ปรึกษาเพื่อให้การเรียนต่อ....เป็นคนรับรองให้ การ์ตูนที่พูดเรื่องครูประจำชั้น กับนักเรียนเด่นๆ เห็นจะหนีไม่พ้น Azumanga Daioh ! แน่นอน (ใครไม่ได้ดูไปหามาดูซะ....ฮามาก ขอบอก)

    เรื่อง " อาหารกลางวัน " อันนี้ คุยกับ " ชิกะ " นานเป็นพิเศษ ในการ์ตูนหลายๆ เรื่องมีโรงอาหารให้นักเรียน แต่จากที่ได้คุยกับนักเรียนอย่าง " ชิกะ " เธอบอกว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโรงอาหาร จะมีเพียงร้านขายอาหารเล็กน้อยเท่านั้น โรงเรียนที่มีโรงอาหารส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนใหญ่ และมีชื่อนิดหน่อย..... บางโรงเรียนจะมีการปรุงอาหารให้นักเรียน และมีบางคนที่เอา " เบนโต "
    弁当 หรือ " ปิ่นโต " บ้านเรานี่แหละมาเอง โดยแยกไปกินตามห้องต่างๆ หรือไม่ก็สนาม หรือแม้แต่ " ดาดฟ้า " ดังที่เห็นทั่วๆ ไป


    ช่องว่างระหว่างตึกเรียน ถ้าใครจำได้ เทนมะมากินข้าวปั้นกะคาราสึมะคุง ตรงนี้ (School Rumble)

    เรื่องอื่นๆ เล็กน้อย พวกทำเวร และการเรียน เป็นเรื่องที่คล้ายกับการเรียนของบ้านเรา โดยมีกระทรวงศึกษาของญี่ปุ่นเป็นผู้ควบคุมหลักสูตร และออกแบบเรียนให้กับโรงเรียนทั่วไป....

    คลับ และ ชมรม เป็นอีกเรื่องที่ "ไม่พูดถึง" ก็ขาดสีสันไปแน่นอน...... นักเรียนญี่ปุ่นในระดับมัธยมต้นขึ้นไป เกือบทุกคนจะเข้า "ชมรม" หรือ บุคัสซึ (
    部活) ของตัวเอง แต่บางคนก็ไม่สมัครเข้าชมรมไหนก็มีซึ่งเหมือนกับ " ชิกะ" เธอบอกว่า เธอต้องการสอบเข้า มหาลัยดีๆ เธอต้องการเรียนอย่างเดียว ไม่มีเวลาให้กับ "ชมรม"


    โรงพละ นอกจากนี้ยังใช้เป็น สถานที่อเนกประสงค์จัดงานอื่นๆ เช่น งานปิด หรือเปิดการศึกษา

    เครดิต : http://my.dek-d.com//story/viewlongc.php?id=131300&chapter=65

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×