ลำดับตอนที่ #15
ตั้งค่าการอ่าน
ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : อย่าตระหนก! โลกร้อนไม่ทำกรุงเทพฯ จมบาดาล
กระแสตื่นตัวโลกร้อนสร้างความความตื่นตระหนกต่อปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่ถึงครึ่งเมตร อีกทั้งตัวอย่างของบ้านขุนสมุทรจีนที่ชายฝั่งถูกกลืนกินแผ่นดินไกลหลายกิโลเมตร ยิ่งสร้างความตระหนกให้กับคนกรุงไม่น้อย ว่าเมืองหลวงของไทยจะจมอยู่ใต้น้ำหรือไม่
"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ ถาวรแน่" ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวไว้ในการเสวนา "รอบรู้ รอบลึก โลกร้อน-กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ?" ฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวของมหาวิทยาลัยออกมาให้ข้อมูล
ดร.อานนท์กล่าวว่าที่มาของน้ำนั้นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยอย่างแรกคือ "น้ำหนุน" หรือน้ำขึ้น-น้ำลงจากทะเล ซึ่งระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดนั้นห่างกัน 2 เมตร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ จึงมีท่อนเพลงร้อง "วันเพ็ญเดือน 12 น้ำนองเต็มตลิ่ง" ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นกับทะเลฝั่งอันดามัน อีกปัจจัยคืออิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ดูดน้ำจากทะเลจีนใต้เข้าอ่าวไทย ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ที่กล่าวนั้นไม่สามารถควบคุมได้
ส่วนปัจจัยที่มนุษย์ควบคุมได้คือการปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ๆ 3-4 แห่งที่ทำให้เกิดน้ำออกันบริเวณปากน้ำเนื่องจากน้ำจืดที่ปล่อยลงทะเลนั้นมีความหนาแน่นต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อีกปัจจัยคือความกดอากาศต่ำที่จะดูดน้ำจากบริเวณรอบๆความกดอากาศมาไว้ตรงกลาง อย่างไรก็ดียังไม่เคยมีพายุพัดเข้าบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ โดยตรง อีกทั้งเรายังสามารถคาดการณ์การเกิดพายุได้หลายวันทำให้มีเวลาในการเตรียมรับมือ
"ถ้าโชคร้ายที่สุดซึ่งเกิดปัจจัยเหล่านี้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเป็นวันลอยกระทง หากทางกรมชลประทานปล่อยน้ำออกมาเต็มที่โดยไม่สนใจอะไร และโชคร้ายสุดๆ เกิดพายุพัดเข้าถล่มกรุงเทพฯ ขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงสูง คิดคร่าวๆ ว่าจะมีปริมาณสูงเพิ่มขึ้น 3 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิด หรือถ้าเกิดขึ้นก็จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องกังวลไม่ใช่เรื่องน้ำท่วมถาวรแต่เป็นเรื่องน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น" ดร.อานนท์กล่าว
ทั้งนี้แนวทางในการรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งนักวิทยาศาสตร์เองก็ยังบอกไม่ได้ว่าโอกาสของความน่าจะเป็นเป็นเท่าไหร่นั้น ดร.อานนท์กล่าวว่าไม่จำเป็นที่จะต้องจบที่การสร้างเขื่อนขึ้นรองรับปริมาณน้ำที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และยังมีทางเลือกอื่นนอกไปจากการย้ายเมืองหลวงซึ่งเป็นทางเลือกตรงกลาง เช่น หยุดราชการในช่วงน้ำท่วม หรือเลื่อนช่วงปิดภาคเรียนของนักเรียน-นักศึกษาเป็นช่วง พ.ย. เป็นต้น พร้อมทั้งย้ำว่ายังมีหลายทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว
ส่วนโลกร้อนจะเพิ่มปัจจัยน้ำท่วมให้กับกรุงเทพฯ เท่าไหร่นั้น นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยกข้อมูลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ ไอพีซีซีที่ระบุว่าน้ำแข็งละลายนั้นทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นปีละ 6-7 มิลลิเมตร ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าระดับน้ำทะเลก็เพิ่มขึ้น 6-7 เซนติเมตร ซึ่งยังอีกไกลยาวที่กรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบ
ทางด้าน น.ส.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬ่าฯ กล่าวว่าเมื่อปี 2538 กรุงเทพฯ เคยประสบกับปัจจัยที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมแต่ก็ได้บริหารจัดการน้ำด้วยการผันน้ำออกไปทิศทางอื่นทำให้บริเวณรอบนอกประสบปัญหาน้ำท่วมแทน
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาให้ข้อมูลล้วนแสดงความเห็นว่าไม่ควรตระหนกต่อข่าวน้ำท่วมกรุงเทพฯ แต่ให้ตระหนักและอยู่อย่างเข้าใจ โดย ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง อาจารย์จากภาควิชาธรณีวิทยาของจุฬาฯ กล่าวว่าปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ นั้นมีมาแต่อดีต เนื่องจากเป็นพื้นที่ตะกอนใหม่ซึ่งมีปัญหาการทรุดตัวอยู่แล้ว
พร้อมกันนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าการกรุงเทพมหานครได้ร่วมแสดงความเห็นในเวทีนี้ด้วย กล่าวว่ากรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมและภาวะโลกร้อนก็ทำให้เสี่ยงมากขึ้น แต่เราไม่ควรตระหนกต่อเรื่องดังกล่าว หากแต่ต้องหาทางที่จะอยู่กับภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้
"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ ถาวรแน่" ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวไว้ในการเสวนา "รอบรู้ รอบลึก โลกร้อน-กรุงเทพฯ จะจมน้ำจริงหรือ?" ฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวของมหาวิทยาลัยออกมาให้ข้อมูล
ดร.อานนท์กล่าวว่าที่มาของน้ำนั้นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยอย่างแรกคือ "น้ำหนุน" หรือน้ำขึ้น-น้ำลงจากทะเล ซึ่งระดับน้ำสูงสุดและต่ำสุดนั้นห่างกัน 2 เมตร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ จึงมีท่อนเพลงร้อง "วันเพ็ญเดือน 12 น้ำนองเต็มตลิ่ง" ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นกับทะเลฝั่งอันดามัน อีกปัจจัยคืออิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ดูดน้ำจากทะเลจีนใต้เข้าอ่าวไทย ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ที่กล่าวนั้นไม่สามารถควบคุมได้
ส่วนปัจจัยที่มนุษย์ควบคุมได้คือการปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ๆ 3-4 แห่งที่ทำให้เกิดน้ำออกันบริเวณปากน้ำเนื่องจากน้ำจืดที่ปล่อยลงทะเลนั้นมีความหนาแน่นต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อีกปัจจัยคือความกดอากาศต่ำที่จะดูดน้ำจากบริเวณรอบๆความกดอากาศมาไว้ตรงกลาง อย่างไรก็ดียังไม่เคยมีพายุพัดเข้าบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ โดยตรง อีกทั้งเรายังสามารถคาดการณ์การเกิดพายุได้หลายวันทำให้มีเวลาในการเตรียมรับมือ
"ถ้าโชคร้ายที่สุดซึ่งเกิดปัจจัยเหล่านี้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเป็นวันลอยกระทง หากทางกรมชลประทานปล่อยน้ำออกมาเต็มที่โดยไม่สนใจอะไร และโชคร้ายสุดๆ เกิดพายุพัดเข้าถล่มกรุงเทพฯ ขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงสูง คิดคร่าวๆ ว่าจะมีปริมาณสูงเพิ่มขึ้น 3 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิด หรือถ้าเกิดขึ้นก็จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องกังวลไม่ใช่เรื่องน้ำท่วมถาวรแต่เป็นเรื่องน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น" ดร.อานนท์กล่าว
ทั้งนี้แนวทางในการรับมือน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งนักวิทยาศาสตร์เองก็ยังบอกไม่ได้ว่าโอกาสของความน่าจะเป็นเป็นเท่าไหร่นั้น ดร.อานนท์กล่าวว่าไม่จำเป็นที่จะต้องจบที่การสร้างเขื่อนขึ้นรองรับปริมาณน้ำที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และยังมีทางเลือกอื่นนอกไปจากการย้ายเมืองหลวงซึ่งเป็นทางเลือกตรงกลาง เช่น หยุดราชการในช่วงน้ำท่วม หรือเลื่อนช่วงปิดภาคเรียนของนักเรียน-นักศึกษาเป็นช่วง พ.ย. เป็นต้น พร้อมทั้งย้ำว่ายังมีหลายทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว
ส่วนโลกร้อนจะเพิ่มปัจจัยน้ำท่วมให้กับกรุงเทพฯ เท่าไหร่นั้น นักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยกข้อมูลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ ไอพีซีซีที่ระบุว่าน้ำแข็งละลายนั้นทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นปีละ 6-7 มิลลิเมตร ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าระดับน้ำทะเลก็เพิ่มขึ้น 6-7 เซนติเมตร ซึ่งยังอีกไกลยาวที่กรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบ
ทางด้าน น.ส.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬ่าฯ กล่าวว่าเมื่อปี 2538 กรุงเทพฯ เคยประสบกับปัจจัยที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมแต่ก็ได้บริหารจัดการน้ำด้วยการผันน้ำออกไปทิศทางอื่นทำให้บริเวณรอบนอกประสบปัญหาน้ำท่วมแทน
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาให้ข้อมูลล้วนแสดงความเห็นว่าไม่ควรตระหนกต่อข่าวน้ำท่วมกรุงเทพฯ แต่ให้ตระหนักและอยู่อย่างเข้าใจ โดย ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง อาจารย์จากภาควิชาธรณีวิทยาของจุฬาฯ กล่าวว่าปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ นั้นมีมาแต่อดีต เนื่องจากเป็นพื้นที่ตะกอนใหม่ซึ่งมีปัญหาการทรุดตัวอยู่แล้ว
พร้อมกันนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าการกรุงเทพมหานครได้ร่วมแสดงความเห็นในเวทีนี้ด้วย กล่าวว่ากรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมและภาวะโลกร้อนก็ทำให้เสี่ยงมากขึ้น แต่เราไม่ควรตระหนกต่อเรื่องดังกล่าว หากแต่ต้องหาทางที่จะอยู่กับภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
กำลังโหลด...
ความคิดเห็น