ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
วิทยาศาสตร์น่ารู้ (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม)

ลำดับตอนที่ #14 : ดาวฤกษ์ก็มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย

  • อัปเดตล่าสุด 27 ธ.ค. 51


ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นส่องแสงอยู่ทุกวันนี้ อีกหลายพันล้านปีข้างหน้ามันก็จะหายวับไปจากท้องฟ้าของเรา ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆก็เหมือนกัน มีการเกิดจากกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ ยุบตัวเป็นดาวฤกษ์ ส่องแสงออกจากจากการหลอมไฮโดรเจน ไปเป็นฮีเลียม เมื่อไฮโดรเจนหมด ก็จะไม่สบายหรือไม่สมดุล มีการยุบขยายของเปลือก แล้วก็ระเบิด กลายเป็นกลุ่มแก๊สที่ที่รอคอยที่จะยุบตัวเป็นดาวฤกษ์อีกครั้งหนึ่ง


ทีนี้เรามาดูว่ารายละเอียดของแต่ละขั้นตอนวิวัฒนาการมีอะไรบ้าง เริ่มจากการยุบตัวของกลุ่มแก๊สที่อาจจะมีแรงกระแทกจากดาวระเบิดทำให้กลุ่มแก๊สเริ่มยุบตัว เมื่อมวลมากขึ้น แรงโน้มถ่วงก็มากขึ้นด้วย ทำให้มีมวลมากขึ้นจนหนาแน่นมากและร้อน ถ้าร้อนถึง 10 ล้านองศาเคลวินก็จะเริ่มมีการหลอมรวมไฮโดรเจน ไปเป็นฮีเลียมและปลดปล่อยพลังงานออกมา กลายเป็นดาวฤกษ์ที่สวยงามให้เราเห็นบนท้องฟ้า ดาวฤกษ์จะต้องรักษษสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงที่จะทหำให้ดาวยุบและแรงดันเนื่องจากการแผ่รังสีที่จะทำให้ดาวขยายตัวออก ถ้าแรงทั้ง 2 อย่างนี้ไม่สมดุล ก็จะทำให้ดาวยุบตัวหรือระเบิดออกก็ได้
สำหรับดวงอาทิตย์ของเรา จะอยู่ในสภาพเป็นดาวกฤษ์อยู่ได้  เป็นระยะเวลาประมาณหมื่นล้านปี ปัจจุบันดวงอาทิตย์ดำเนินสภาพเป็นดาวฤกษ์มาแล้วประมาณเกือบ 5,000 ล้านปี เมื่อเชื้อเพลงบริเวณใจกลางของดาวฤกษ์ (ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของมวลดาวฤกษ์ทั้งหมด) ถูกเผาผลาญหมดไป แรงดันจะหายไป ทำให้แกนกลางของดาวฤกษ์ยุบตัวเนื่องจากผลของความโน้มถ่วงการยุบตัวของแกนกลาง และเปลือกนอกของดาวฤกษ์ขยายตัวออก กลายเป็นดาวยักษ์แดง ที่อุณหภูมิผิวประมาณ 3000 องศาเคลวินเท่านั้น วาระสุดท้ายของดาวจะขึ้นอยู่กับมวล ถ้ามวลน้อยแกนกลางจะกลายเป็นดาวแคระขาว และเปลือกนอกขยายออกเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ของเราก็จะเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเป็นดาวมวลมากก็จะมีการระเบิดอย่างรุนแรงหรือซุปเปอร์โนวาแกนกลางอาจเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำก็ได้ ถ้ามีมวลมากพอ อย่างเช่นเนบิวลาปูในกลุ่มดาววัว เป็นซากที่เหลือจากการระเบิดเมื่อประมาณพันปีทีแล้ว ตรงกลายกลายเป็นดาวนิวตรอนที่หมุนเร็วมากและส่งคลื่นวิทยุออกมา หรือที่เรียกว่าพัลซาร์ แต่ถ้าเป็นหลุมดำ เราจะมองไม่เห็นต้องหาวิธีการอื่นในการศึกษา


โดย  ฝ่ายวิชาการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture