ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
วิทยาศาสตร์น่ารู้ (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม)

ลำดับตอนที่ #12 : บนท้องฟ้ามีอะไรบ้าง

  • อัปเดตล่าสุด 27 ธ.ค. 51


 

เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้าเราจะเห็นดาวต่างๆมากมาย นอกจากดาวฤกษ์แล้วยังมีอย่างอื่น เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง กระจุกดาว กาแลกซีต่างๆ และวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดที่เราเห็นก็คือเควซาร์ที่อยู่ไกลหลายพันล้านปีแสง
 ในระบบสุริยะของเราวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ธรรมดาดวงหนึ่งในกาแลกซีทางช้างเผือก อยู่ห่างจากใจกลางกาแลกซีออกมา 2 ใน 3 ดวงอาทิตย์ของเราเป็นดาวเดี่ยว ขณะที่ดาวฤกษ์ส่วนมากบนท้องฟ้าจะเป็นดาวคู่ มีอายุได้ประมาณครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้วคือประมาณ 4500 ล้าน นอกจากดวงอาทิตย์แล้วระบบสุริยะของเรายังมีดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดาวเคราะห์ของเราจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ พวกที่เหมือนโลกเราคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก มีดวงจันทร์ 1 ดวง และดาวอังคาร มีดวงจันทร์ 2 ดวง อีกพวกหนึ่งคือพวกที่เป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีวงแหวนและดวงจันทร์จำนวนมาก ประกอบด้วยดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ส่วนพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระ มันเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่เคยมียานไปสำรวจเลย นอกจากนี้ก็มีวัตถุขนาดเล็กอย่างดาวเคราะห์น้อย และดาวหางจำนวนมากที่ล้อมรอบรระบบสุริยะของเราอยู่ บางครั้งโลกโคจรผ่านเข้าปในกลุ่มฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้ เมื่อฝุ่นเสียดสีกับบรรยากาศโลกเราก็กลายเป็นดาวตก


 



 เมื่ออกจากระบบสุริยะแล้วจะเป็นดาวฤกษ์ซึ่งดวงที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดคือ Proxima Centauri อยู่ห่างประมาณ 4.15 ปีแสง ดาวฤกษ์คือก้อนแก๊สที่มีความร้อนในตัวเอง ซึ่งความร้อนหรือพลังงานของมันนั้นมาจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์แบบฟิวชันเหมือนใจกลางของดวงอาทิตย์ของเรา ดาวฤกษ์นั้นเกิดจากกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ยุบตัวมาเป็นดาวฤกษ์ ซึ่งส่วนมากนั้นตอนเกิดจะเป็นกลุ่มแล้วค่อยแยกออกจากกัน บางครั้งมาเรียงกันเป็นรูปร่างต่างๆ เราก็เรียกว่ากลุ่มดาว ดาวฤกษ์นั้นมีหลายสีขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและมีหลายขนาดด้วย เช่น ดาวยักษ์ใหญ่, ดาวยักษ์, ดาวแคระขาว บางดวงมีขนาดไม่กี่สิบกิโลเมตร ดาวปกติจะอยู่ในแถบกระบวนหลักเมื่อวิวัฒนาการต่อไปก็จะกลายเป็นดาวยักษ์แดง
 ดาวฤกษ์บางดวงก็ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาเช่น SN1987A ซากที่เหลือก็จะกลายเป็นเนบิวลา เช่น เนบิวลาปู ที่เกิดจากดาวระเบิดเมื่อ 1000 ปีที่แล้ว ดาวฤกษ์ส่วนมากจะอยู่เป็นคู่บางระบบก็มี 3 ดวง เช่น Alpha Centauri แต่บางระบบมีถึง 6 ดวง เช่น Castor ในกลุ่มดาวคนคู่ ดาวบางดวงก็มีการแปรแสงคือความสว่างของมันเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อดาวขนาดใหญ่ระเบิดเปลือกออกมากลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ แกนกลางก็จะยุบตัวกลายเป็นดาวแคระขาว ถ้ามวลมากกว่าก็จะกลายเป็นดาวนิวตรอนซึ่งบางดวงมีสนามแม่เหล็กเข้มมากเรียกว่าพัลซาร์ แต่ถ้ามวลมากขึ้นไปอีกก็จะกลายเป็นหลุมดำ
 บางครั้งกลุ่มแก๊สขนาดใหญ่ก็ยุบตัวเป็นดาวฤกษ์หลายๆ ดวง เรียกว่ากระจุกดาวเปิด อยู่บริเวณแขนของกาแล็กซี แต่ถ้าอยู่ด้านนอกของกาแล็กซีจะเป็นกระจุกดาวปิด บางกระจุกมีดาวเป็นแสนดวง อยู่ในทางช้างเผือกของเรา ซึ่งเป็นกาแล็กซีแบบกังหันที่มีแกนกลาง มีขนาดประมาณ 100000 ปีแสง คือกว่าที่แสงจะเดินทางจากปลายด้นหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ต้องใช้เวลาถึงแสนปี มดาวฤกษ์ประมาณ 2 แสนล้านดวง เลยจากทางช้างเผือกออกไปก้เป็นกาแล็กขนาดเล็กที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สำหรับคนที่อยู่ซีกโลกใต้ แต่กาแล็กแอนโดรเมดาที่อยู่ห่างไป 2.2 ล้านปีแสง เป็นวัตถุที่ตาเรามองเห็นได้ไกลที่สุด กาแล็กซีมีอยู่หลายแบบ หลายขนาดด้วยกัน แต่ละอันมีดาวเป็นแสนล้านดวง เมื่อกาแล็กซีอยู่รวมกันก็เรียกว่ากระจุกกาแล็กซี และถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นมาอีกก็เรียกว่าซุปเปอร์คลัสเตอร์ เมื่อหลายๆ ซุปเปอร์คลัสเตอร์รวมกันก็กลายเป็นเอกภพที่เราอาศัยอยู่

โดย  ฝ่ายวิชาการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture