ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
"ภาวะโลกร้อน" มหันตภัยใกล้ตัวเรา

ลำดับตอนที่ #12 : 10 ปีไทยอ่วมน้ำทะเลเซาะชายฝั่งรุกท่วม “กรุงเทพฯ”

  • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 51


10 ปีไทยอ่วมน้ำทะเลเซาะชายฝั่งรุกท่วม “กรุงเทพฯ”
โดย ผู้จัดการออนไลน์
       นักธรณีวิทยา จุฬาฯ ชี้ 10 ปี ไทยประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรงขึ้น แจงกรุงเทพฯ –ปริมณฑลน่าอันตราย แผ่นดินหายไปแล้ว 1.8 หมื่นไร่ คลื่นในอ่าวไทยสูง 4 เมตรกลายเป็นเรื่องปกติ เหตุสร้างเขื่อน –สูบน้ำบาดาลใช้ ระบุไม่เร่งแก้ไขอีก 20 ปี แผ่นดินใกล้กรุงคืบโดนกลืน 1.3 กิโล บางบ่อ –บางพลี อ่วมสุดๆ “สุวรรณภูมิ” โดนชิ่ง –ไม่รอดใกล้ขอบทะเล
       
       เมื่อช่วงสายวันที่ 3 พ.ย. ในรายการ “ทันโลกวิทยาศาสตร์” ทางคลื่นสถานีวิทยุจุฬาฯ เอฟเอ็ม 101.5 เมกะเฮิร์ซ ดำเนินรายการโดย ผศ.มานิต รุจิวโรดม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิจัยหน่วยวิจัยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ และอาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์ของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศ
       
       รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยทั้งหมด 2,667 กม.มีจุดที่ได้รับปัญหาอย่างหนักถึง 599 กม.หรือราว 21% ด้วยกัน โดยมี 5 จังหวัดที่น่าเป็นห่วง คือ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ซึ่งตลอดแนวชายฝั่งทะเล 120 กม.มีถึง 82 กม.หรือ 68%ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ถูกกัดเซาะกินส่วนที่เป็นแผ่นดินไปแล้ว 1 กม. และมีพื้นที่หายไปรวม 18,000 ไร่
       
       “ในช่วง 10 ให้หลังมานี้ การติดตามเก็บข้อมูลคลื่นทะเลทั้งจากฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบว่าคลื่นใหญ่ซึ่งได้รับผลมาจากลมมรสุม ทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมประจำปี) มีการเปลี่ยนทิศทางและมีความรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ คืออ่าวไทยเมื่อ 10 ปีก่อนหรือก่อนหน้า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะทำให้เกิดคลื่นในอ่าวไทยโดยมีความสูงเฉลี่ยเพียง 0.8 -1 เมตรเท่านั้น”อาจารย์นักวิจัยกล่าว
       
       แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ รศ.ดร.ธนวัฒน์ เผยข้อมูลว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้ทำให้เกิดคลื่นที่มีความสูงถึง 2 -4 เมตรแล้ว เช่นเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ณ จ.สงขลา ที่มีคลื่นความสูง 4 เมตรพัดบ้านเรือนประชาชนหายไปหลายหลัง
        
       ทั้งนี้ การกระทำของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้เกิดปัญหาเร็วขึ้น อย่างการพัฒนาต้นน้ำ เช่นการสร้างเขื่อนที่กั้นไม่ให้ตะกอนดินจากต้นน้ำไหลลงมายังปากแม่น้ำตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่ทำให้ตะกอนดินหายไปกว่า 70%
       
       ขณะที่อีกปัญหาหนึ่งที่ซ้ำเติมให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรงมากขึ้น ยังเป็นการทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนว่าน้ำทะเลเพิ่มระดับสูงขึ้น โดยราว 23 -24 ปีที่แล้ว อัตราการทรุดตัวของกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่มากกว่า 10 ซ.ม./ปี ศูนย์กลางอยู่ในเขตเมือง
       
       ต่อมาเมื่อรัฐบาลควบคุมการใช้น้ำบาดาล ไม่มีการขุดบ่อเพิ่มขึ้น ศูนย์กลางของแผ่นดินทรุดตัวจึงเปลี่ยนไปสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลมากขึ้น โดยเฉพาะย่านบางพลีและบางบ่อ จ.สมุทรปราการ และเขตมหาชัย -บางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก
       
       อัตราการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่ดังกล่าวจึงอยู่ที่ 3 -5 ซ.ม./ปีใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวมาก เพราะจากการศึกษาเมื่อเทียบกับเมื่อ 12,000 ปีที่แล้ว พื้นที่แห่งนี้จะทรุดตัวไม่เกิน 20 -22 ม.ม./ปี โดยมีความต่างกันถึง 30 เท่า ทำให้แม้น้ำทะเลไม่เพิ่มระดับสูงขึ้นก็ยังได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน ยิ่งต้องประสบกับปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันและในอนาคตด้วยแล้ว ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งก็จะทวีความรุนแรงขึ้นแน่นอน
       
       “หลังสุดก่อนที่เราจะทำวิจัยกับ สกว.เราได้ทำวิจัยออกมาว่าปัญหาการกัดเซาะของอ่าวไทยตอนบนขณะนี้อยู่ที่ 25 เมตร/ปี แต่จะเพิ่มเป็น 65 เมตร/ปีอีก 20 ปีข้างหน้า โดยอัตรานี้หากเราไม่ทำอะไรเลย อ่าวไทยตอนบนในอีก 20 ปีจะหายไปประมาณ 1.3 ก.ม. 50 ปีจะหายไป 2.3 ก.ม. และใน 100 ปีจะหายไป 6 -8 ก.ม.” รศ.ดร.ธนวัฒน์ แจกแจง ก่อนทิ้งท้ายว่า
       
       ปัญหาที่พบนี้จึงเป็นตัวเร่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ศึกษาวิจัยและทำงานร่วมกัน ก่อนที่อีก 100 ปีข้างหน้า เขตบางพลี และบางบ่อจะถูกทะเลกัดเซาะเข้ามาในแผ่นดินลึก 6 -8 ก.ม. สนามบินสุวรรณภูมิที่ตั้งอยู่ห่างจากทะเลเพียง 15 ก.ม.ก็จะได้รับผลกระทบ และพื้นที่หน้าด่านทางทะเลของกรุงเทพฯ ก็จะหมดไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

3ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

3ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×
แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
L o a d i n g . . .
x
เรียงตาม:
ใหม่ล่าสุด
ใหม่ล่าสุด
เก่าที่สุด
ที่กำหนดไว้
*การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

< Back
แทรกรูปโดย URL
กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
http:// หรือ https://
กำลังโหลด...
ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
*เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
< Back
สร้างโฟลเดอร์ใหม่
< Back
ครอปรูปภาพ
Picture
px
px
ครอปรูปภาพ
Picture