ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    • ฟอนต์ THSarabunNew
    • ฟอนต์ Sarabun
    • ฟอนต์ Mali
    • ฟอนต์ Trirong
    • ฟอนต์ Maitree
    • ฟอนต์ Taviraj
    • ฟอนต์ Kodchasan
    • ฟอนต์ ChakraPetch
"ภาวะโลกร้อน" มหันตภัยใกล้ตัวเรา

ลำดับตอนที่ #11 : พบความเชื่อมโยงโลกร้อนก่อสงคราม เพิ่มผู้ลี้ภัยหนีอากาศเปลี่ยนแปลง

  • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 51


พบความเชื่อมโยงโลกร้อนก่อสงคราม เพิ่มผู้ลี้ภัยหนีอากาศเปลี่ยนแปลง
โดย ผู้จัดการออนไลน์.

กระท่อมพักอาศัยภายในค่ายผู้ลี้ภัยสงครามบริเวณใกล้กับชายแดนเมืองดาร์ฟูร์ (Darfur) ซูดาน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติ
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ชาวซูดานส่วนหนึ่งช่วยกันตากเนื้อแกะที่เป็นอาหารของผู้ลี้ภัยด้วยกันในค่ายผู้ลี้ภัย ประเทศซูดาน

ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

นิวไซน์เอนติสท์ - นักวิชาการศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนหลัง 500 ปี พบการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสัมพันธ์กับสงคราม และภาวะทุกข์เข็ญของประชากรในแต่ละยุค นับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาความเชือมโยงระหว่างภาวะโลกร้อนกับสงครามอย่างจริงจัง ระบุอนาคตอาจต้องเพิ่มผู้ลี้ภัยเนื่องจากหนีภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าไปในสารบบ
       
       การศึกษาเรื่องราวในอดีตอาจทำให้รู้อนาคตได้ เมื่อนักวิชาการในสหรัฐฯ ศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นในอดีตกับสภาพทางสังคมในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าโลกร้อนอาจชักนำสังคมเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงและภาวะสงครามเหมือนที่ผ่าน และก่อเกิด "ผู้ลี้ภัยจากภูมิอากาศ" (climate refugee)
       
       ทั้งนี้ การศึกษาชิ้นล่าสุดได้วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันส่งผลให้เกิดความขัดแย้งภายในจีนเป็นเวลายาวนานถึง 1,000 ปี ซึ่งยังมีงานวิจัยเพียงน้อยนิดที่กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระยะยาว
       
       "ตัวอย่างพื้นฐานที่เห็นได้ชัดคือ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมีผลต่อการเพาะปลูก" ปีเตอร์ เบรค (Peter Brecke) จากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ในแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา หัวหน้าทีมวิจัยระบุ
       
       สภาพภูมิอากาศที่ย่ำแย่ลงจะทำให้เกิดผลตามมา 3 ประการหลัก ได้แก่ ภาวะข้าวยากหมากแพง ประชาชนเสียชีวิตเพราะความอดอยากมากขึ้น และเกิดความตึงเครียดในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่ภาวะสงครามหรือความขัดแย้งอย่างรุนแรง
       
       ทีมวิจัยได้รวบรวมข้อมูลราคาอาหาร จำนวนประชากร และการก่อจราจลหรือสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง ค.ศ.1400 ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับข้อมูลของอุณหภูมิและสภาพอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าทั้งสองสิ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นชนวนเหตุของสงครามและความขัดแย้งมากมาย ซึ่งเกิดขึ้นกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลก
       
       ส่วนช่วงที่สงบสุขอยู่ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งหากย้อนหลังไปสัก 250 ปีก่อน ทั้งในยุโรปและจีนต่างก็เป็นช่วงที่ประชากรอยู่อย่างสันติเช่นเดียวกัน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วง 100 ปี ก่อนสิ้นสุดยุคหนาวเย็นหรือยุคน้ำแข็งเล็ก (Little Ice Age) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1450 และสิ้นสุดลงในช่วงศตวรรษที่ 18
       
       ทีมวิจัยเชื่อว่า ช่วงที่อุณหภูมิเย็นลงกว่าปกติในยุคหนาวเย็น ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารได้ลดลงจากเดิมและทำให้เข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพงและเกิดสงครามช่วงชิงอาหารเพื่อความอยู่รอด กระทั่งเข้าสู่ช่วง 100 ปี ดังกล่าวที่มีอากาศอบอุ่นขึ้น ความตึงเครียดในสังคมจึงเบาบางลง แต่หลังจากนั้นราวช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 อุณภูมิก็ลดต่ำลงอีก และกลับเข้าสู่ภาวะทุกเข็ญอีกครั้ง
       
       แม้ว่าภูมิอากาศ ณ ปัจจุบันนี้จะมีแนวโน้มร้อนขึ้นมากกว่าเย็นลง แต่นักวิชาการก็คาดการณ์ได้ว่าภาวะโลกร้อนจะนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหารไม่น้อยไปกว่าภาวะหนาวเย็นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วง 500 ปีที่ผ่านมาแน่นอน
       
       "สังคมสมัยใหม่มีวิทยาการมากมายที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตต่างๆได้ แต่ก็ควรเตรียมการระมัดระวังไว้ด้วย เพราะกลไกเหล่านั้นอาจใช้ไม่ได้ผลเมื่อเราต้องตกอยู่ในสวาวการณ์ที่เต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม" เบรค กล่าว
       
       นอกจากนี้ เขายังระบุว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอาจทำให้มีผู้ลี้ภัยเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งที่เสี่ยงต่อน้ำทะเลท่วมพื้นที่อาศัยอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อไม่นานมานี้ นายบัน คี-มุน (Ban Ki-Moon) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสท์ (The Washington Post) เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ดาร์ฟูร์ ประเทศซูดานว่า ส่วนหนึ่งเพราะสภาพพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย และขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
ติดตามเรื่องนี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน

ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...

ความคิดเห็น

กำลังโหลด...
×