ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #65 : เมาท์ : การตอบสนองของร่างกายในแต่ละช่วงเวลา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.09K
      2
      18 ส.ค. 53

    การตอบสนองของร่างกายในแต่ละช่วงเวลา


          เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของเรา ลองมาดูกันดีมั้ยคะว่า ช่วงเวลาไหนร่างกายของเราเค้าจะมีปฎิกิริยาอย่างไรกันบ้าง เราจะได้ปฎิบัติตัวถูก


     

    เวลา 5.00 – 7.00 นาฬิกา: ได้เวลาตื่นนอน
          ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะตื่นนอน ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายจะค่อยๆขับเคลื่อนการทำงานขึ้นที่ละน้อย หลอดเลือดหดตัวแคบลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนหลายชนิดทั่วร่างกายจะหลั่งออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นมีฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายมีอารมณ์ทางเพศอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นใครที่ยังมัวแต่นอนขี้เกียจอยู่กับที่นอนในตอนนี้ ก็เท่ากับทำให้ระบบของร่างกายที่ปกติจะดำเนินไปตามเวลา ทำงานผิดพลาดตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวันใหม่และสูญเสียความตื่นตัวตลอดวัน


     

     
    เวลา 7.00 – 10.00 นาฬิกา: เวลาอาหาเช้า
          ระบบของอวัยวะทั่วทุกส่วนเริ่มตื่นเข้าสู่การทำงาน ร่างกายต้องการอาหารเช้าที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้กลายเป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว หากรับประทานยาแก้ปวดในช่วงหลังอาหารเช้า ยาก็จะออกฤทธิ์ระงับปวดได้ดี สำหรับคุณผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งที่มดลูก หากได้รับประทานยารักษาโรคดังกล่าวในช่วงเวลานี้ โอกาสที่จะช่วยยับยั้งโรคก็จะเพิ่มสูงขึ้น หลอดเลือดหดแคบลง ดังนั้นเวลาออกกำลังกายตอนเช้าๆอย่าหักโหมมากเกินไปนัก เพราะอาจทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ทัน จนถึงขั้นหัวใจวายได้ แต่สำหรับบางคนก็อาจไม่เกิดอาการเช่นนั้นก็เป็นได้ ต้องคอยสังเกตตัวเอง ส่วนคนที่สูบบุหรี่ หากลดสูบมวนแรกของวันนี้เสียได้จะดีมาก

    เวลา 10.00 – 12.00 นาฬิกา: พลังเต็มเปี่ยม
          ในช่วงเวลานี้ของแต่ละวัน ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายและจิตใจจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดเลยเชียวล่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลา 11 โมงเช้า จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดของระบบการทำงานของหัวใจและไหลเวียนโลหิต ความสามารถในการเรียนรู้ ทางด้านความคิดและการพูดจะมีความคล่องแคล่วว่องไวอย่างเหลือล้น เราจะรู้สึกมีสมาธิและมีความคิดสร้างสรรค์มากเป็นพิเศษ ส่วนใครที่มีงานสำคัญหรือการสอบที่ต้องทำในช่วงเวลานี้ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาดีค่ะ

    เวลา 12.00 – 14.00 นาฬิกา : เวลาพักกลางวัน
          หลังจากช่วงเวลาแห่งจุดสูงสุดได้ผ่านพ้นไป ก็ได้เวลาที่ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายจะค่อยๆลดลง ซึ่งพอดีกับเวลาที่เราต้องรับประทานอาหารกลางวันเพื่อเติมพลังงานให้กับตัวเองอีกครั้ง และในช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังย่อยอาหารให้กลายเป็นพลังงานอยู่นี้ หากได้งีบหลับสัก 15 นาที หรือออกไปเดินเล่นสักพักในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่งก็จะช่วยการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น หากใครไม่มีโอกาสได้พักหลังอาหารมื้อกลางวันด้วยกิจกรรมดังกล่าวเลย ช่วงบ่ายของเขาก็อาจจะเข้าถึงสมาธิได้ยากค่ะ


     


    เวลา 14.00 – 17.00 นาฬิกา:
    ช่วงอึดต่อความเจ็บ
      ในช่วงเวลานี้ประสิทธิกาพของร่างกายจะกลับฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปได้สักประมาณบ่ายสามโมง ผิวพรรณของเราจะมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นและมีเหงื่อออกง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นๆ หากมีนัดกับหมอเพื่อทำฟันในช่วงเวลานี้จะดี เพราะรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าช่วงเวลาอื่นๆค่ะ เนื่องจากเป็นเวลาที่ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินหลั่งออกมามากจึงช่วยกดความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้ได้ นอกจากนั้นช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับออกกำลงกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อ ทั้งยังเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการบำบัดทางกายภาพด้วย

    เวลา 17.00 – 20.00นาฬิกา:
    ช่วงเวลาสบายๆ 
          ความกระตือรือร้นของระบบทำงานในร่างกายจะค่อยๆถดถอยลง อีกทั้งอุณหภูมิความร้อนภายในกายจะลดลงด้วย ประมาณเวลา 17 นาฬิกา ประสาทรับรู้กลิ่นและรสชาติของอาหารจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปฎิกิริยาต่อความเครียดจะไม่ค่อยมี และสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป โรคปวดข้อหรือโรคภูมิแพ้ เวลา 19 นาฬิกา จะเป็นเวลาซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการรับประทานยาเพื่อบำบัดรักษาอาการของโรคดังกล่าว


     


    เวลา 20.00 – 22.00 นาฬิกา: เวลาแห่งความรู้สึก
          ในช่วงเวลานี้ปฏิกิริยาของร่างกายอาจมีความไวในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า อีกทั้งประสาทยังเปิดรับสัมผัสที่อ่อนโยน เสียงเพลงที่แว่วหวานและกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่มาปลุกเร้าอารมณ์ได้ดียิ่งกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ นอกจากนั้นการได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ก็จะช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ควรที่จะดื่มเกิน 1 แก้วนะคะ แค่พอหอมปากหอมคอเพื่อให้คืนนี้สามารถหลับได้อย่างมีความสุข

    เวลา 22.00 – 01.00 นาฬิกา: ได้เวลาเข้านอน
          ในช่วง 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม เที่ยงคืนจนถึงตีหนึ่งนับเป็นเวลาที่ไม่สมควรอย่างยิ่งในการเรียกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารให้หลั่งออกมาอีกด้วยการรับประทานอาหารใดๆ ทั้งนี้เพราะการทำงานของอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกำลังจะเข้าสู่ความสงบนิ่งหลังจากที่ได้ทำงานจนอ่อนล้ามาตลอดทั้งวันแล้ว ฉะนั้นช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะเข้านอน 
          อย่างไรก็ตาม ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะไม่เข้านอนตามไปด้วยแต่จะทำหน้าที่อย่างขยันขันแข็งต่อไป ด้วยเหตุนี้ เชิ้อโรค ของเสีย และสารพิษ จะถูกจัดการลำเลียงไปทำลายที่ตับ และทุกๆค่ำคืน เซลล์เนื่อเยื่อและเซลล์ผิวต่างๆ ก็จะถูกซ่อมแซมให้กลับฟื้นตัวแข็งแรงขึ้นหรืออาจมีการสร้างเสริมขึ้นมาใหม่ด้วยค่ะ

     


    เวลา 01.00 – 05.00 นาฬิกา: ช่วงนิทราสนิท
          หนึ่งชั่วโมงหลังเที่ยงคืนเป็นช่วงเวลาแห่งการหลับลึกที่แสนสุขของผู้ที่สามารถทำตารางแห่งสุขภาพที่สาธยายมานี้ได้สำเร็จ และในช่วงเวลานี้เองที่มนุษย์เราจะฝัน ซึ่งคืนหนึ่งๆ อาจฝันได้ถึงสองสามครั้ง แต่ไม่เสมอไปที่เราจะสามารถจดจำฝันได้ในทุกครั้งหรือทุกเรื่อง นอกจากนั้นการทำหน้าที่ของตับในการขจัดสารพิษ อย่างเช่นแอลกอฮอล์ ก็จะมาถึงจุดสูงสุด และสำหรับใครบางคนที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด ช่วงเวลานี้ก็จะมีอันตรายสูงสุดด้วยเช่นกัน เพราะ 80% ของผู้ป่วย อาการจะกำเริบช่วงนี้ ฉะนั้นจะต้องตระเตรียมสเปรย์หรือยาฉีดขยายหลอดลมเอาไว้ใกล้ๆ ตัว จะได้หยิบฉวยได้อย่างทันท่วงที

          พอรุ่งเช้า เส้นเลือดใต้ผิวหนงก็เริ่มจะหดตัวอีกครั้ง อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น... และแล้วกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆทั้วร่างกาย จะค่อยๆ ตื่นขึ้นมาทำงาน ต้อนรับเช้าวันใหม่ ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นาน...

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×