ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #45 : เมาท์ : Ward ฝ่ายบุ๋น ... อายุรศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.25K
      3
      17 ก.ค. 53

    อายุรศาสตร์


                โรคทั้งหลายทางการแพทย์ที่รักษาด้วยยานั้น ได้ถูกบรรจุไว้ในหลักวิชา ' อายุรศาสตร์ '   สำหรับวอร์ดนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการเป็นแพทย์ในอนาคตเลยทีเดียว เนื่องจากโรคโดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือกระทั่งโรคอัมพฤกต์ อัมพาตนั้น ‘ยา’ ก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาแทบทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่วิชานี้กลายมาเป็น ‘Major ward’ เป็นวิชาบังคับที่ต้องเรียนกันตั้งแต่ชั้นปีที่ 4 – 6   และด้วยความรู้ของวิชานี้ที่มีอยู่มากมายมหาศาล เรียนกันไม่มีวันจบ จึงมีการเปิดสอนในระดับหลังปริญญา หรือที่หลายๆ คนเรียกผู้ที่มาศึกษาต่อว่า ‘Resident’ ซึ่งเมื่อเรียนต่อจนจบ 3 ปีแล้วก็จะได้เป็น ‘อายุรแพทย์’ ที่มีความรู้อย่างลึกซึ้ง

                ยังไม่จบครับ ! เมื่อเรียนจบอายุรแพทย์แล้ว สำหรับผู้สนใจจะศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  ก็ยังมีให้ศึกษาต่ออีกมากมายหลายสาขา เช่น อายุรแพทย์โรคหัวใจ, โรคไต, โรคระบบทางเดินอาหาร, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคติดเชื้อ, ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม, โรคข้อฯ, โรคภูมิแพ้ฯ, เวชพันธุศาสตร์, โภชนาการคลินิก ฯลฯ รวมถึงมีการศึกษาต่อยอดในแขนงต่างๆ อีกด้วย

                คงเห็นแล้วนะครับ ว่าความรู้ทาง “อายุรศาสตร์” มีอยู่มากมายจริงๆ . . . ใช่ไหมครับ ^ ^”
    ผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่แผนกอายุรกรรมศาสตร์ ภายในโรงเรียนแพทย์นั้น ส่วนใหญ่แล้ว ล้วนเป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นๆ อันเนื่องมาจากความซับซ้อนของตัวโรค รวมถึงความพร้อมของบุคลากร และความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างการดูแลรักษา

                ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มานอนพักรักษาตัวจึงอาจเรียกได้ว่าอาการ “หนัก” แทบทั้งสิ้น
                เรื่องราวที่พี่จะถ่ายทอดต่อไปนี้ นำมาจากหนังสือ “เล่าแล้วอิ่ม อ่านแล้วอุ่น” ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยเอง


                ลองอ่าน แล้วพินิจพิจารณาดูนะครับ . . .



    ชีวิตเรียบง่าย หัวใจ(พอง)โต

                คุณป้าสายใจ อายุ 70 ปี มานอนรักษาที่วชิรพยาบาลในครั้งนี้ได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากอาการเหนื่อยและหายใจลำบากขณะนั่งพักชมโทรทัศน์ คุณป้าทราบว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจโต เมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว โดยเริ่มมีอาการเหนื่อยหอบขณะทำงานบ้านมาประมาณหนึ่งปีเศษ อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเวลานอนตอนกลางคืน จะมีอาการเหนื่อย บางครั้งจะมีลุกขึ้นมาหอบเหนื่อยด้วย

                คุณป้าเกิดในครอบครัวธรรมดา ฐานะทางบ้านพอมีพอกิน เวลาผ่านไป คุณป้าได้แต่งงานและมีลูกสามคน ลูกคนโตเสียชีวิตแล้ว สิ่งนี้ทำให้คุณป้าเสียใจมากที่สุด ปัจจุบันคุณป้าอยู่กับลูกสาวคนเล็ก ช่วยทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เลี้ยงดูหลานๆ ตามประสาผู้สูงอายุ ที่ผ่านมาคุณป้ามีสุขภาพกายแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วยหนัก เป็นคนมองโลกในแง่ดี อารมณ์แจ่มใส เข้าใจธรรมชาติของชีวิต สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

                เมื่อเจ็บป่วยในครั้งนี้ คุณป้าสายใจมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายดีมาก เราไม่พบว่าคุณป้ามีอาการโกรธเคืองหรือเศร้าหมองเลย การที่คุณป้ายืนหยัดต่อสู้กับโรคได้อย่างเข้มแข็งนั้น เนื่องจากคุณป้าเป็นคนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และจะตื่นนอนแต่เช้าเพื่อมาทำอาหารถวายพระทุกวัน สิ่งนี้เองที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้คุณป้าสายใจมองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต รู้จักการเวียนว่ายตายเกิด และการเสื่อมไปแห่งสังขาร ทำให้คุณป้ายอมรับกับโรคภัยที่เกิดขึ้นได้

                 “ป้าอยู่บ้านก็สบายดี ไม่เดือดร้อนอะไร มีข้าวกิน ลูกๆ ก็แบ่งเงินมาให้ใช้บ้างเล็กๆ น้อยๆ” เป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความเรียบง่าย ใช้ชีวิตมัธยัสถ์นำมาซึ่งความสุข ตรงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                คุณป้าเชื่อมั่นต่อการรักษาและมั่นใจว่าจะต้องหายขาดจากความทรมานได้อย่างแน่นอน แม้จะทราบว่ามีความเสี่ยงระหว่างการรักษา แต่คุณป้าก็เข้าใจ และทำใจยอมรับได้

                “ต้องหายสิ มีบ้านข้างๆ มาฉีดสีแล้วเขาก็หายดี ก็รู้ว่ามันเสี่ยงนะ แต่คนเราอายุปูนนี้แล้ว จะตายก็ช่างๆ มันเถอะ ทำๆ ไปซะมันจะได้หายทรมาน ป้าน่ะไม่ได้ห่วงตัวเองเท่าไหร่หรอก แต่กลัวจะเป็นภาระลูกหลานมากกว่า” เป็นคำกล่าวจากป้าสายใจ ผู้ที่รักและเป็นห่วงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

                คุณป้าสายใจเป็นแบบอย่างของบุคคลที่ดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมด้วยความที่เป็นผู้ยึดมั่นในศาสนา มีคุณธรรมประจำใจ เข้าใจสัจธรรมแห่งชีวิตจึงสามารถอยู่อย่างเรียบง่ายมีความสุขตามอัตภาพจนถึงบั้นปลายแห่ชีวิตได้ สิ่งนี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของจิตใจที่มีผลต่อสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี และสามารถพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่า

                แม้ “หัวใจ” ที่เป็นเนื้อหนังมังสาจะเป็นโรค “หัวใจโต”
                แต่ “หัวใจ” ที่เป็นจิตวิญญาณก็สามารถ “พองโต” ได้ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลที่ทำมา




                บทสรุปของเรื่องนี้ คงช่วยเปิดมิติใหม่ๆ ให้น้องๆ รู้จัก “จิตใจ” ผู้ป่วยมากขึ้น
                เพราะคำว่า “แพทย์” ไม่ได้สนใจแต่เพียงโรคทางกายที่มารุมเร้าผู้ป่วยแต่เพียงเท่านั้น
                เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้การรักษา “โรค” นั่นก็คือ 
    . . . 

                พี่หวังว่า
                น้อง ๆ คงมีคำตอบในใจกันแล้ว    . . . ใช่ไหมครับ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×