ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #28 : เมาท์ : ฟันฝ่า... กับ วิชาเฉพาะแพทย์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.63K
      6
      26 มิ.ย. 53

    ฟันฝ่า...กับวิชาเฉพาะแพทย์




    เมื่ออดีตกาลที่ผ่านมา

    ตอน ม.6

    Tam        :               แกได้วิชาเฉพาะแพทย์เท่าไหร่อ่ะ?

    Kok         :               21.9192 เองแก นี่ขนาดเราได้ Part เชื่อมโยง 100 คะแนนเต็มนะเนี่ย

    Tam        :               อะไรแก เราได้ 14.2142 เอง ดูสิ Part จริยธรรม ได้ 30 เอง  
                                    เราแย่ขนาดนั้นเลยเหรอ

    Kok         :               จะเรียนหมอ หน้าตาดีอย่างเดียวไม่ได้หรอกนะ จริยธรรมต้องดีด้วย

    Tam        :               เอิ่มๆๆ ช่างมันเหอะ! ยังเหลืออีกตั้ง 6 เดือน สู้กับวิชาสามัญอีก  7 วิชาแล้วกันนะ

                           

    กสพท. ประกาศผล

    Tam        :               Hello, hello, baby; You called, I can't hear a thing. I have got no service in the
                                    club, you say, say…

    Kok         :               หยุด! แล้วพูดภาษาคน

    Tam        :               ติด “แพทย์วชิร” อ่ะ

    Kok         :               ติดที่เดียวกันนิ เห็นชื่อแกในเว็บแล้วล่ะ เพื่อนร่วมคณะและเพื่อนร่วมวิชาชีพ

                    น้องๆ หลายคนที่จะเข้าหมอ คงทราบกันแล้วว่า วิชาเฉพาะแพทย์เนี่ย ถ่วงน้ำหนักถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งเยอะที่สุด เมื่อเทียบกับวิชาสามัญเพียง 1 วิชา วิชาเฉพาะนี้ น้องหลายคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้ว มันสามารถชี้ชะตาชีวิตของน้องได้เลยทีเดียว ว่าน้องจะได้เข้าหมอหรือไม่? หากน้องได้คะแนนน้อย ก็คงต้องสู้กันอย่าง “หืดขึ้นคอ” กับวิชาสามัญซึ่งเนื้อหารวมกัน
                                     มากกว่า 200 บทเรียน

     

    ข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ เขาวัดอะไรเรา?

    1.  ทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ของน้องๆ ได้แก่

    1.1  ความสามารถในการจับใจความ

                    พอน้องมาเรียนหมอเนี่ย หนังสือที่ต้องอ่าน เนื้อหามากมาย เนื้อหาหนึ่งเทอมเท่ากับเอาเนื้อหา ม. ปลาย 3 ปี มายำๆ รวมกัน หนังสือแต่ละเล่ม ฟาดแมลงสาบตายไปหลายตัวล่ะ(โหดร้าย!!) เวลาอ่านต้องจับใจความสำคัญให้ได้ เพราะข้อสอบก็จะถามแต่สิ่งที่สำคัญหรือเด่นๆ   เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้จริงนะครับน้อง

                    1.2  การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์

                                    หากคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ไม่เป็น อาจลำบากหน่อยตอนเรียนหมอ  เพราะน้องต้องสามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้จริงในวิชาชีพได้

                    1.3  การเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล

                                    อันนี้สำคัญมากเลยล่ะ วิทยาศาสตร์ คือความเป็นเหตุเป็นผล ตอนเรียนหมอ ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ว่า โรคนี้ เกิดจากอะไร ถ้าหาสาเหตุได้ ก็หาวิธีรักษาต่อ เราก็จะช่วยคนไข้ได้

                    1.4  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

                    วิจารณญาณ คือ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ดังนั้น หมออย่างเราต้องรู้จริง และให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ เพื่อทำให้การแก้ปัญหา(อาจหมายถึง การรักษาคนไข้) เป็นไปอย่างถูกวิธี

    2.  ประเมินแนวคิดทางจริยธรรม

                    แน่นอนว่า “หมอ” กับ “จริยธรรม” ก็เป็นของคู่กันนะครับน้อง ถ้าเราเป็นผู้ป่วย เราก็คงอยากจะหาหมอที่ดูแลเอาใจใส่เราอย่างดี ใช่มั้ยล่ะ? “หมอ” ต้องเสียสละ ต้องทำเพื่อส่วนรวม และมีความสุขกับงานเพื่อส่วนรวม ซึ่งจริยธรรมนี้ น้องจะถูกฝึก ถูกขัดเกลาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์เลยล่ะ ดูได้จากเวลาเรียน มีการติวเพื่อน เก็บชีทไว้ให้เพื่อน ช่วยกันเรียนหรือไม่ หรือกิจกรรมต่างๆ ของคณะ ก็ต้องช่วยเพื่อนทำงานคณะต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม

     

    ข้อแนะนำในการสอบวิชาเฉพาะแพทย์

    1.  ช่วงเตรียมสอบ 

    1.1  หาหนังสือเตรียมสอบวิชาเฉพาะแพทย์หลายสำนักพิมพ์ มาศึกษาแนวข้อสอบ ดังประโยคที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”  น้องควรทำโจทย์เยอะๆ ทำซ้ำๆ หลายๆ รอบ แล้วก็อย่าลืมอ่านเฉลยอย่างละเอียดด้วยล่ะ ศึกษาวิธีและแนวคิดที่ถูกต้องนะ

    1.2  แล้วแต่น้องว่า จะไปเรียนพิเศษหรือไม่? แต่จริงๆ การเรียนพิเศษสำหรับวิชานี้ ไม่ค่อยจำเป็นเสมอไป

    1.3  แบ่งเวลาให้กับวิชานี้ให้ดี จริงๆ วิชาเฉพาะนี้ แทบไม่ต้องเตรียมตัวเลย เพราะข้อสอบจะวัดในสิ่งที่อยู่ติดตัวน้องมาทั้งชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัว คือ ทักษะการเรียนรู้ และแนวคิดทางจริยธรรม น้องอาจเอาเวลามาดูข้อสอบวิชานี้บ้าง แต่อย่าเห็นว่า วิชานี้ถ่วงน้ำหนักมากจึงทุ่มเทมากจนเกินไป ลองเอาเวลา ไปอ่านวิชาอื่นที่ไม่ถนัดเพิ่มเติมน่าจะดีกว่า

    1.4  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะครับ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อให้สมองผ่อนคลายและพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ

    1.5  เอาเสื้อกันหนาวไปเผื่อนะครับ สำหรับห้องสอบที่เป็นห้องปรับอากาศ

    2.  ก่อนเข้าห้องสอบ

                    2.1  อย่าพยายามให้สิ่งแวดล้อม เช่น เพื่อน มากระทบจิตใจทำให้ตัวเองหดหู่ก่อนสอบ

                    2.2  ตั้งสติ ตั้งสมาธิให้มั่น อย่าเกร็ง อย่าเครียด อย่าลน

                    2.3  เตรียมเครื่องเขียนและเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานแสดงตนให้พร้อม

                    2.4  ควรสำรวจสถานที่และห้องสอบ ก่อนสอบ 1 วัน  วันสอบจะได้ไม่ต้องรีบร้อน

                                                                         2.5  ทานข้าวเช้าไปด้วยนะครับ เดี๋ยวคิดไม่ออก แถมอาจเป็นลมในห้องสอบอีกนะ

    3.  ขณะสอบ

                    3.1  อ่านคำสั่งดีๆ คำถามต่างๆ บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้ว อย่าตีความตามความเข้าใจของตนเอง ให้ตีความตามที่คำสั่งกำหนดเท่านั้น

                    3.2  อย่าล่อกแล่กนะ เดี๋ยวกรรมการคุมสอบหาว่า ทุจริต

                    3.3  ข้อไหนทำไม่ได้ ...ข้ามโลด (แล้วอย่าลืมย้อนกลับมาทำอีกรอบล่ะ)

                    3.4  ได้กระดาษคำตอบมา รีบเขียนชื่อ นามสกุล ให้เรียบร้อยนะ check ดูให้ครบทุกช่อง(แต่รู้สึกว่า กสพท. จะเขียนชื่อมาให้แล้วนะ ...งั้นก็ check ดูว่า ใช่ชื่อของเราถูกต้องหรือไม่?)

                    3.5 บริหารเวลาทำข้อสอบให้ดีนะครับ

    4.  หลังสอบ

                    4.1  ถ้ามีพี่มาขายสมุด ก็เข้าไปซื้อเลยนะ ช่วยๆ พี่เขาเอาเงินไปทำกิจกรรมคณะแพทย์ ส่วนค่านิยมที่ว่า ซื้อสมุดของสถาบันไหน จะสอบไม่ติดที่นั่น พี่จะบอกว่า ไม่จริงเลยครับน้อง! พี่เองคิดกลับกันว่า ถ้าเราได้ช่วยซื้อพี่เขา เราก็จะได้มีโอกาสกลับมาขายสมุดแบบพี่เขา(พูดง่ายๆ คือ สอบติดนั่นเอง)  สมุดสวยมากเลย...โดยเฉพาะของ “วชิระ” อิอิ

                    4.2  สมัยที่พี่สอบ พี่กับเพื่อนๆ จำข้อสอบกันออกมาคนละข้อ แล้วรวบรวมให้รุ่นน้อง เป็นวิทยาทาน

                    4.3  หลายคนอาจแนะนำว่า อย่าฟังเพื่อนเฉลย หรือเถียงเรื่องคำตอบกันหลังสอบ เพื่อไม่ให้สภาพจิตใจเราแย่ไปกว่านี้ แต่พี่คิดว่า การที่เราฟังเหตุผลในการเลือกคำตอบของเพื่อน ทำให้เราได้มุมมอง วิธีคิดใหม่ เราจะได้ประสบการณ์มากขึ้น และอาจช่วยเราให้เข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องของคำตอบนั้นด้วย

                    4.4  ตั้งใจสู้ กับวิชาสามัญ ต่อไปนะครับ เป็นกำลังใจให้นะ ว่าที่นักศึกษาแพทย์ตัวน้อยๆ  

     

    มาดูข้อสอบกัน

    ข้อสอบจริงๆ มี Part 1-4 แต่หลังจากปี 2551 จะเหลือเพียง Part 1-3

    Part 1 : ทักษะทางการตีความ มิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์

    1.  คณิตศาสตร์ เช่น เลขอนุกรม ระบบเลขฐาน ความน่าจะเป็น

    2.  มิติสัมพันธ์ เช่น การหมุนรูป การพับกล่อง การนับกล่อง

    3.  การตีความ ให้ตีความตามที่โจทย์กำหนดให้เท่านั้น เช่น



                Q :
    ชีวิตเป็นดังข้อสอบอัตนัย หมายความว่าอย่างไร?

                                    A.  ชีวิตไม่ได้มีหลายตัวเลือก

                                    B.  เราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ด้วยตัวของเราเองได้

    ข้อนี้ จะมีคนตอบเป็น 2 เสียง แต่จริงๆ แล้วโจทย์กำหนดว่า ข้อสอบ “อัตนัย” เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อสอบเขียนตอบ หากตีความตามโจทย์กำหนด จะรู้ว่าการเขียนตอบ เปรียบดังชีวิตที่เราสามารถขีดเขียนได้ด้วยตัวของเราเอง  จึงตอบ B

    ทำไมถึงไม่ตอบ A. เพราะว่า โจทย์ไม่ได้บอกว่า “ปรนัย” คนที่ตอบข้อ A. นั้น แสดงว่าตีความนอกเหนือจากโจทย์ที่กำหนด ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด แต่ไม่ใช่คำตอบที่ข้อสอบต้องการ (ตอบไม่ตรงคำถาม นั่นเอง)

    4.  หนังสือที่มีโจทย์ไว้ฝึกทำเยอะๆ คือ ความถนัดวิชาชีพครู SAT

     

    Part 2 :  การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม

    1.  น้องต้องวิเคราะห์ว่า โจทย์แต่ละข้อ เขาวัดจริยธรรมด้านไหนของเรา เช่น

    Q : มีนักการเมืองคนหนึ่งที่ทำรายการโทรทัศน์ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่นักการเมืองใช้เวลาราชการมาทำรายการโทรทัศน์ส่วนตัว

                                A.  สามารถทำได้ ไม่เป็นไร เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

                                B.  สามารถทำได้ เพราะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

                                C.  ไม่สามารถทำได้ เพราะ ควรใช้เวลาไปบริหารราชการบ้านเมืองมากกว่า

    ข้อนี้ ควรตอบข้อ C. เนื่องจาก นักการเมืองควรเสียสละ ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องและสุจริต การเบียดบังเวลาราชการไปทำภารกิจส่วนตัว ถือเป็นการทุจริตในเรื่องของเวลา

     

                    2.  ควรตอบคำถามโดยยึดประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือยึดหน้าที่ที่ควรทำของตนเป็นหลัก และไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนเกินไป บางอย่างสามารถยืดหยุ่นได้ แต่บางอย่างก็ต้องตัดสินใจเด็ดขาด สังเกตได้ว่า คนที่ตอบแนวพ่อพระแม่พระ มักได้คะแนนน้อย

     

    Part 3 :  การเชื่อมโยงเหตุผล

    1.  Part นี้ มีคนได้คะแนน 100 เต็ม และมีคนได้ 0

    2.  ส่วนใหญ่คนที่ได้ 0 เกิดจากการอ่านคำสั่งไม่ดี ทำให้เข้าใจผิด และฝนในกระดาษคำตอบผิด

    3.  ข้อสอบจะมีบทความมาให้ แล้วให้เขียน flow chart โดยมีสัญลักษณ์กำหนดให้ จากนั้นให้ตอบลง

    กระดาษคำตอบ

    ตัวอย่างการตอบ




    ข้อ

    คำตอบ

    ข้อ

    คำตอบ

    1

    02M

    03M

    04M

     

     

    11

    99H

     

     

     

     

     

    2

    01M

    05M

    06M

     

     

    12

    08M

     

     

     

     

     

    3

    01M

    07B

     

     

     

    13

    08M

     

     

     

     

     

    4

    01M

    08B

     

     

     

    14

     

     

     

     

     

     

    5

    02M

     

     

     

     

    15

     

     

     

     

     

     

    6

    02M

     

     

     

     

    16

     

     

     

     

     

     

    7

    09B

    10B

     

     

     

    17

     

     

     

     

     

     

    8

    11A

    12M

    13M

     

     

    18

     

     

     

     

     

     

    9

    99H

     

     

     

     

    19

     

     

     

     

     

     

    10

    99H

     

     

     

     

    20

     

     

     

     

     

     

     

                    4.  การตอบลงกระดาษคำตอบแต่ละปี อาจมีกติกาไม่เหมือนกัน บางปีไม่ต้องตอบย้อน สิ้นสุดข้อไหนก็จบที่ข้อนั้นไปเลย บางปีให้ตอบย้อนขึ้นไปด้วย เช่นข้อ 2, 3, และ 4 ต้องตอบ 01M ด้วย อ่านคำสั่งและดูตัวอย่างการตอบคำถามให้ดีล่ะ

    Part 4 : ทักษะด้านความจำ (ปัจจุบันไม่สอบ Part นี้แล้ว แต่ก็อาจนำมาวนสอบในปีของน้องก็ได้นะ)

    1.  เคยมีคนได้ 100 เต็มเหมือนกัน โดยใช้เทคนิค นับจำนวนข้อ เพราะแต่ละข้อจะมีคะแนนกำหนดไว้

    2.  บางข้อสามารถตอบได้หลายคำตอบ

    3.  มีบทความให้อ่านประมาณ 5-10 หน้า แล้วให้จำทุกอย่าง จากนั้นบทความจะถูกเก็บ เราจะได้พัก 30 นาที แต่ช่วงพักเนี่ยแหละ จะมีการประกาศอะไรต่างๆ เพื่อลบเลือนความจำของเรา(อย่าหลงกลเขาเด็ดขาด) แล้วผู้คุมสอบจะแจกกระดาษคำตอบให้ฝนคำตอบ

    4.  รายละเอียดบางอย่างที่น้องอาจมองข้าม เช่น ชื่อคน วันที่พิมพ์บทความ ก็เคยออกข้อสอบมาแล้ว

    5.  จริงๆ คนเราจะจำทุกรายละเอียดไม่ได้หรอก ต้องรู้จักจำในสิ่งที่เด่นๆ สำคัญๆ น้องต้องเก็งข้อสอบเอาเองนะ

     

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับคนที่ได้คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์

     

    คนที่ได้คะแนน < 20

    คนที่ได้คะแนน  20

    ก่อนสอบ

    อยากเรียนหมอ

    อยากเรียนอย่างอื่น

    เรียนพิเศษทุกสถาบัน

    ไม่เรียนพิเศษที่ไหนเลยทั้งวิชาเฉพาะและวิชาสามัญ

    อ่านหนังสืองกๆๆ เพื่อเตรียมสอบวิชาเฉพาะ

    ไปเที่ยวก่อนสอบ...เดี๋ยวเครียด

    เครียดโว้ย!!!

    อ้าว! ตกลงสอบวันไหนเหรอ?

    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

    ไหว้พระ 199 วัด

    ขณะสอบ

    ตอบอะไรดีอ่ะ...ข้อนี้ก็ใช่ ข้อนั้นก็น่าจะถูก

    หมุนปากกา...ตอบ ขอ..ไข่

    ลนคิดไม่ออก บอกไม่ถูก

    เช้ย...เฉย อย่าคิดมาก

    ทำไม่ทันๆๆๆๆ

    เหลืออีกตั้งชั่วโมง...คร่อกๆๆ

    เห็นข้อสอบแล้วเครียด...severe แล้วแก

    เห็นข้อสอบแล้วขำ..เพราะชั้นทำไม่ได้

    หลังสอบ

    ทำไมเราได้ความถนัดวิศวะเยอะกว่าพวกที่จะเข้าวิศวะอีก?

    คะแนนวิศวะเท่าเนี้ย...สงสัยช่วงนี้ดวงตก

    อีกตั้ง 6 เดือน ตั้งใจสู้! กับวิชาสามัญสุดๆ ไปเลย

    เดี๋ยวเรียนมหาลัย จะได้เที่ยวมั้ยน้อ?...รีบๆ เที่ยวกันเพื่อนๆ

     

    แล้วมาเป็นน้องร่วมวิชาชีพกับพี่นะ...

    พี่แตม แพทย์วชิระ รุ่น 16



    นศพ.ประธานปลาหมึกประจำคณะ


     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×