ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #20 : เมาท์ : ประวัติวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.15K
      2
      16 มิ.ย. 53

     

    วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและ วชิรพยาบาล


     

              เดิมที พระมหากษัตย์เมื่อทรงขึ้นครองราชจะมีการสร้างอารามขึ้นมาเพื่อให้เป็นสถานที่สถิตย์แห่งภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลสุตาธิคุณ เป็นผู้ค้ำจุนพระบวรพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่แห่งประสกนิกร  

              แต่เนื่องจากสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระนครมีอาราม อยู่มากครั้นจะสร้างเพิ่มอีก ก็จะเกินความจำเป็นในการถนุบำรุงพระศาสนา ซ้ำจะเป็นภาระเพิ่มขึ้น  พระองค์จึงได้ตกลงจะจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นสำหรับจังหวัดกรุงเทพฯ ดังกระแสพระราชดำรัส ตอนหนึ่งความว่า

    การที่เราได้จำหน่ายทุนทรัพย์ส่วนตัวออกทำโรงพยาบาลขึ้นครั้งนี้
    เพราะมารำพึงถึงบุพเพกปุญญตาและกุศลที่เราได้สั่งสมมา
    จึง ได้มาตั้งอยู่ในฐานะแห่งผู้มีทรัพย์เพียงพอ
    และทรัพย์ที่เรามีอยู่นี้เห็นว่าจะจับจ่ายใช้สอยในทางใด
    ก็จะไม่ได้รับผลความพอใจเท่าทางที่จะทำให้เพื่อนมนุษย์ผู้มีโรคภัยเบียดเบียน
    ได้รับความบำรุงรักษาพยาบาลเพื่อทุเลาทุกขเวทนา
    ถ้าได้กลับเป็นผู้มีกำลังมีร่างกายบริบูรณ์ขึ้นอีก
    เราเห็นว่าจะเป็นทางทานอันจะได้รับผลดี..

     

              พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์
    จัดซื้อที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง ในราคา ๒๔๐,๐๐๐ บาท  ทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล  ใช้เป็นสถานพยาลบาลช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วย  ทรงพระราชทานนามว่าวชิรพยาบาลและมอบที่นี้ไว้เป็นสาธารณสถาน เป็น สมบัติสิทธิ์เด็ดขาดแก่ประชาชนชาวไทย ให้ได้ใช้เพื่อเป็นที่พยาบาลผู้มีอาการป่วยไข้  ทรงเสด็จเปิดป้ายผ้าคลุมโรงพยาบาล เมื่อเวลา ๔ โมงเย็น  วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕

     

              เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖  ได้ทรงโปรดเกล้าฯตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาลรับผิดชอบขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการอำนวยการอีก ๗ คน มี สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์(พระยศในขณะนั้น) ซึ่งก็คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นองค์ประธานการวางระเบียบการโรงพยาบาลเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชดำริ


              ส่วนวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครเป็น ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดตั้งเพื่อสนองความต้องการใรการผลิตแพทย์อย่างเร่งด่วนและในช่วงแรกดูแลนศพ.ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิยทลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อ มาได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล




              ในปี พศ. 2541 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่  โดยได้รวม  "วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล"  เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า  "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและ วชิรพยาบาล"

              การจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 1 จะศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไปร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ศาลายา

             ในชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาคต้น จะศึกษาระดับ pre-clinic  ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะแพทยศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ในความรับผิดชอบของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท

              ในชั้นปีที่ 3 ภาคปลาย และ ระดับ clinic ปีที่4-6 อยู่ในความรับผิดชอบของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล   สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 จะมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลในสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครด้วย

     

     

              เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมหิดล และ ต้องเข้าสู่ระบบการจัดสรรของคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาวิชาแพทย์เพื่อไปปฏิบัติงานใน ส่วนราชการหรือองค์กรรัฐบาลต่อไป

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×