ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #101 : ประวัติคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล (Faculty of Medicine Vajira Hospital)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.75K
      2
      25 มิ.ย. 54

    ประวัติคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
    Faculty of Medicine Vajira Hospital

      


           เนื่องจากสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ภายในพระนครมีอารามอยู่มากครั้นจะสร้างเพิ่มอีกก็จะเกินความจำเป็น พระองค์มีพระราชดำริว่า บริเวณด้านเหนือของกรุงเทพมหานครไม่มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีมาตรฐานในการรักษาพยาบาล พระองค์จึงได้ตกลงจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นในกรุงเทพมหานครสำหรับพสกนิกรผู้เจ็บป่วยทุกคน ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดซื้อที่ดิน ณ ตำบลสามเสน เนื้อที่ 27 ไร่ ภายในมีตึกแบบฝรั่งขนาดใหญ่ 2 หลัง พร้อมปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ทรงมอบให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล พระราชทานนามว่า วชิรพยาบาล

          พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเปิดป้ายผ้าคลุมโรงพยาบาลเมื่อเวลา 4 โมงเย็น วันที่ 2 มกราคม พ.. 2455 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ ต่อมา ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะกรรมการปกครองวชิรพยาบาล รับผิดชอบขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นองค์ประธานการวางระเบียบการโรงพยาบาลเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชดำริ

           ในปี พ.. 2554 วชิรพยาบาลมีอายุการก่อตั้งครบ 99 ปี นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่ 4 ของประเทศไทย

     

     วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ช่วงแรกเปิดสอนและดูแลนักศึกษาแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.. 2528 ต่อมาในปี .. 2536 วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครได้เริ่มรับนักศึกษาเอง และเข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาในปี .. 2541 ได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล"

                    ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.. 2553 พรบ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ได้มีผลบังคับใช้
    วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล"
    นับเป็นคณะแพทยศาสตร์
    ของรัฐลำดับที่ 10 ของประเทศไทย

     


    การจัดการเรียนการสอน

    ชั้นปีที่ 1
                  จะศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปร่วมกับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายา
    ชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาคต้น
                  ศึกษาระดับ pre-clinic  ร่วมกับนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะแพทยศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ในความรับผิดชอบของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
    ชั้นปีที่ 3 ภาคปลาย และ ระดับ clinic ปีที่ 4-6 
                   อยู่ในความรับผิดชอบของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 จะมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์

     

    การรับเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

    1.       ระบบรับตรง (Direct Admissions) จำนวน 70 คน
    ผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ประมาณเดือนสิงหาคม

    2.       ระบบโควต้าพิเศษ จำนวน 10 คน ได้แก่
    นักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน
    นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
    นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการ/ลูกจ้างประจำสังกัดกรุงเทพมหานคร
    ติดตามข้อมูลการสมัครระบบโควต้าพิเศษ www.vajira.ac.th ประมาณเดือนสิงหาคม -กันยายน


          สุภาษิตประจำคณะฯ         สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ     (ชีวิตเป็น ที่รักของทุกคน) 
          เพลงประจำคณะฯ            
    สดุดีมหาวชิราวุธ
          สีประจำคณะฯ                 สีน้ำเงิน  (สีประจำล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6)
          พันธุ์ไม้ประจำคณะฯ          ราชพฤกษ์ (Golden Shower)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×