ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประสบการณ์ลดน้ำหนักด้วยตัวเอง เดือนละ 10 กิโลฯ

    ลำดับตอนที่ #118 : คุณอ้วนหรือไม่

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.46K
      3
      25 พ.ย. 48





                           เรามาว่ากันถึง project โรโบนินกันต่อดีกว่า เนื้อหาตรงนี้คัดมาจาก http://shapeadvisor.com/ ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปชมเว็บของเขากันเองก็แล้วกันนะครับ (หมายเหตุ ผมกับเขาไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกันนะครับ) ผมเห็นว่าเป็นอีกข้อมูลที่มีประโยชน์ ผมเลยนำมาลงให้ครับ





                           \"วิธีการที่ง่ายที่สุด คือ มองตัวเองในกระจก พิจารณาอย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างตนเอง หรือ ลองจับเนื้อบริเวณท้องแขนหรือเอว ถ้ามีความหนาของเนื้อมากกว่า 2.5 เซนติเมตร ให้สันนิษฐานว่าคุณอ้วนแล้ว BMI (Body Mass Index) ดัชนีชี้ค่าความอ้วนสามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้ :



    BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) 2





        

                          มารู้จักโรคอ้วนกันเถอะ

      

                         อ้วนเป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปแต่อ้วนโดยทั่วไปกับอ้วนทางการแพทย์ต่างกันหรือไม่…….?????

    โรคอ้วนคือการมีน้ำหนักส่วนเกินที่เกิดจากพฤติกรรมการกินและขาดการออกกำลังกายอย่างเพียงพอ ซึ่งความอ้วนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดังกล่าวมายังเกี่ยวข้องกับกรรมพันธ์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุลกันระหว่างพลังงานที่กินเข้าไปกับพลังงานที่ถูกใช้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกินหรือที่เรียกว่า อ้วน… ในทางการแพทย์ได้จัดตั้งมาตรฐานขึ้นมาใช้กันทั่วโลกในการวินิจฉัยโรคอ้วนนี้ ซึ่งเรียกว่า





    “Body Mass Index (BMI) “ โดยนำน้ำหนักของตัวเอง (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง(เมตร) ยกกำลังสอง



    BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) 2

    ผลลัพธ์ที่ได้ลองมาเทียบกับตารางข้างล่างนี้



    ผลลัพธ์



    น้อยกว่า 20.0 ผอม

    20.0-24.9 ปรกติ

    มากกว่าหรือเท่ากับ 25 อ้วน



      

      โรคอ้วนที่พบเห็นเป็นประจำมีอยู่ 3 ประเภท คือ



    1 โรคอ้วนทั้งตัว (intermediate type) คือ ไขมันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้อยู่ที่ใดที่เดียวโดยเฉพาะ แต่เกิดทั่วทั้งร่างกาย  

    2 โรคอ้วนลุงพุง(central หรือ truncal obesity) หรืออ้วนแบบบุรุษเพศ (android obesity) คือ ไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติ มีไขมันใต้ผิวหนังบริเวณเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดได้กับคนที่เป็นอ้วนทั้งตัวและสามารถเกิดกับคนผอมได้ด้วย

    จะรู้ได้อย่างไรว่าอ้วนลงพุงหรือเปล่า......??

    สูตรที่คำนวณง่ายๆ คือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบเอว(ส่วนที่แคบที่สุด)่ ต่อเส้นรอบสะโพก (ส่วนที่กว้างที่สุด) waist to hip ratio หรือ wHR



    WHR = เส้นรอบเอว/เส้นรอบสะโพก

    ดูตารางค่าที่ถือว่าเป็นภาวะนี้



    ในผู้หญิง มากกว่า 0.8

    ในผู้ชาย มากกว่า 1.0



    3 อ้วนสะโพก (lower body obesity) หรือ อ้วนแบบสตรีเพศ (gynoid obesity) ซึ่งจะมีไขมันสะสมมากที่บริเวณสะโพก มีค่า WHR น้อยกว่า 0.8 เมื่อเกิดโรคอ้วนขึ้นมักจะพาโรคติดมาเป็นของแถม เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ปวดข้อจากข้อเข่าเสื่อม มีการทำงานของปอดน้อยลง เพิ่มอัตราการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี หรืออาจมีโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากการที่คนอ้วนมีเหงื่อมาก ทำให้เกิดผดผื่นและบางส่วนของร่างกายที่มีเนื้อเกินปกติมักจะเสียดสีกันทำให้ผิวหนังอักเสบได้  



    วิธีการลดน้ำหนักด้วยตนเอง



    1 ควบคุมอาหาร โดยควรได้รับอาหารปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และไขมัน  

    2 การออกกำลังกาย ควรให้มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ พบว่า การเดินเร็วประมาณ 30-45 นาทีก่อนกินข้าวจะทำให้อัตราการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นมาก การออกกำลังกายควรทำอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที  

    3 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยมีหลักการของการรักษาคือ การเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคและเพิ่มการออกกำลังกาย เช่น รับประทานอาหารให้ช้าลง ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ควบคุมสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความอยากอาหารนอกเหนือจากมื้ออาหาร  

    4 การใช้ยาลดความอ้วน การใช้ยาลดความอ้วนต้องเข้าใจหลัก 3 ประการของการใช้ยา คือ



    -- ไม่ใช้ยาลดความอ้วนเพียงอย่างเดียวเพื่อลดน้ำหนัก เพราะสิ่งที่ถูกต้องคือการใช้ยาลดความอ้วนควบคู่กับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาลดความอ้วนไม่มีผลโดยตรงต่อการลดน้ำหนัก แต่มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน  

    -- การใช้ยาลดความอ้วนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผู้ป่วยต้องไม่ซื้อยาลดความอ้วนมารับประทานเอง เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ต้องเข้าใจด้วยว่า จุดประสงค์ของการใช้ยาลดความอ้วนเพื่อลดผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพ ไม่ใช่เพื่อความสวยงาม  

    -- การใช้ยาลดความอ้วนเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาระยะยาว โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง การรักษาโรคอ้วนจึงเป็นแบบระยะยาว และการใช้ยาลดความอ้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องใช้ร่วมกับการรักษาโดยวิธีต่างๆ  





    70 % ของโรคหรือความเจ็บป่วยเกิดจาก โภชนาการที่ไม่ถูกต้อง หรือ “ภาวะทุโภชนาการ” นั่นเอง คุณทราบหรือไม่ว่า ความอ้วนเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา ทั้งนี้รวมไปถึงความเสี่ยงซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจ , ความดันสูง, หลอดเลือดตีบ, โรคมะเร็งต่างๆ รวมถึงโรคเบาหวานที่กำลังมาแรงในขณะนี้ ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเลย ล้วนแล้วแต่เกิดจากการบริโภคอาหารนั่นเอง หรือที่เราเรียกว่า “You are what you eat” ดังนั้น การลดน้ำหนักสามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ได้\"



      





        

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×