ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มหายุทธ์สะท้านแผ่นดิน

    ลำดับตอนที่ #3 : สงครามปูนิค ศึกชี้ชะตาแห่งสองจักรวรรดิ(2)ตอนจบ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.5K
      2
      27 ส.ค. 52


    สงครามปูนิคครั้งที่
    2(ปีที่218 - 201 ก่อน ค.ศ.) : ในสงครามครั้งนี้ได้เกิดยอดขุนศึกฝ่ายคาเธจที่เกือบทำลายอาณาจักรโรมันลงได้ ขุนศึกผู้นั้นคือ ฮานนิบาล บาคาร์ แม่ทัพใหญ่ของคาเธจ  ทั้งนี้หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามปูนิคครั้งแรก  ฝ่ายคาเธจได้สร้างกำลังรบขึ้นใหม่ในดินแดนภาคใต้ของสเปนที่เมืองคาธาโกโนวา โดยแม่ทัพฮามิลคาร์ บาร์คา และฮัสดรูบาลบุตรเขย เพื่อรอเวลาล้างแค้นโรม แต่ในเวลาต่อมาทั้งคู่เสียชีวิตลงและฮานนิบาล(Hannibal)บุตรชายของฮาร์มิลคาร์ขึ้น เป็นแม่ทัพใหญ่แทนและสานต่อเจตนารมย์ของบิดา ฮานนิบาลพยายามรวบรวมหัวเมืองต่างๆในอิตาลีเพื่อเป็นฐานกำลังในการทำศึก ขณะเดียวกันนครซาเกนตั้มซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมในสเปน ได้พยายามขัดขวาง และชักชวนไม่ให้เมืองต่างๆเข้าร่วมกับคาเธจ ฮานนิบาลจึงนำทัพเข้าโจมตีนครซาเกนตั้มและตีได้ในปีที่219ก่อนค.ศ. เหตุการณ์นี้ทำให้ทางโรมโกรธมากและสั่งให้คาเธจส่งตัวฮานนิบาลไปยังโรม พร้อมกับถอนกำลังออกจากซาเกนตั้ม  คาเธจปฏิเสธและสงครามปูนิคครั้งที่สองก็เริ่มขึ้นในปีที่218ก่อนค.ศ. 

    (ทัพของฮันนิบาลกำลังข้ามเทือกเขาแอลป์)

    โดยฮานนิบาลได้นำกองทัพอันประกอบด้วยทหารม้า 12000 นาย ทหารราบ 70000 นายและช้างศึก 40 เชือกออกจากที่มั่นในคาธาโกโนวา และเนื่องจากฝ่ายโรมันเชื่อว่ากองทัพคาเธจคงจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ เหมือนกับสงครามครั้งก่อน  จึงได้เตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่งด้านใต้ของคาบสมุทรอิตาลี  ทว่าฮานนิบาลกลับทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝัน   โดยการเดินทัพข้ามเทือกเขาแอลป์โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าโจมตีภาคเหนือของอิตาลี  แม้ว่าผลของการเดินทัพนี้จะทำให้ฮานนิบาลต้องสูญเสียทหารราบและทหารม้าไปถึงครึ่งหนึ่ง แต่ก็ทำให้เขาสามารถเข้าถึงที่ราบอิตาลีได้โดยเร็วเกินกว่าที่ข้าศึกจะคาดหมาย   ทั้งนี้ นักประวัติาสตร์ได้ประมาณว่าในเวลานั้นอาณาจักรโรมันมีกำลังรบทั่วอาณาจักรทั้งหมดเกือบ 800000 นาย ทว่าแม้จะมีกำลังน้อยกว่าแต่ฮานนิบาลก็สามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ทุกครั้ง จนสามารถยึดครองอิตาลีภาคเหนือไว้ได้ หลังจากได้กองทัพหนุนจากชาวกอล ศัตรูเก่าของโรม ฮานนิบาลก็เคลื่อนสู่กรุงโรมและได้รับชัยชนะเหนือกองทัพโรมัน 200000 คน ในการรบใหญ่ที่คานาเอ เมื่อปีที่ 216 ก่อน ค.ศ. สังหารทหารโรมันกว่า70000นาย  กองทัพคาเธจยกมาถึงหน้ากรุงโรม แต่เนื่องจากฮานนิบาลเห็นว่าโรมแข็งแกร่งเกินกว่าจะเข้าตี เขาจึงทำเพียงเดินทัพเลียบกรุงโรมเพื่อเขย่าขวัญศัตรู ก่อนจะถอนกำลังออกไป  ในเวลานั้นสถานการณ์ของโรมเริ่มคับขัน บรรดานครพันธมิตรต่างๆของโรมพากันยอมจำนนกับคาเธจจนเกือบหมดสิ้น  

    อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะได้ชัยชนะในการรบทุกครั้งแต่ฮานนิบาลก็มีกำลังน้อยลง อีกทั้งขาดกำลังสนับสนุน แม้ว่าจะได้พระเจ้าฟิลิปที่
    5 แห่งมาซิโดเนีย  มาเป็นพันธมิตรแต่ก็ยังไม่อาจเอาชนะโรมได้อย่างเด็ดขาด  ขณะที่ฝ่ายโรมแม้จะแพ้ศึก แต่ก็ยังมีทหารอีกมาก โรมได้ใช้วิธีรบแบบถ่วงเวลาเพื่อทำให้ฝ่ายคาเธจค่อยๆอ่อนกำลังลง ในเวลาต่อมา ฮันนิบาลได้ขอกำลังหนุนจากสเปน ทว่ากองทัพหนุนที่นำโดยฮัสดรูบาลน้องชายของเขา ถูกกองทัพโรมันที่นำโดย ปับลิอุส คอเนลิอุส สคิปิโอ (Publius Cornelius Scipio)ซุ่มโจมตีตายหมดทัพ ในปีที่207 ก่อน ค.ศ. 

    และในปีถัดมา  สคิปิโอ ก็ได้ยกทัพขึ้นบกที่อาฟริกาเหนือเข้าโจมตีคาเธจ  ฮานนิบาลรีบกลับไปช่วย ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ทุ่งราบซามาในอาฟริกาเหนือ เมื่อปี 202 ก่อน ค.ศ.  ทว่าในครั้งนี้ฮานนิบาลเป็นฝ่ายแพ้ นครคาเธจยอมจำนน สำหรับฮานนิบาลผู้เป็นแม่ทัพนั้นในเวลาต่อมา ทางโรมได้มีคำสั่งให้คาเธจส่งตัวฮานนิบาลมาให้ แต่ทว่าฮานนิบาลได้หลบหนีไป ก่อนจะถูกล้อมจับและฆ่าตัวตายในภายหลัง ผลจากการพ่ายแพ้ ทางโรมได้บังคับให้คาเธจสละดินแดนทั้งหมดในสเปน อาฟริกาเหนือและเมดิเตอเรเนียน  ทั้งยังจำกัดจำนวนเรือรบคาเธจให้มีเพียง 10 ลำเท่านั้น พร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายจำนวนมหาศาล และต้องยินยอมให้โรมควบคุมนโยบายต่างประเทศทั้งหมด คาเธจรับเงื่อนไขทั้งหมดอย่างไม่มีทางเลือก สำหรับนครที่หันไปเข้าข้างฮานนิบาลระหว่างสงคราม ทางโรมได้ลงโทษอย่างรุนแรงและกดพลเมืองของนครเหล่านั้นลงเป็นทาสของโรม    แม่ทัพสคิปิโอได้รับฉายาว่า อาฟริกานุส (Africanus) หรือผู้พิชิตอาฟริกา  และเป็นอันสิ้นสุดสงครามปูนิคครั้งที่2 พร้อมกับอำนาจของนครคาเธจทั้งหมดในเมดิเตอร์เรเนียนก็หมดลงในปีที่201 ก่อน ค.ศ.

    สงครามปูนิคครั้งที่3 (ปีที่ 149 - 146 ก่อน ค.ศ.): หลังการพ่ายแพ้ในสงครามปูนิคครั้งที่2 ผ่านพ้นไปราว 50 ปี แม้ว่าคาเธจจะต้องมีสภาพเป็นเมืองขึ้นของโรม  แต่ด้วยความสามารถทางการค้า นครคาเธจก็สามารถสร้างสมอำนาจการค้าและความมั่งคั่งได้อีกครั้ง ทำให้โรมต้องจับตามองอย่างไม่ไว้วางใจแม้ว่าคาเธจจะมิได้สร้างสมอำนาจทางทหารก็ตาม ด้วยว่าความเคียดแค้นที่คาเธจเกือบจะทำลายโรมลงในสงครามปูนิวครั้งที่2ยังฝังอยู่ในใจของชาวโรมจำนวนมาก โดย มาคุส คาโตผู้นำคนสำคัญของโรมมองว่าตราบใดที่คาเธจยังอยู่ อันตรายของโรมก็ยังไม่สิ้นไป 

        ทุกครั้งที่เขากล่าวสุนทรพจน์ คาโตได้กล่าวปลุกใจประชาชนโรมเสมอ ด้วยคำว่า " Carthago delenda est!" ซึ่งหมายถึง "คาเธจต้องถูกทำลาย"  และเมื่อความหวาดระแวงของโรมเพิ่มมากขึ้น โรมจึงตัดสินใจทำลายอำนาจการค้าของคาเธจลง ดังนั้นในปีที่149ก่อนค.ศ. ทางโรมได้ยื่นคำขาดให้ชาวคาเธจอพยพออกจากดินแดนชายฝั่งของอาฟริกาเหนือและถอยร่นลึกไปในทวีป แน่นอนว่าชาวคาเธจซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำการค้าและมีเศรษฐกิจที่ขึ้นกับการค้าทางทะเล ไม่อาจรับเงื่อนไขนี้ได้ ทางสาธารณรัฐโรมจึงถือเป็นเหตุประกาศสงครามทันที 

    (ทัพโรมันที่ซามา)

    และในปีเดียวกันนั้นเอง  กองทัพโรมันก็เข้าโจมตีคาเธจ หลังจากการปิดล้อมนานถึงสามปี ทัพโรมันก็เข้าเมืองได้ กองทัพโรมันได้รับคำสั่งให้เผาทำลายเมืองให้สิ้นซากไฟได้โหมไหม้นานถึงสิบเจ็ดวัน พลเมืองจำนวนมากถูกสังหาร ส่วนพวกที่รอดชีวิตก็ถูกจับเป็นทาสจนหมดนอกจากนี้ทหารโรมันยังเอาเกลือไถและหว่านทั่วนคร เพื่อมิให้พืชใดขึ้นได้ และออกคำสั่งห้ามสร้างเมืองขึ้นอีกในพื้นที่นี้  ในครั้งนั้นเล่ากันว่า สกิปิโอ เอมิลินุส แม่ทัพโรมันถึงกับร้องไห้เมื่อเห็นไฟไหม้เมือง ด้วยคิดไปว่าถ้าเมืองใหญ่อย่างโรมหาก ต้องถึงคราว ล่มสลายลงเมื่อใด ก็คงจะมีสภาพไม่แตกต่างไปจากคาเธจในยามนี้ และสงครามครั้งนี้เองก็เป็นอันปิดฉากมหานครคาเธจและประวัติศาสตร์ของชาวฟินิเชี่ยนยอดนักเดินเรือลงโดยสิ้นเชิง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×