ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Sakura Hana House ภาษาญี่ปุ่น น่ารู้ ง่าย ๆ

    ลำดับตอนที่ #69 : ไวยากรณ์ บทที่ 3

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.82K
      1
      30 พ.ย. 51

    บทที่ 3
     
    (1) ここ/そこ/あそこ/どこ
                คำสรรพบ่งชี้สถานที่
                    ここ =      ที่นี่           (สถานที่ที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่)
                    そこ =    ที่นั่น        (สถานที่ที่ผู้พูดและผู้ฟังรู้สึกว่าไม่ไกลตัวเท่าไรนัก)
                    あそこ=      ที่โน่น      (สถานที่ที่อยู่ห่างจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง)
                    どこ =      ที่ไหน      (คำอุปฉาสรรพนาม)
     
    (2) ここは どこですか = ที่นี่คือที่ไหน
                    ใช้ถามตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่
                    ここは どこですか。                      ที่นี่คือที่ไหน
                    ここは とうきょうです。                  ที่นี่คือโตเกียว
                    ここは おおさかです。                  ที่นี่คือโอซ้าก้า
                    ここは きょうとです。                    ที่นี่คือเกียวโต
     
    (3) ここは なんですか = ที่นี่คืออะไร
                    ใช้ถามประเภทใช้สอยของสถานที่
                    ここは なんですか。                     ที่นี่คืออะไร
                    ここは びょういんです。                ที่นี่คือโรงพบาบาล
                    ここは こうじょうです。                  ที่นี่คือโรงงาน
                    ここは がっこうです。                   ที่นีทคือโรงเรียน
     
    (4) どこ = ที่ไหน
                    เป็นคำอุปจฉาสรรพนามของสถานที่
                    えきは どこですか。                           สถานีอยู่ที่ไหน
                    えきは あそこです。                           สถานีอยู่ที่โน่น
                    ゆうびんきょくは どこですか。              ที่ทำการไปรษณีย์อยู่ที่ไหน
                    ゆうびんきょくは えきの そばです。    ที่ทำการไปรษณีย์อยู่ไกล้ ๆ สถานี
     
    (5) (สถานที่) (สิ่งของ) が あります
                ที่....ที่มี (สิ่งของ)
                    รูปประโยคนี่ใช้เมื่อต้องการจะบอกว่ามีอะไรบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นสิ่งไม่มีชีวิตอยู่ใสถานที่ที่กล่าวถึง แสดงสภาพที่เป็นอยู่
                                  เป็นคำช่วยวางไว้หลังคำนานบอกสถานที่เพื่อชี้สถานที่ว่ามีสิ่งของอยู่
                                  เป็นคำช่วยวางไว้หลังคำนานเพื่อชี้ว่าคำนามนั้นเป็นประธาน
                    あります      เป็นกริยา แปลว่า มี อยู่ ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิต และต้นไม้
                    รูปปฏิเสธ ありません
                ここに でんわが あります。                      ที่นี่มีโทรศัพท์
                    あそこに ほんが あります。                 ที่โน่นมีหนังสือ
                    つくえの うえに かばんが あります。   บนโต๊ะมีกระเป๋า
     
    (6) (สิ่งของ) (สถานที่) に あります
                (สิ่งของ).....อยู่ที่......
                    ใช้เมื่อจะต้องการแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งของ
                            ชี้เนื้อหาที่เป็นที่เข้าใจกันแล้วทั้งผู้พูดและผู้ฟัง กล่าวคือเป็นข้อมูลเก่าที่กล่าวถึง มาแล้ว
                    れいぞうこは ここに あります。             ตู้เย็นอยู่ที่นี่
                    あなたの ほんは そこに あります。    หนังสือของคุณอยู่ที่นั่น
     
    (7) (สถานที่) (สิ่งของ) が ありますか
                ที่...มี (สิ่งของ) หรือ
    つくえの うえに ほんが ありますか。                      บนโต๊ะมีหนังสือรหือ
    はい、つくえの うえに ほんが あります。               ใช่ บนโต๊ะมีหนังสือ
    いいえ、 つくえの うえには ほんが ありません。 เปล่า บนโต๊ะไม่มีหนังสือ
                    ~には เน้นการเปรียบเทียบสิ่งที่พูดด้วยความรู้สึกที่ต้องการจะแยกแกมาจากสิ่งอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงประโยค กล่าวคือเฉพาะที่นี่เท่านั้นไม่มี แต่ที่อื่นอาจจะมี
                    ほんは ก็เช่นเดียวกันคือทำให้เกิดเปรียบเทียบว่าเฉพาะหนังสือเท่านั้นที่ไม่มี แต่สิ่งอื่อาจจะมีก็ได่
    れいぞうこの なkに ごはんも ありますか。                  ในตู้เย็นก็มีข้างด้วยหรือ
    いいえ、ごはんは ありません。                                        เปล่า ไม่มีข้าง
                    แปลว่า ก็ ด้วย เมื่อตอบปฏิเสธ ต้องเปลี่ยน เป็น
                ในกรณีที่ตอบปฏิเสธว่าไม่มีอะไรเลย ใช้ประโยคดังต่อไปนี่
    そこに なにが ありますか。                                              ที่นั่นมีอะไร
    なにも ありません。                                                           ไม่มีอะไรเลย
     
    (8) การรวมประโยค (สถานที่) (สิ่งของ) が あります
                ประโยคที่แสดงการมีอยู่ของสิ่งของ 3 ประโยครวมให้เป็นประญคเดียวโดยใช้คำช่วย ซึ่งแปลว่า กับ และ
    つくえの うえに はざみが あります。                                   มีกรรไกรอยู่บนโต๊ะ
    つくえの うえに ナイワが あります。                                   มีมีดอยู่บรโต๊ะ
    つくえの うえに はざみと ナイワが あります。มีกรรไกรและมีดบนโต๊ะ
                    กรณีมีคำบอกจำนวนให้ไส่ หลังคำบอกจำนวน
    つくえの うえに はさみが ひとつと                            บนโต๊ะมีกรรไกร 1 อัน
                    ナイワが ふたつ あります。                       และมีด 2 อัน
     
    (9) と = กับ และ
                    เป็นคำช่วยใช้เฃื่อมคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและยกมากล่าวถึงทั้งหมด
    つくえの 上に えんぴっと                          มีดินสอและกระดาษอยู่บนโต๊ะ
    かみが あります。
    かばんお 中に ノートと                             มีสมดและยางลบอยู่ในกระเป๋า
    けしゴムが あります。
     
    (10) ~や~(など)= และ.....(เป็นต้น)
                    เป็นคำช่วยใช้เชื่อมคำนามที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและยกมากล่าวถึงเพียงบางอย่างเท่านั้น อาจใส่ などซึ่งแปลว่า เป็นต้น เข้าไปด้วยก็ได้ กรณีไม่ใส่ など จะมีความหมายว่า และอื่นๆ
    かばんの 中に まんねんひつが あります。  มีปากกาหมึกซึมอยู่ในกระเป๋า
    かばんの 中に ノートが あります。             มีสมุดอยู่ในกระเป๋า
    かばんの 中に けしゴムが あります。         มียางลบอยู่ในกระเป๋า
    かばんの 中に まんねんひつや ノート          มีปากกาหมึกซึมและสมุดเป็นต้น
    などが あります。                                          อยู่ในกระเป๋า
    ここに ぼんや ノートが あります。               ที่นี่มีหนังสือสมุดและอื่น ๆ
     
    (11) วลีบอกสถานที่
                    上(うえ) =     บน
                    下(した)   =     ล่าง
                    中(なか)  =     ข้างใน
                    むこう   =     ฝั่นโน้น
                    คำเหล่านี้เป็นคำนาม ดังนั้นเมื่อใช้ขยายคำนามต้องใช้  เชื่อม
                    つくえの 上     = บนโต๊ะ
                    かばんの 中  = ในกระเป๋า
                    やまの 下   = เชิงเขา
                    かわの むこう = ฝั่งโน้นของแม้น้ำ
     
    (12) なにか/なにも
                    なにか ありますか。(มี) อะไรไหม ใช้ในประโยคคำถาม
                    なにも ありません。(ไม่มี) อะไรเลย ใช้ตอบปฏิเสธประโยคคำถาม
                    ประโยคคำถามที่มี なにかเวลาตอบต้องขึ้นด้วย はいเมื่อตอบรับ และ いいえ เมื่อตอบปฏิเสธ และเมื่อตอบปฏิเสธให้เปลี่ยน なにかเป็น なにも
    なにか ありますか。                                             มีอะไรบ้างไหม
    はい、あります。                                                   มีครับ
    いいえ、なにも ありません。                                 เปล่า ไม่มีอะไรเบย
    あそこに なにか ありますか。                          ที่ฌน่มีอะไรบ้างไหม
    はい、あります。                                                   มี
    いいえ、あそこには なにも ありません。             เปล่า ที่โน่นไม่มีอะไรเลย
     
    (13) なにが=(มี)อะไร / なにも=(ไม่มี)อะไรเลย)
                    1) なにが ありますか。                       มีอะไร
                    ほんが あります。                              มีหนังสือ
                    なにも ありません。                           ไม่มีอะไรเลย
                    ประโยค 1) ถามว่า มีอะไร คำตอบจึงเป็นสิ่งขิง หรือถ้าไม่มีอะไรก็ตอบว่า ไม่มีอะไรเลย
                    2) なにか ありますか。                       มีอะๆไรบ้างไหม
                    はい、あります。                                 มีครับ
                    いいえ、なにも ありません。              เปล่า ไม่มีอะไรเลย
                    ประโยค 2) ถามง่า มีอะไรไหม คำตอบขึ้นต้นด้วย はい เมื่อตอบรับ หรือ いいえเมื่อตอบรับปฏิเสธก่อนเสมอ และในกรณีที่ตอบปกฺเสธต้องเปลี่ยน なにかเป็น なにも
     
    (14) การตั้งคำถาม และตอบคำถาม
                    ในแบบฝึกหัดจะให้คำตอบทั้งรูปบอกเล่าและปฏิเสธ แล้วให้เราตั้งคำถาม
    いいえ、つくえの うえには ほんは ありません。เปล่า บนโต๊ะไม่มีหนังสือ
    つくえの うえに ほんが ありますか。                บนโต๊ะมีหนังสือหรือ
                    คำตอยรูปปฏิเสธจะใส่คำช่วย ~は ไปที่สถานที่เป็น ~には และเปลี่ยนคำช่วย ~が เป็น ~は เพื่อเน้นการปฏิเสธ
     
    (15) ~に ある / ~です
                ~ですเป็นคำช่วยกริยาที่ทำให้เป็นรูปสุภาพจบประโยคสามารถใช้แทนคำกริยาได้ กรณีคำกริยานั้นเป็นที่เข้าใจกันแล้ว
    かばんは どこに ありますか。                 กระเป๋าอยู่ที่ไหนครับ
    あの たなの なかです。                อยู่ในหิ้งโน้น
     
    (16) /
                ชี้ประธานของประโยคที่กล่างถึงครั้งแรก หรือเมื่อผู้พูดคิดว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้ฟังย้งไม่ทราบมาก่อน และปรธานที่เป็นคำอุปจฉาสรรพนาม เช่น どなた、どこ、なに เป็นต้น
    ここに ほんが あります。                          ที่นี่มีหนังสือ
    なにが ありますか。                                   มีอะไร
                    ชี้ประธานที่กล่าวถึงมาแล้ว หรือเมื่อผู้พูดคิดว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องเด่าที่ทราบกันดีแล้วทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
    れいぞうこは だいどころに あります。             ตู้เย็นอยู่ในครัว
    わたしの かばんは あそこに あります。       การะเป๋าของฉันอยู่ที่โน่น
     
    (17) การละประธาน
                    ปกติในบทสนทนาจะละหัวเรื่องของประโยคเมื่อเข้าใจกันอย่างชัดเจนแล้วว่าหัวเรื่องคืออะไร
    れいぞうこは どこに ありますか。                    ตู้เย็นอยู่ที่ไหน
    だおどころに あります。                                    อยู่ในครัว
    ここに ほんが ありますか。                            ที่นี่มีหนังสือไหม
    はい、あります。                                                มีครับ
     
    คำศัพท์บทที่ 3

    1.でんわ
    โทรศัพท์
    25.はさみ
    กรรมไกร
    2.テレビ
    โทรทัศน์
    26.ナイワ
    มึด
    3.ベッド
    เตียง
    27.ノート
    สมุด
    4.だいどころ
    ห้องครัว
    28.まんねんひつ
    ปากกาหมึกซึม
    5.れいぞうこ
    ตู้เย็น
    29.けしゴム
    ยางลบ
    6.中(なか)
    ใน
    30.かみ
    กระดาษ
    7.やさい
    ผัก
    31.とうきょう
    (ชื่อเมือง)
    8.くだもの
    ผลไม้
    32.おおざか
    (ชื่อเมือง)
    9.ぎゅうにゅう
    นมวัว
    33.きょうと
    (ชื่อเมือง)
    10.たまご
    ไข่ ไช่ไก่
    34.ここ
    ที่นี่
    11.ごはん
    ข้าวสุก
    35.そこ
    ที่นั่น
    12.そば
    ใหล้ ๆ
    36.あそこ
    ที่โน่น
    13.とだな
    ตู้
    37.どこ
    ที่ไหน
    14.上(うえ)
    บน
    38.なに
    อะไร
    15.びょういん
    โรงพบาบาล
    39.あります
    มี อยู่
    16.こうじょう
    โรงงาน
    40.なにか
    (มี) อะไรไหม
    17.がっこう
    โรงเรียน
    41.なにも
    (ไม่มี) อะไรเลย
    18.きょうしつ
    ห้องเรียน
    42.~に
    (คำช่วย)
    19.えき
    สถานี
    43.~が
    (คำช่วย)
    20.ゆうびんきょく
    ที่ทำการไปรษณีย์
    44.~と
    กับ และ
    21.やま(やま)
    ภูเขา
    45.~や
    และอื่น ๆ
    22.下(した)
    ใต้
    46.~など
    เป็นต้น
    23.川(かわ)
    แม่น้ำ
    47. ~です
    (กรินารูปสุภาพ)
    24.むこう
    ฝั่งโน้น
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×