ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Sakura Hana House ภาษาญี่ปุ่น น่ารู้ ง่าย ๆ

    ลำดับตอนที่ #46 : nihongo yoroshiku 1

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.54K
      4
      4 พ.ย. 51

    บทสนทนา 1
     
    ラリター : はじめまして。 わたしはラリターです。どうぞ ろよしく。
    やまだ  : やまだです。 こちらこそ どうぞ よろしく。 ラリターさんは マレ-シア人ですか。
    ラリター : いいえ、わたしはマレーシア人ではありません。 タイです。
    やまだ  : ぞうですか。 ラリターさんは がくせいですか。
    ラリター : はい、そうです。
     
    ________________________________________________
     
    アリヤー : こんにちは。 アリヤーです。 どうぞ よろしくおねがいします。
    たなか  : たなかです。 どうぞ よろしく。 アリヤーさんは タイ人ですか、ちゅうごく人ですか。
    アリヤー : タイ人です。
    たなか  : そうですか。 「アリヤー」は みょうじですか。
    アリヤー : いいえ、みょうじではありません。 なまえです。 「たなか」は なまえですか、みょうじですか。
    たなか  : 「たなか」は みょうじです。
     
    คำศัพท์ใหม่
    わたし
    ฉัน ผม ดิฉัน
    かいしゃいん
    พนักงานบริษัท
    わたしたち
    พวกเรา
    タイ
    ไทย
    ぼく
    ผม (ใช้กับคนคุ้นเคย)
    アメリカ
    สหรัฐอเมริกา
    あなた
    เธอ คุณ
    ちゅうごく
    จีน
    みなさん
    ท่านทั้งหลาย พวกคุณ ทุกท่าน
    にほん
    ญี่ปุ่น
    かれ
    เขา (ผู้ชาย) แฟน
    シンガボール
    สิงคโปร์
    かのじょ
    เขา (ผู้หญิง) แฟน
    マレーシア
    มาเลเชีย
    なまえ
    ซื่อ
    ラオス
    ลาว
    みょうじ
    นามสกุล
    イギリス
    อังกฤษ
    がくせい
    นักเรียน
    ~人(じん)
    ชาว ~
    せんせい
    ครู อาจารย์
    二ックネーム
    ซื่อเล่น
     
    คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
    にほん
    ญี่ปุ่น
    かんこく
    เกาหลี่ใต้
    ちゅうごく
    จีน
    タイ
    ไทย
    べトナム
    เวียดนาม
    ラオス
    ลาว
    カンボジア
    กัมพูชา
    ミャンマー
    เมียนมาร์ (พม่า)
    マレーシア
    มาเลเชีย
    インドネシア
    อินโดนีเซีย
    インド
    อินเดีย
    フランス
    ฝรั่งเศส
    イキリス
    อังกฤษ
    アメリカ
    อเมริกา
    ドイツ
    เยอรมัน
    シンガボール
    สิงคโปร์
     
    คำอธิบายไวยากรณ์
    1. ~さん
                   คำว่า ~さん ใช้วางต่อท้ายซื่อบุคคล มีความหมายเท่ากับ คุณ...... ที่ใช้นำหน้าซื่อในภาษาไทย เช่น คุณทานากะ = たなかさん คุณยุพิน  =  ユピンさん
                        * จะไม่ใช้ ~さん กับซื่อของตนเองและบุคคลในครอบครัว
     
                        ปกติคนญี่ปุ่นจะเขียนหรือกล่าวแนะนำซื่อ-สกุลของตนเอง โดยเขียนหรือกล่าวนามสกุลก่อน แล้วจึงตามด้วยซื่อ เช่น たなか ひろし ในการเรียกซื่อผู้อื่นก็เช่นกัน คนญี่ปุ่นจะเรียกนามสกุลแล้วต่อด้วยคำว่า ~さん ส่วนซื่อต้นนั้น ใช้เรียกกันเฉพาะในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อนสนิทเท่านั้น ซื่อที่คนไทยคุ้นเคย เช่น やまだ すずき たなか ล้วนเป็นนามสกุลทั้งสิ้น
     
                        นอกจาก ~さん แล้วภาษาญีปุ่นยังมีคำชนิดเดียวกับ さん อีกหลายคำ เช่น
                        「~ちゃん」โดยส่วนใหญ่ใช้ต่อท้ายซื่เด็กผู้หญิง เป็นวิธีเรียกที่แสดงความเอ็นดู
                        「~くん」โดยส่วนใหญ่ใช้ต่อท้ายซื่อเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่มีอาวุโสน้อยกว่า
     
    2. 人(じん)
                        เป็นคำที่ไม่ใช้โดด ๆ ใช้เติมหลังซื่อประเทศ หมายถึง ชาว..... ประเทศนั้น ๆ เช่น
                                    タイ人   = คนไทย
                                    にほん人  = คนญี่ปุ่น
                                    アメリカ人 = คนอเมิรกัน
     
    3. บุรุษสรรพนาม
                        ภาษาญี่ปุ่นมีบุรุษสรรพนามมากมายเช่นเดียวกับในภาษาไทย ดังตัวอย่างบางส่วนที่ยกมานี้

    บุรุษที่ 1
    わたし   ฉัน ดิฉัน ผม
    わたしたち พงกเรา  
    ぼく    ผม (ใช้กับคนคุ้นเคย)
    บุรุษที่ 2
    あなた  เธอ คุณ
    みなさん ท่านทั้งหลาย พวกคุณ ทุกท่าน
    บุรุษที่ 3
    かれ   เขา (ผู้ชาย)
    かのじょ เขา (ผู้หญิง)

    ข้อควรระวัง         นอกจากสรรพนามบางตัวจะใช้ได้กับบุคคลเป็นบางกลุ่มดังที่ได้เขียนกำกับไว้ในตารางแล้ว โดยทั่วไป คนญี่ปุ่นจะนิยมใช้วิธีเรียกซื่อ หรือตำแหน่งมากกว่าจะใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ 3 อย่างในภาษาอังกฤษ เพราะจะเป็นการให้เกียรติแก่คู่สนทนาหรือบุคคลที่กล่าวถึงมากกว่าคำว่า 「あなた」หรือ 「かれ」และ 「かのじょ」
     
    4. รูปประโยค
                        โครงสร้างประโยคภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะดังนี้
                        1.) คำกริยาหรือภาคแสดงจะอยู่ท้ายประโยค
                                    ฉันกินข้าว (ภาษาไทย) ฉันข้าวกิน (ภาษาญี่ปุ่น)
                        2.) คำนามที่ปรากฏในประโยคจะมีคำที่เรียกว่า คำช่วย กำกับต่อท้าย เพื่อชี้ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามนั้นกับคำกริยาหรือภาคแสดงว่า เป็นประธาน กรรมตรง หรือ กรรมรอง เป็นต้น เช่นสมมุติว่าคำช่วย a ชี้ประธาน คำช่วย b ประโยค ฉันกินข้าว ในภาษาญี่ปุ่นจะเป็น ฉันa ข้าวb กินเมื่อจบประโยคจะใส่เครื่องหมาย 。 ซึ่งเรียกว่า まる กำกับไว้เสมอ
     
    สำหรับรูปประโยคในบทนี้ได้แก่
                        4.1 นาม นาม です。
                   です เป็นคำที่มีลักษณะพิเศษคล้ายกับ Verb to be ในภาษาอังกฤษ
                          เป็นคำช่วยตัวหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นใช้ชี้หัวข้อเรื่องในประโยค นากจากนี้ยังใช้ชี้ประธานได้ด้วย ในบทนี้จะพูดถึงหน้าที่ของ ที่เป็นคำช่วยชี้ประธาน
    อักษร เมื่อนำมาใช้เป็นคำช่วยจะอ่านว่า wa
                   わたしは ウタイです。 ผม (คือ) อุทัยครับ
                        スダーさんは タイ人です。 คุณสุดาเป็นคนไทยค่ะ
                        わたしたちは がくせいでし。 พวกเราเป็นนักเรียนครับ
     
                        4.2 นาม นาม ではありません。
                   คำว่า ではありませんเป็นรูปปฏิเสธของ です อักษร ในสำนวน ではありません อ่านว่า wa เช่นกัน
                        わたしは にほん人ではありません。 ผมไม่ใช่คนญี่ปุ่นครับ
                        スダーさんは がくせいではありません。 คุณสุดาไม่ใช่นักเรียนค่ะ
     
                        4.3 ประโยค か。
                   เป็นคำช่วยที่เติมไว้ท้ายประโยค เพื่อทำให้ประโยคนั้นเป็นประโยคคำถาม
                        スミスさんは アメリカ人ですか。 คุณสมิธเป็นคนอเมริกันรึเปล่าค่ะ
                        やまださんは がくせいですか。 คุณยามาดะเป็นนักเรียนรึเปล่าครับ
     
                        4.4 はい、……
                     いいえ、…..
               はい จะตรงกับคำว่า yes และ いいえ ก็คือคำว่า no ในภาษาอังกฤษ ในการตอบคำถามประเภท รับหรือ ปฏิเสธ (สังเกตการใส่เครื่องหมาย หลัง はい และ いいえ)
                        กรณีที่ตอบรับ เมื่อตอบว่า はい แล้วอาจตอบทวนประโยคคำถามอีกครั้ง เช่น
                        やまだ : スミスさんは アメリカ人ですか。
                   スミス : はい、わたしは アメリカ人です。
    หรือ อาจจะตอบว่า はい、そうです。=ถูกต้องตามนั้น เป็นอย่างนั้น ใช่แล้ว เช่น
                        やまだ : スミスさんは アリカ人ですか。
                   スミス : はい、そうです。
                        กรณีตอบปฏิเสธ เมื่อตอบปฏิเสธว่า いいえ แล้ว ก็อาจตอบปฏิเสธทั้งประโยคอีกครั้ง เช่น
                        やまだ : スミスさんは イギリス人ですか。
                   スミス : いいえ、わたしは イギリス人ではありません。
    และอาจให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อว่า わたしは アイリカ人です。ด้วยก็ได้
    หรือหากตอบว่า いいえ、ちがいます。 เป็นการกล่าวปฏิเสธข้อความที่อีกฝ่ายหนึ่งถาม เช่น
                        やまだ : スミスさんは イギリス人ですか。
                   スミス : いいえ、ちがいます。(わたしは アメリカ人です。)
     
                   4.5 ・・・ か、・・・か。
                    ใช้เมื่อต้องการถามแบบให้เลือก เช่น คุณเป็นคนอังกฤษหรือคนอเมริกัน โดยเติม หลังภาคแสดงแต่ละส่วน เช่น
                        スミスさんは イギリか人ですか、アメリカ人ですか。
                   เวลาตอบ ให้เลือกส่วนที่เป็นคำตอบ โดยไม่ต้องมี はい หรือ いいえ นำหน้า เช่น
                        やまだ : スミスさんは イギリか人ですか、アメリカ人ですか。
                        スミス : わたしは アメリカ人です。
     
    5. การละประธาน
                        ประโยคภาษาญี่ปุ่นสามารถละประธานได้ ถ้าเป็นที่เข้าใจกันระหว่างคู่สนทนาว่า ประธานคือใครโดยเฉพาะประธาน บุรุษที่ 1 และ 2 จะนิยมละเสีย ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทย สังเกตการละประธานใน บทสนทนาต่อไปนี้
     
                        1.       スダー : はじめまして。(わたしは)スダーです。 どうぞ よろしく。
                                 やまだ : (わたしく) やまだです。 こちらこそ どうぞ よろしく。スダーさん は マレーシア人ですか。
                                 スダー : いいえ、ちがいます。(わたしは)タイ人です。
     
                        2.  たなか  :(あなたは)ス二サーさんですか。
                                 ス二サー : はい、(わたしは)ス二サーです。(あなたは)たなかさんですか。
                                 たなか  : はい、(わたしは)たなかです。どうぞ よろしく。               
                                 ス二サー : こちらこそ よろあひく あねがいします。
     
    สำนวนต่าง ๆ

    おはようございます
    สวัสดี (ใช้ในช่วงเช้า)
    こんにちは
    สวัสดี (ใช้ได้ตั้งแต่ตอนสาย จนถึงเย็น)
    こんばんは
    สวัสดี (ใช้ในช่วงค่ำถึงกลางคืน)
    ทั้งหมดเป็นคำกล่าวทักทายเมื่อพอกันครั้งแรกในวันนั้นเท่านั้น หากพบกันอีกในวันเดียวกันจะไม่ทักด้วยคำว่า สวัสดี อีก จะเพียงแต่ก้มศีรษะเล็กน้อย หรือยิ้มทักทายกันเท่านั้น หรือพูดคุยทักทายในเรื่องทั่วไปแทน
    はじめまして。(わたしは)ซื่อです。
    ใช้แนะนำตัวเมื่อรู้จักกันเป็นครั้งแรก
    どうぞ よろしく(おねがいします)
    はじめましてเป็นคำที่มีความหมายคล้าย ยินดีที่ได้รู้จัก ส่วน どうぞ よろしく คล้ายเป็นการฝากเนื้อฝากกตัวต่ออีกฝ่ายหนึ่งให้ช่วยแนะนำด้วย ถ้าต้องการความสุภาพมากก็จะพูดเต็มประโยคว่า どうぞ よろしく あねがいします。ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อแนะนำซื่อตนเองแล้วก็มักจะตอบว่า ซื่อです。こちらこそ どうぞ よろしく おねがいします。 มีความหมายถ่อมตัวว่า ทางกระผม (ดิฉัน) ต่างหาก ที่ต้องของฝากเนื้อฝากตัวด้วย
    そうですか。
    งั้นหรือครับเหรอคะ
    มีวิธีใช้คล้ายคลึงกับในภาษาไทยคือ ใช้กล่าวเมื่อได้ฟังคำตอบหรือข้อมูลใหม่ หรือแสดงการรับรู้ ช่วยให้การสนทนาเป็นธรรมชาติมากขึ้น ในความหมายนี้จะลงเสียงท้ายประโยตให้ต่ำ ซึ่งต่างกับ ในประโยคคำถามทั่วไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×