ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Sakura Hana House ภาษาญี่ปุ่น น่ารู้ ง่าย ๆ

    ลำดับตอนที่ #229 : [Lesson] คำช่วย 助詞(じょし)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.16K
      3
      23 ส.ค. 59

    คำช่วย 助詞(じょし)

                คำช่วย 助詞(じょし) หรือ Particle ในภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ไม่มีการผันรูปและไม่อาจอยู่โดดๆ ต้องตามท้ายคำอื่น ๆ ในประโยค ทำหน้าที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำบ้าง เพิ่มเติมความหมายให้ชัดเจนขึ้นบ้าง หรือเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน เป็นต้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท ตามหน้าที่ในประโยค คือ

     

    1. 格助詞(かくじょし)เป็นคำช่วยที่อยู่ติดกับคำนาม หรือ นามวลี เพื่อชี้หน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่าง คำนามนั้น ๆ กับคำอื่นในประโยค เช่น が、を、で、へ、に、よりเป็นต้น

                (はな)()きます。Hana ga saki masu. ดอกไม้บาน

                (はん)()べます。Go han wo tabe masu. รับประทานข้าว

                はさみ()ります。Hasami de kiri masu. ตัดด้วยกรรไกร

                学校(がっこう)()きます。Gakkou he iki masu. ไปโรงเรียน

     

    2. 副助詞(ふくじょし) เป็นคำช่วยที่วางหลังคำนาม หรือ นามวลี กริยาวิเศษณ์ เพื่อเน้น หรือ ขยายความเพิ่มเติมคำนามส่วนหน้า โดยมีความสัมพันธ์ไปจนถึงภาคแสดง เช่น ()かり、ほど、くらい、だけ、までเป็นต้น

                (かれ)はお(かね)のことばかり(かんが)えています。Kare ha okane nokoto bakari kanga etei masu. เขาคิดอยู่แต่เรื่องเงิน

                (わたし)山田(やまだ)さんほど上手(じょうず)じやありません。Watashi ha yamada san hodo jouzu jiya arimasenn. ฉันไม่เก่งเท่าคุณยะมะดะ

                (にく)200グラム(ぐらむ)くらい()いました。Niku wo 200 guramu kurai kaimashita. ซื้อเนื้อประมาณ 200 กรัม

                友達(ともだち)(なか)(もり)さんだけ独身(どくしん)です。Tomodachi no nakade mori san dake ga dokushinn desu. ในบรรดาเพื่อน ๆ มีคุณโมริเท่านั้นที่เป็นโสด

     

    3.  係助詞(かかりじょし) เป็นคำช่วยที่วางไว้หลังคำอื่น ๆ เพื่อช่วยเพิ่มเติมความหมาย และมีความสัมพันธ์ไปจนถึงภาคแสดงด้วย เช่น は、も、しか、こそ、さえ、でもเป็นต้น

                教室(きょうしつ)(おとこ)学生(がくせい)しかいません。Kyoshitsu ni ha otokono gakusei shika imasen. ที่ห้องเรียนมีแต่นักเรียนผู้ชายเท่านั้น

                山田(やまだ)さん日本人(にほんじん)です。田中(たなか)さん日本(にほん)です。Yamada san ha nihon jin desu. Tanaga san mo nihon jin desu. คุณยะมะดะเป็นคนญี่ปุ่น คุณทะนะกะก็เป็นคนญี่ปุ่น

                明日(あした)天気(てんき)さえよければ、ゴルフ(ごるふ)()きます。Ashita, tenki sae yokereba, gorufu ni ikimasu. พรุ่งนี้ถ้าเพียงแต่อากาศดีจะไปตีกอล์ฟ

     

    4.  接続助詞(せつぞくじょし) เป็นคำช่วยที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น が、から、ので、ば、でも、ながらเป็นต้น

                このかばんはきれいです(たか)いです。Kono ga ban ha kirei desu ka, kaidesu. กระเป๋าใบนี้สวยแต่แพง

                (やす)いですから()います。Yasui desu kara, kai masu. เพราะว่าถูก จึงซื้อ

                (いそ)いでいけ()()います。Isoi de ike ba, mani aimsu. ถ้ารีบไปก็จะทัน

                ラジオ(らじお)()ながら選択(せんたく)をします。Rajio wo kiki nagara, sentaku wo shimasu. ซักผ้าไปพลางฟังวิทยุไปพลาง

     

    5. 並立助詞(へいりつじょし) เป็นคำช่วยที่เชื่อมนามเรียงกัน เช่น と、とか、や、かเป็นต้น

                (つくえ)(うえ)にえんぴつペン(ぺん)があります。Tsukuw no ueni enn pitsu to penn ga arimasu. บนโต๊ะมีดินสอและปากกา

                かばんの(なか)(ほん)()()辞書(じしょ)などがあります。Kaban no naka ni hon ya noto ya jisho na doga arimasu. ในกระเป๋ามีหนังสือ สมุด พจนานุกรม เป็นต้น

                明日(あした)あさって行きます。Ashita ka asatte ikimasu. จะไปพรุ่งนี้ หรือไม่ก็มะรืนนี้

     

    6. 準体助詞(じゅんたいじょし) เป็นคำช่วยที่มีความหมายเทียบเท่ากับคำนาม คือ

                (かれ)(うた)(うた)()きです。Kare ha uta wo uta u no ga suki desu. เขาชอบการร้องเพลง

                (かれ)()まれた京都(きょうと)です。Kare ga umare ta no ha kyouto desu. ถ่นที่เขาเกิดคือเกียวโต

     

    7. 終助詞(しゅうじょし) เป็นคำช่วยวางไว้ท้ายประโยค แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น คำถาม เน้นย้ำ หรือไม่สนใจ เป็นต้น เช่น の、ね、よ、か、かした、な เป็นต้น

                どこへ()Doko he ikuno. จะไปไหนหรือ

                今日(きょう)はいい天気(てんき)ですKyou ha ii tenki desu ne. วันนี้อากาศดีนะ

                あの(みせ)はおいしおですAno mise ha oi shii desu yo. ร้านโน้นอร่อยนะ

                (さけ)()O sake wo nomu na. ห้ามดื่มเหล้า

     

    8.  関東助詞(かんとうじょし) เป็นคำช่วยที่วางไว้หลัง คำ วลี หรือท้ายประโยคก็ได้ มีความหมายเชิงอุทาน ยืนยันหรือเน้นย้ำ มี 4 คำ คือ な(なあ)、ね(ねえ)、さและ

                こわいです(おお)きな飛行機事故(ひこうきじこ)()こる。Kowai desu na. ooki na hikoukijoko ga o koru. น่ากลัวนะ อุบัติเหตุทางเครื่องบินครั้งใหญ่

                あのねえ、みんな()いてよ。Ano ne e, minn na kiiteyo. นี่แน่ะ ทุกคนฟังหน่อยนะ

                子供(こども)だって、ちゃんと説明(せつめい)してやれば()かるよ。Kodomo da tte sa, cyan to setsunei shiteya reba wakaru yo. เด็กน่ะนะ ถ้าอธิบายให้ชัดเจนก็จะเข้าใจอยู่หรอก

                太郎(たろう)、そこにあるはさみを()ってちょうだい。Tarou ya, sokoni aru ha sami wo totte cyou dai. ช่วยหยิบกรรไกรที่อยู่ตรงโน้นให้หน่อย

     

                ในประโยคหนึ่ง ๆ จะมีคำช่วยได้ตั้งแต่หนึ่งคำถึงหลาย ๆ คำ การกระทำความเข้าใจประโยคให้ถ่องแท้นั้น นอกจากความหมายของคำแล้ว ยังต้องพิจารณาคำช่วยแต่ละคำว่าทำหน้าที่อะไร และทำให้คำที่คำช่วยไปติดอยู่นั้นมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องไปถึงส่วนใดของประโยคอีกบ้าง ต่อไปนี้จะขอยกคำช่วยหลัก ๆ ที่ใช้ในไวยากรณ์เบื้องต้นมาอธิบายเป็นรายตัว เพื่อใช้ศึกษาอย่างละเอียด

     

    คำช่วยต่าง ๆ

    から

    まで

    までに

    など

    とか

    だけ

    しか

    きり

    より

    ほど

    くらい/ぐらい

    なあ

    かな

    かしら

    こそ

    さえ

    なら/ならば

    たら

    ばかり

    でも

    ても

    けれども

    ので

    ながら

    たり

    คำช่วยซ่อนกัน

     

    คำช่วยที่คล้ายคลึงกัน

    は กับ が

    に กับ で

    が กับ を

    を กับ で

    に กับ から

    へ กับ に

    を กับ に

    まで กับ までに

    から กับ ので

    と กับ から กับ ば 

     

    สรุปคำช่วย

    คำช่วยเกี่ยวกับสถานที่

    คำช่วยเกี่ยวกับเวลา

    คำช่วยเกี่ยวกับพาหนะ

    คำช่วยเกี่ยวกับอุปกรณ์ เครื่องมือ วัตถุดิบ

    คำช่วยเกี่ยวกับคน

     

    แบบฝึกหัดคำช่วย

    เฉลยแบบฝึกหัดและคำแปล

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×