ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรียนครูที่ไหน ไม่ภูมิใจเท่า มศว (หลักสูตร กศ.บ. 5 ปี มศว)

    ลำดับตอนที่ #62 : [[ การศึกษา คือ ศาสตร์และศิลป์ ]]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.62K
      2
      19 พ.ค. 53

    การศึกษา คือ ศาสตร์และศิลป์

    โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

     

            ศาสตร์ คือ เหตุผล ตรรกะ องค์ความรู้ ตัวความรู้ในแต่ละศาสตร์

           “ศิลป์” คือ กระบวนการ วิธีการ ความเป็นมืออาชีพในการทำให้ชีวิต การศึกษาศาสตร์ต่างๆ และการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายอย่างดียิ่ง ศิลปะ จึงอยู่ในการดำรงชีวิต อาชีพ มนุษยสัมพันธ์ การปรุงอาหาร การพูดฯลฯ ศิลปะในการสอน ศาสตร์และ ศิลป์จึงมีน้ำหนักพอๆกันในชีวิตการเป็นครูอาจารย์ การมีความลุ่มลึกเพียงด้านเดียวย่อมอ่อนแอสำหรับอาชีพครู อาจารย์ อาชีพที่ต้องถ่ายทอดและกระตุ้นความรู้ความสามารถของผู้เรียน นักเรียน นิสิต

               ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล บอกว่า
    การเป็นครูต้องเป็นนักเรียนที่เรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า การศึกษาเป็นมรรค ไม่ใช่ผล (Education is means, it’s not end.) การศึกษาเป็นวิถี เป็นครรลอง เป็นเส้นทางไม่รู้หมดสิ้น ไม่ใช่จุดจบ ไม่ใช่ข้อสรุป เมื่อจบการศึกษา จบปริญญาเอก ไม่ใช่ความรู้หยุดเพียงแค่นั้น หรืออาจจะกล่าวอีกว่า การศึกษา ไม่ใช่ความรู้ แต่การศึกษาคือ กระบวนการของความรู้ (Education is not the knowledge but process of knowledge)

            ความรู้วันนี้เปลี่ยนแปลงทุกนาที งอกตลอดเวลา ความรู้ล้าหลังตลอดเวลา ความรู้ของครูอาจารย์ เมื่อเทียบกับความรู้มากมายมหาศาลและเปลี่ยนแปลงทุกเวลานาที ขณะนี้ครูย่อมมีความรู้จำกัด ล้าสมัยได้ ผิดได้ ครูจึงไม่ใช่ผู้วิเศษ ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะเพียงป้อนความรู้ กระบวนการที่เข้มแข็ง จริงจัง ก้าวหน้า จึงเป็นสุดยอดของความปรารถนาใน การเป็นครู รวมทั้ง ความเป็นครู เราต้องสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนไปพร้อมกับการสร้างความรู้ ความล้มเหลวของการเป็นครูอาจารย์คือความอ่อนแอในกระบวนการเรียนการสอน อ่อนแอในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และแน่นอน ตัวความรู้ องค์ความรู้ที่ลุ่มลึก ก้าวหน้าและทันสมัยของครูอาจารย์ด้วยเช่นกัน

            บางคนบอกว่า เราไม่ต้องมีความรู้ทั้งหมดก็ได้ แต่เราควรจะรู้ว่า ความรู้ต่างๆอยู่ที่ไหน และเราพร้อมที่จะไปหยิบจับความรู้เหล่านั้นมา ฉลาดที่จะแสวงหาความรู้ เท่านั้นก็น่าจะพอ

     

    ที่มา: คอลัมน์นวัตกรรมและจุดเปลี่ยน มศว SWU WEEKLY ฉบับที่ 90

           
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×