ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรียนครูที่ไหน ไม่ภูมิใจเท่า มศว (หลักสูตร กศ.บ. 5 ปี มศว)

    ลำดับตอนที่ #52 : [[ หมวดวิชาชีพครู 50 หน่วยกิต]] นิสิต กศ.บ. 5 ปี มศว ต้องเรียนอะไรบ้าง??

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.97K
      1
      26 มี.ค. 52

    วิชาในหมวดวิชาชีพครู มศว นิสิต กศ.บ. 5 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง???

    วิชาในหมวดวิชาชีพครู นั้น ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดให้นิสิต กศ.บ. 5 ปี เรียนทั้งหมดจำนวน 50 หน่วยกิต  เพื่อที่จะได้มีความรู้ครบถ้วนในการได้รับใบประกอบวิชาชีพครู ดังนี้

    หมวดวิชาชีพครู (ED) 50 หน่วยกิต
    สอนโดย คณะศึกษาศาสตร์ มศว

    นิสิตหลักสูตร กศ.บ. 5 ปี จะเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนถึงชั้นปีที่ 4

    * ยกเว้น วิชา ED 561 จะเฉพาะของนิสิต กศ.บ. 5 ปี ชั้นปีที่ 5

    -          กลุ่มวิชากระบวนทัศน์ทางการศึกษา 3 หน่วยกิต

    ED 311 Educational Paradigm (กระบวนทัศน์ทางการศึกษา)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษากระบวนทัศน์ทางการศึกษาซึ่งเชื่อมโยงกับฐานคิดและการมองโลกในแต่ละยุคสมัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ยุคก่อนทันสมัย เป็นยุคที่การดำรงชีวิตมีความเชื่อมโยงกับบริบททางธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมทางสังคม กระบวนการสร้างสรรค์ สืบสาน และปรับเปลี่ยนความรู้ จึงเกิดจากความจำเป็น ในการดำรงชีวิตที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ยุคทันสมัย ศึกษาการสับเปลี่ยนฐานคิด ไปสู่การมองโลกแบบแยกส่วน และการแบ่งแยกความรู้ออกเป็นศาสตร์ต่าง ๆ รวมทั้งแนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อความทันสมัย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการปรับทิศทางการศึกษา ยุคหลังทันสมัย ศึกษาการปรับฐานคิดและทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม เพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ อันเป็นสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) และคนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) และเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นพลังนำไปสู่สันติสุขของโลก

     

    -          กลุ่มวิชาการเรียนรู้ทางการศึกษา 18 หน่วยกิต

    ED 321 INTEGRATED STRATEGIES FOR CREATING LEARNING PROCESSED (ยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้)

    คำอธิบายรายวิชา

                การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาในการปฏิบัติ (Practical Wisdom) ซึ่งช่วยให้บุคคลรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรในแต่ละสภาพการณ์หรือบริบท ทั้งนี้ความรู้หรือทฤษฎีที่มีอยู่จะต้องนำมาใช้บนฐานความเข้าใจที่คนมีต่อสถานการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ดังนั้นทัศนะหรือความเข้าใจต่อสถานการณ์ คือหัวใจสำคัญของการสร้างความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง (Practical Knowledge) อันจะทำให้เกิดปัญญาในการปฏิบัติ การสอนจึงไม่ใช่เรื่องของเทคนิคหรือทักษะที่จะนำมาสอนในลักษณะของสูตรสำเร็จ การจัดกระบวนการเรียนรู้จากฐานวัฒนธรรมอันหลากหลาย และการรู้จักตนเองจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเลือกสรรความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในวิถีชีวิตของตนเอง

     

    ED 323 PSYCHOLOGY FOR TEACHERS (จิตวิทยาสำหรับครู)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษาฐานคิดและองค์ความรู้ทางจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งให้ความสำคัญกับระบบการพัฒนาทางสมองและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับวัยต่าง ๆ ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้ ทักษะ กระบวนการคิด การสร้างแรงจูงใจ สุขภาพจิต เชาวน์ปัญญา ความถนัด เชาวน์อารมณ์ บุคลิกภาพและการปรับตัว โดยมุ่งให้ผู้เรียนวิพากษ์องค์ความรู้ดังกล่าวก่อนนำมาปรับใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยให้มีการฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา

     

    ED 428 INFORMATION AND TECHNOLOGY FOR INTERACTIVE LEARNING (สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้)

    คำอธิบายรายวิชา

                    การนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถสร้างระบบสารสนเทศโดยใช้ฐานความรู้ที่ชุมชนมีอยู่ ให้รู้จักการเลือกสรรความรู้และข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ รู้จักการสร้างสื่อการเรียนการสอน และฝึกปฏิบัติ การพัฒนานวัตกรรมทางด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

     

    ED 425 RESEARCH FOR LEARNING AND TEACHING DEVELOPMENT (การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษาวิธีวิทยาของการวิจัยที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและนำมาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ว่าการวิจัยมิใช่เรื่องทางเทคนิค แต่เป็นวิถีชีวิต เป็นความรู้ที่จะต้องเชื่อมโยงกับบริบทและชีวิต อันจะทำให้ครูเป็นผู้สร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง มิใช่เป็นเพียงผู้ส่งผ่านความรู้ไปยังผู้เรียน

     

    ED 426 EDUCATIONAL ADMINISTRATION AND MANAGEMENT(การบริหารและจัดการศึกษา)

    คำอธิบายรายวิชา

                    การบริหารและจัดการบนฐานคิดของการเคารพและการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและตัวตนเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้และสุขภาวะในสถานศึกษา การจัดองค์กรแบบแนวราบ การสร้างกระบวนการบริหารและจัดการแบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ที่ปราศจากความรุนแรงทั้งความรุนแรงทางกายและความรุนแรงที่แฝงเร้น รวมทั้งการสร้างระบบประกันคุณภาพการศึกษา

     

    ED 427 GUIDANCE FOR SELF-ESTEEMED427 GUIDANCE FOR SELF-ESTEEM(การแนะแนวเพื่อสร้างคุณค่าแห่งตน)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษาหลักการแนะแนวซึ่งวางอยู่บนฐานคิดที่ว่า ผู้เรียนมีตัวตน (Self) ที่มีความหลากหลาย มีความหวัง ความใฝ่ฝัน ความกลัว ความเข้มแข็ง ความอ่อนโยน ความอดทน ความสนใจ พลังชีวิตจริยธรรม คุณธรรม ซึ่งสะท้อนลักษณะเฉพาะของบุคคล การได้รู้จักตัวตนของผู้เรียนและการเข้าใจกับสถานการณ์หรือบริบทอย่างลึกซึ้ง จะช่วยเป็นแนวทางในการแนะแนวเพื่อสร้างการเห็นคุณค่าในตัวตน นอกจากนี้ผู้เป็นครูจะต้องไม่แยกภารกิจของการแนะแนวออกจากภารกิจประจำ ครูจะต้องมองการแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการเป็นครู โดยครูทุกคนจะต้องทำหน้าที่เป็นครูแนะแนวให้กับศิษย์ศึกษาหลักการแนะแนวซึ่งวางอยู่บนฐานคิดที่ว่า ผู้เรียนมีตัวตน (Self) ที่มีความหลากหลาย มีความหวัง ความใฝ่ฝัน ความกลัว ความเข้มแข็ง ความอ่อนโยน ความอดทน ความสนใจ พลังชีวิตจริยธรรม คุณธรรม ซึ่งสะท้อนลักษณะเฉพาะของบุคคล การได้รู้จักตัวตนของผู้เรียนและการเข้าใจกับสถานการณ์หรือบริบทอย่างลึกซึ้ง จะช่วยเป็นแนวทางในการแนะแนวเพื่อสร้างการเห็นคุณค่าในตัวตน นอกจากนี้ผู้เป็นครูจะต้องไม่แยกภารกิจของการแนะแนวออกจากภารกิจประจำ ครูจะต้องมองการแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการเป็นครู โดยครูทุกคนจะต้องทำหน้าที่เป็นครูแนะแนวให้กับศิษย์

     

    ED 324 EDUCATION FOR SPECIAL NEED STUDENTS (การศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการพิเศษ)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษาลักษณะทางกายและทางจิต รวมทั้งปัญหาและความต้องการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย ทางการได้ยิน ทางการมองเห็น ทางสติปัญญา มีความบกพร่องซ้ำซ้อน เด็กสมาธิสั้น เด็กออทิสติค เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โดยการสังเกต การวินิจฉัย การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงการปรับหลักสูตรวิธีสอนและวิธีประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของผู้เรียน

     

    -          กลุ่มวิชาการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน 9 หน่วยกิต

    ED 331 METHODOLOGY FOR SCHOOL-BASED CURRICULUM DEVELOPMENT (วิธีวิทยาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา)

    คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาฐานคิด กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและสังคม โดยทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของฐานคิด กระบวนการสร้างและสาระของหลักสูตรแกนกลาง เพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีดุลยภาพระหว่างเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางกับความต้องการของชุมชนศึกษาฐานคิด กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและสังคม โดยทำความเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของฐานคิด กระบวนการสร้างและสาระของหลักสูตรแกนกลาง เพื่อให้สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้มีดุลยภาพระหว่างเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางกับความต้องการของชุมชน

     

    ED 434 LEARNING ASSESSMENT (การประเมินการเรียนรู้)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด และทฤษฎีในการประเมินการเรียนรู้ การพัฒนา ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและแปลผลการประเมินการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนการฝึกปฏิบัติรายงานการค้นคว้าอิสระในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาตามความสนใจเป็นรายบุคคล

     

    ED 433 STRATEGIES FOR KNOWLEDGE MANAGEMENT (ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้)

    คำอธิบายรายวิชา

                    ศึกษานัยสำคัญของสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน (Knowledge-Based Society) การเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต การตัดสินใจโดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา การจัดระบบความรู้ การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

     

    -          กลุ่มวิชาว่าด้วยความเป็นครู 6 หน่วยกิต

    ED 443 NEGOTIATING CONSUMER CULTURE (การต่อรองกับวัฒนธรรมการบริโภค)

    คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาการก่อรูปของวัฒนธรรมการบริโภคในระบบทุนนิยม ระบบสัญลักษณ์ที่ส่งผ่านทางสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปของการโฆษณาสินค้าโดยตรง และในรูปแบบที่แฝงเร้นทางการบันเทิง งานทางด้านวิชาการหรือธุรกิจ รวมทั้งผลกระทบของวัฒนธรรมการบริโภคต่อฐานคิดและการดำรงชีวิตของคนในสังคม การทำให้ครูสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบริโภคอย่างรู้เท่าทัน

    ED341 SOCIAL CONSCIOUSNESS AND ETHICS (จิตสำนึกและจริยธรรมทางสังคม)

    คำอธิบายรายวิชา

    สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้ที่เข้าสู่วิชาชีพครูเข้าถึงจริยธรรมในความหมายกว้าง ซึ่งรวมถึงการมีความรู้สึกไว (Sensitivity) ต่อความอยุติธรรม การเอารัดเอาเปรียบ การละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวิจารณญาณ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม (Moral Courage) รวมทั้งมีญาณทัศนะและเข้าถึงสารัตถะของการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยให้มนุษย์เข้าถึงธรรมชาติและสังคม รู้เท่าทันการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะ (Public Mind) กระทำผ่านการศึกษาภูมิ ปัญญาจากนักคิดร่วมสมัย จากศาสตร์ที่หลากหลาย รวมถึงภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน นอกจากนี้ครูจะต้องสามารถเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกสาธารณะและเข้าถึงแก่นแท้ของการศึกษาได้

    -          การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 12 หน่วยกิต ** สำหรับนิสิต กศ.บ. 5 ปี ชั้นปีที่ 5 **

    ED561 INTERNSHIP IN EDUCATION (ปฏิบัติการสอนและฝึกประสบการณ์)

    คำอธิบายรายวิชา

                การจัดให้นิสิตไปฝึกปฏิบัติงานในสถานศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ภายใต้การนิเทศร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับสถานศึกษา โดยเน้นการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู ได้แก่

    1. ปฏิบัติการสอนในชั้นเรียน

    2. การวิจัยในชั้นเรียน

    3. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

    4. งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    5. งานบริการของโรงเรียน

    6. ศึกษาและบริการชุมชน

    7. งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

    (*เป็นจำนวนหน่วยกิตในหมวดวิชาชีพครู 9 หน่วยกิต และในหมวดวิชาเอก 3 หน่วยกิต)

    -          กลุ่มวิชาเลือกวิชาชีพครู 5 หน่วยกิต

    ED351 THAI LANGUAGE FOR LEARNING DEVELOPMENT (ภาษาไทยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้)

    คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาและพัฒนาการใช้ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาและพัฒนาภาษาไทยที่สัมพันธ์กับการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การคิด การสรุปสาระ การบันทึก การเขียน และการอภิปราย โดยเน้นการศึกษาและพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้บนฐานคิดที่สอดคล้องกับวิชาชีพครู ที่ต้องเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ความคิด

    ED352 ENGLISH LANGUAGE FOR LEARNING DEVELOPMENT (ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้)
    คำอธิบายรายวิชา
               
    ศึกษาและพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาและพัฒนาภาษาอังกฤษที่เป็นประโยชน์กับการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การคิด การสรุปสาระ การบันทึก การเขียน และการอภิปราย โดยเน้นการศึกษาและพัฒนา ผ่านกระบวนการเรียนรู้บนฐานคิดที่สอดคล้องกับวิชาชีพครูที่ต้องเรียนรู้ พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ความคิด

    *****************************************************************************************
    ที่มา: หลักสูตรที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×