ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรียนครูที่ไหน ไม่ภูมิใจเท่า มศว (หลักสูตร กศ.บ. 5 ปี มศว)

    ลำดับตอนที่ #19 : [[ ต้นกำเนิด มศว ]] กับภารกิจการผลิตครูของประเทศไทย อดีต เพื่อ อนาคต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.07K
      1
      16 ก.ย. 53




     

    โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร
    พ.ศ. 2492
             
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถือกำเนิดขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในกระแสสังคมที่เริ่มคลี่คลายจากการตื่นตระหนกภัยสงคราม ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้ก่อกำเนิดขึ้น เพื่อมุ่งเน้นความสมานฉันท์และผลักดันความร่วมมือทางด้านต่าง รวมทั้ง การผลักดันทางด้านการศึกษา เพื่อให้โลกใบนี้เจริญก้าวหน้าและมีสติปัญญามากขึ้นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2492 ถนนประสานมิตร กรุงเทพมหานคร เพื่อผลักดันการศึกษาทางด้านวิชาชีพครู ในช่วงเวลาที่วิชาชีพครูขาดแคลน และไม่สมดุลกับการขยายตัวของสังคม และศาสตร์ทางด้านการศึกษายังใหม่ต่อสังคมในขณะนั้น เป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถือกำเนิดขึ้นจากการผลักดันของ ศาสตราจารย์ ..ปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ในขณะนั้น และท่านก็ได้มีบทบาททางด้านการศึกษาทั้งที่โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง วิทยาลัยวิชาการศึกษา และสังคมไทย


    วิทยาลัยวิชาการศึกษา
    College of  Education
    พ.ศ. 2497

              ถึงพุทธศักราช 2496 ปัญหาการขาดแคลนครูและนักการศึกษาเป็นปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้นในสังคมไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุก ๆ ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ผู้นำการศึกษาสมัยใหม่หรือผู้นำการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ในสังคมไทย ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of Education) ขึ้นเพื่อพัฒนาปรัชญา แนวคิดและความรู้ความสามารถทางด้านการศึกษาสมัยใหม่ ให้สอดคล้องผสานสัมพันธ์กับสังคมประชาธิปไตย รวมทั้งการพัฒนาการศึกษาศาสตร์ให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบแบบแผนและมีความลุ่มลึกในสังคมไทย พร้อมกับการประสาทปริญญาทางด้านศึกษาศาสตร์ ทั้งในระดับบัณฑิต ระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)  มหาบัณฑิต ระดับปริญญาโท หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต(กศ.ม.) และดุษฎีบัณฑิต ระดับปริญญาเอก หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต(กศ.ด.) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อแรกเริ่มการสถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นแทน โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงนั้น (16 กันยายน 2497) ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในระหว่างพุทธศักราช 2497–2499 ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษาหลังจากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา จนถึงพุทธศักราช 2511 
             
    วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้แนวคิดระบบโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้โรงเรียนสาธิตเป็นแปลงทดลองค้นคว้า ในระบบการศึกษาพื้นฐานสมัยใหม่ 
    วิทยาลัยวิชาการศึกษาจัดระบบการศึกษาแบบวิทยาเขต โดยขยาย
    -
    วิทยาเขตปทุมวัน (2498) 
    -
    วิทยาเขตบางแสน (2498) 
    -
    วิทยาเขตพิษณุโลก (2510) 
    -
    วิทยาเขตมหาสารคาม (2511) 
    -
    วิทยาเขตสงขลา (2511) 
    -
    วิทยาเขต พระนคร (2512) 
    -
    และวิทยาเขตพลศึกษา (2513) 
    โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหาร 

    วิทยาลัยวิชาการศึกษา 
    ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ในฐานะที่ท่านเป็นนักวิชาการและนักการศึกษาสมัยใหม่ ได้พัฒนาแนวคิดแบบพิพัฒนาการนิยมและการเรียนการสอนสมัยใหม่จากสังคมตะวันตก นำมาวางหลักปักฐานไว้ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็น
    -
    ระบบห้องสมุด 
    -
    ระบบคะแนน 
    -
    ระบบการวัดผล 
    รวมทั้งวิชาการศึกษาสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าที่สุดในสังคมไทยขณะนั้น 
             
    นอกจากนั้นแล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษายังได้รับการช่วยเหลือทั้งด้านบุคลากร หนังสือ และทุนการศึกษามากมาย จนอาจกล่าวได้ว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา มีระบบการศึกษาที่ก้าวหน้าที่สุดในช่วงเวลานั้น 
              ตราหรือเครื่องหมายของวิทยาลัย วิชาการศึกษา ซึ่งเป็นสมการทางด้านคณิตศาสตร์ y = e ยกกำลัง x (Exponential Curve) เส้นกราฟของการขยายเพิ่มขึ้น มีความหมายสอดคล้องปรัชญาที่ว่าการศึกษาคือความเจริญงอกงามหรือ สิกขาวิรุฬหิ สมปตตาหรือ “ Education is Growth” 
             
    รวมทั้งสอดคล้องกับสีเทาแดงซึ่งสีเทา เป็นสีของสมอง หมายถึงความคิดและสีแดงเป็นสีของเลือด หมายถึงความกล้าหาญสีเทาแดง จึงหมายถึงคิดอย่างกล้าหาญ

    ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร แห่งนี้นี่เอง
    ได้ก่อกำเนิดปริญญาทางการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ 
    นับเป็นความภาคภูมิใจของวงการครูไทย โดยที่ปริญญาทางการศึกษามีตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกเป็นแห่งแรกในประเทศไทย



    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
    พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน

              พุทธศักราช 2516 ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานครก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในปีถัดมา (29 มิถุนายน 2517) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี (พุทธศักราช 2512 – 2521)

              มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการในรูปวิทยาเขตมาจนถึง .. 2533 รวมเวลา 16 ปี วิทยาเขตจึงเริ่มแยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระโดยมีการบริหารจัดการและงบประมาณเป็นของตนเอง ดังนี้ 
             
    .. 2533 วิทยาเขตบางแสนและวิทยาเขตพิษณุโลก ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยนเรศวร 
             
    .. 2536 ยุบรวมวิทยาเขตปทุมวัน บางเขน และประสานมิตรเข้าเป็นวิทยาเขตกลาง 
             
    .. 2537 วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
             
    และพ.. 2539 วิทยาเขตสงขลา ยกฐานะเป็นเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ 
             
    ขณะที่มหาวิทยาลัยแม่ก็ขยายตัวไปที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปีพุทธศักราช 2539

               จากอดีตที่มีคณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย ช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 (พุทธศักราช 2525- 2529) จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พุทธศักราช 2535 – 2539) จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พุทธศักราช 2540 – 2544) คณะสหเวชศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ ในปัจจุบันมีวิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ และ คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร

    พ.ศ. 2517-2546
    หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)
    หลักสูตร 4 ปี
    เปิดทำการผลิตครูที่ คณะศึกษาศาสตร์
    โดยที่คณะศึกษาศาสตร์  ยกฐานะมาจากคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา

    ปัจจุบันของ ครู 5 ปี มศว
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
    หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)
    หรือหลักสูตรโครงการการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี(หลักสูตร 5 ปี)
    เปิดทำการผลิตครูใน 6 คณะ ดังนี้

    คณะศึกษาศาสตร์ 
    ผลิตครูในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและบุคลากรการศึกษา
    วิชาเอกการประถมศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)


    คณะมนุษยศาสตร์
     
    ผลิตครูในสาขาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    วิชาเอกภาษาไทย (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกภาษาอังกฤษ (กศ.บ. 5 ปี)


    คณะสังคมศาสตร์ 
    ผลิตครูในสาขาสังคมศึกษา
    วิชาเอกสังคมศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)


    คณะวิทยาศาสตร์ 
    ผลิตครูในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    วิชาเอกคณิตศาสตร์ (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกวิทยาศาสตร์-เคมี (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป (กศ.บ. 5 ปี)


    คณะศิลปกรรมศาสตร์ 
    ผลิตครูในสาขาศิลปะ-ดนตรี-นาฏศิลป์
    วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาทัศนศิลปศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาดนตรีศึกษา - ดนตรีไทย (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาดนตรีศึกษา - ดนตรีสากล (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาศิลปะการแสดงศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)


    คณะพลศึกษา 
    ผลิตครูในสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา
    วิชาเอกพลศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกสุขศึกษา (กศ.บ. 5 ปี)
    วิชาเอกพลศึกษาและสุขศึกษา ระบบเอกคู่ (กศ.บ. 5 ปี)

    ทั้งนี้คณะศึกษาศาสตร์ยังคงทำหน้าที่สอนนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ. 5 ปี) ในหมวดวิชาชีพครู โดยที่นิสิตครู 5 ปีทุกคนไม่ว่าคณะใดก็ตามต้องเรียนวิชาชีพครูที่ คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อให้ได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่คุรุสภากำหนด

    และคณะที่ร่วมผลิตอีก 5 คณะ อันได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จะทำหน้าที่สอนวิชาเอกเพื่อให้นิสิต กศ.บ. 5 ปี มศว มีความรู้ลึกซึ้งในสาขาวิชาเอกของตนเอง...

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×