ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : ส่วนประกอบของโลก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.5K
      11
      22 ก.พ. 50

     

    โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในจักรวาลหรือบริเวณท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ประกอบด้วย กาแลกซี่ ในกาแลกซี่หนึ่งมักประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดาวหาง กลุ่มแก๊ส ฝุ่น และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมักจะอยู่รวมกันหรือแยกกัน ระบบสุริยะเป็นส่วนหนึ่งของกาแลกซี่ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวหาง อุกกาบาต ฝุ่น กลุ่มแก๊ส หมุนอยู่ภายในแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ และโลกเป็นสมาชิกดวงหนึ่งของระบบนี้


    กำเนิดระบบสุริยะ
    ทฤษฎีของคานท์และลาพาส

    ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ และอื่น ๆ ในระบบสุริยะ เกิดจากกลุ่มแก๊สที่ร้อนจัดและหมุนอยู่แรงเหวี่ยงจากการหมุนทำให้เกิดเป็นลักษณะวงแหวนกระจายออกจากศูนย์กลาง ต่อมาบริเวณศูนย์กลางวงแหวนก็กลายเป็นดวงอาทิตย์ กลุ่มแก๊สในแต่ละวงแหวนรวมตัวและหดตัวกลายเป็นดาวเคราะห์และอื่น ๆ
    ทฤษฎีของเจมยีนส์
    มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่ผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์ ทำให้มวลบางส่วนของดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์หลุดออกมาเป็นดาวเคราะห์ รวมทั้งโลกและสิ่งต่าง ๆ ในระบบสุริยะ
    ทฤษฎีของเฟรด ฮอย์และฮานส์ อัลเฟน
    เสนอทฤษฎีการเกิดโลกและระบบสุริยะโดยอาศัยแนวทางทฤษฎีของลาพาส คือ ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองเริ่มมีแสงสว่าง กลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่อยู่รอบจะถูกดึงดูดให้จับตัวแน่นรวมเป็นก้อน มีขนาดใหญ่โตเป็นดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์
    ระบบสุริยะ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร นอกจากนั้นยังมีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุตกาบาต

    ข้อสังเกต
    ดาวหาง ดวงที่ใหญ่ที่สุดที่พบคือ ดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งมีทางโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์รอบละ 76 ปี
    และ ปรากฏหลังสุดในปี ค.. 1986 หรือ พ.. 2529

     

     

     

    การกำเนิดจักรวาล ทฤษฎีที่อธิบายกำเนิดความเป็นมาของจักรวาลมีอยู่หลายทฤษฎี มีอยู่ 2 ทฤษฎีที่ ได้รับการยกย่องและสนใจจากบุคคลทั่วไป คือ ทฤษฎีการระเบิดที่ยิ่งใหญ่หรือบิกแบงค์ (Big Bang Theory ) และทฤษฎีภาวะคงที่ ( Steaely State Theory )

    ทฤษฎีการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือบิกแบง
    สรุปว่า จักรวาลมีการกำเนิดมาจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ของสารที่อัดรวมกันแน่น แรงระเบิดทำให้ชิ้นส่วนแตกละเอียดเป็นแก๊สร้อน กระเด็นกระจายออกจากจุดระเบิดไปทุกทิศทุกทาง ต่อมาแก๊สเหล่านี้ก็เย็นลงเกาะตัวกันเป็นกาแลกซี่ และสิ่งอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบของจักรวาลในปัจจุบัน

    ทฤษฎีภาวะคงที่
    สรุปว่า จักรวาลไม่มีจุดกำเนิดและไม่มีวาระสุดท้าย จักรวาลมีสภาพคงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมานานแล้ว และจะมีสภาพเช่นนี้ตลอดไปชั่วกาลนาน
    จากหลักฐานการค้นพบทำให้ทฤษฎีของบิกแบงได้รับความเชื่อถือมากกว่าทฤษฎีสภาวะคงที่ ซึ่งหลักฐานสำคัญมีอยู่ 3 ประการคือ
    1. หลักฐานการขยายตัวของจักรวาล
    2. การค้นพบควอซาร์
    3. การค้นพบคลื่นรังสีความร้อน

    ในโลกนี้มีอะไร
    โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่กำเนิดเมื่อราว 4,500 ล้านปีมาแล้ว และทราบกัน ในขณะนี้ว่ามีสิ่งมีชีวิต โลกมีลักษณะค่อนข้างกลมเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเหนือ - ใต้ 12,711 กิโลเมตร ในแนวตะวันออก - ตะวันตก 12,755 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเองกินเวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที และหมุนรอบดวงอาทิตย์กินเวลา 365.25 วัน

    โครงสร้างและส่วนประกอบภายในโลก

     

     

    รูป แสดงชั้นต่าง ๆ ภายในโลก

    1. ชั้นเปลือกโลก คือ ส่วนที่อยู่นอกสุดของโลกนับจากผิวโลกลึกลงไปประมาณ 6 - 35 กิโลเมตร ส่วนบนเป็นทวีปซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต ประกอบด้วยสารประกอบซิลิกาและอลูมินาส่วนล่างคือ ส่วนที่เป็นท้องมหาสมุทรส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ ซึ่งประกอบไปด้วยสารประกอบซิลิกา แมกนีเซียม
    2. ชั้นแมนเทิล คือ ชั้นที่ถัดจากเปลือกโลกลงไปหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินและแร่ต่าง ๆ หลอมเหลงเป็นหินหนืด เนื่องจากมีความกดดันและมีอุณภูมิสูงมากประมาณ 500 - 4,500 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่เป็นแร่ซิลิกอน เหล็ก อลูมิเนียม หินหนืด ถ้าพาออกมาสู่ภายนอกจะเรียกว่า ลาวา พอแข็งตัวกลายเป็นหินอัคนี หินอัคนีเป็นหินที่เป็นหินชนิดแรก
    3. แก่นโลกหรือแกนโลก คือ ส่วนในสุดของโลกมีความหนาจากจุดศูนย์กลางประมาณ 3,440 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กเป็นส่วนใหญ่ มีนิกเกิลประมาณ 8% และอาจมีโคบอลต์อยู่บ้างจึงทำให้มีความหนาแน่นมาก แก่นโลกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น
    3.1 แก่นโลกชั้นนอก ลึกลงไปจากผิวโลกประมาณ 29,000 - 5,000 กิโลเมตร เป็นชั้นของเหลวร้อนอุณหภูมิประมาณ 4,000 - 6,000 องศาเซลเซียส ค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 12
    3.2 แก่นโลกชั้นใน ลึกจากผิวโลกประมาณ 5,000 กิโลเมตร จนถึงจุดศูนย์กลางของโลก เป็นชั้นของแข็งที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่า 17 อุณหภูมิประมาณ 4,800 - 6,000 องศาเซลเซียส
    พื้นผิวนอกของโลกมีลักษณะแตกต่างกัน บางแห่งเป็นพื้นดิน บางแห่งเป็นพื้นน้ำ เป็นพื้นน้ำประมาณ 3 ส่วน หรือร้อยละ 71 และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน หรือร้อยละ 29

     

     

     

     

     

     

    เรื่อง เปลือกโลกและการเปลี่ยนแปลง

     

    ประมาณ พ.. 2163 อัลเฟรด เวเนเจอร์ ได้สันนิษฐานว่าผิวโลกเดิมมีส่วนเดียว เป็นทวีปใหม่ทวีปเดียวให้ชื่อว่าแพงอีกา แปลว่าแผ่นดินทั้งหมด


    ธรรมชาติทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร
    จากข้อมูลปัจจุบันจะเห็นว่าทวีปต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกจะมีทะเลและมหาสมุทรคั่น และพบว่าทวีปเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เพราะหินหนืด
    นักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกไม่ได้ติดกันเป็นแผ่นแต่มีรอยลึกแยกลงไปจากผิวโลกอยู่ทั่วไป เรียกแต่ละแผ่นของเปลือกโลกว่า แผ่นเปลือกโลก ซึ่งประกอบด้วยแผ่นใหญ่ๆ จำนวน 6 แผ่น ได้แก่
    1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปเอเซียและทวีปยุโรป รวมทั้งพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
    2. แผ่นอเมริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
    3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
    4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศทั้งสอง
    5. แผ่นแอนตาร์กติก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ
    6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกาและพื้นน้ำรอบๆ ทวีปนี้
    นอกจากนี้ ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกหลายแผ่น เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ รองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็นต้น

     

     

    สาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง
    1. การเคลื่อนที่ของโลก เกิดจากการเคลื่อนที่ของหินหนืดโดยเฉพาะแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร มีความหนาแน่นน้อย หินหนืดสามารถแทรกตัวตามรอยต่อระหว่าง แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่าย
    นักธรณีวิทยาพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแอตแลนติกมีแนวหินใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แนวหินใหม่นี้เกิดจากการดันตัวของหินหนืดและมีอายุน้อยกว่าหินบนทวีป จึงมีผลทำให้ทวีปต่าง ๆ ห่างกันมากขึ้นและเกิดการชนกันระหว่างผิวเปลือกโลก

     

    2. การเกิดแผ่นดินไหว คือ คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากพลังงานที่มีจุดกำเนิดอยู่ภายใต้ผิวโลก คลื่นการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกเรียกว่าแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทางจากจุดต้นกำเนิด ความกว้างของอาณาบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระดับพลังงานที่จุดต้นกำเนิด

     

     

     

    มนุษย์ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
    พื้นผิวโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำมาหากินของมนุษย์มาตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์ แล้วมนุษย์อาศัยปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมนุษย์ได้มาจาก การเสาะแสวงหา ดัดแปลง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในบางครั้งจึงต้องเกี่ยวข้องกับการทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้
    มนุษย์ต้องการดิน หินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้างและสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงต้องค้นหาและขุดดิน หินและแร่ธาตุดังกล่าว ซึ่งมีอยู่ในเปลือกโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ บางครั้ง การสร้างอาคาร ถนน เขื่อน และอุโมงค์ จำเป็นต้องปรับพื้นที่ อาจต้องมีการขุดเจาะลงในชั้นดิน หิน เพื่อวางระบบฐานรากของสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนการระเบิดภูเขา เพื่อเอาหินมาสร้างถนน สร้างอุโมงค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง

     

     

     

     

     

     

     

    เรื่อง ภูเขา ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว


    การยกตัว การยุบตัว และการคดโค้งโก่งงอ
    การเคลื่อนที่ของหินหนืดภายในโลกมีผลทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ และการเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ หลายกระบวนการ เช่น การยกตัว การยุบตัว การคดโค้งโก่งงอ เป็นต้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภูเขา ภูเขาไฟ และแผ่นดินไหว
    ภูเขา
    ภูเขาเกิดขึ้นได้หลายกระบวนการ และแต่ละกระบวนการจะใช้เวลานานมาก ซึ่งกระบวนการการเกิดภูเขาที่สำคัญมีดังนี้

    1.       การยกตัวขึ้นของพื้นทวีป เนื่องจากได้รับแรงดันจากหินหนืดใต้ผิดโลก กระบวนการนี้มีหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลานานมาก ภูเขาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีนี้จะเป็น เทือกเขาแนวยาว เช่น การเกิดเทือกเขาทางภาคเหนือและภาคใต้

    2.       การที่เปลือกโลกถูกแรงบีบอัดจนโค้งงอ เช่น การเกิดเทือกเขาภูพานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    3.       การดันของหินหนืดที่ใต้ผิวโลกแล้วเย็นตัวก่อนที่จะไหลออกมา เช่น การเกิดภูเขาหินแกรนิตทางทิศตะวันตกของภาคกลาง

    4.       การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก เช่น ภูเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เกิดจากการชนกันของแผ่นออสเตรเลียกับแผ่นยูเรเซีย

    5.       การที่ผิวโลกมีความทนทานต่อการกร่อนไม่เท่ากัน โดยผิวโลกส่วนที่ไม่แข็งจะถูกกัดกร่อนทำลายไป ส่วนที่แข็งจะยังคงอยู่ เช่น การเกิดภูกระดึง จังหวัดเลย

    ภูเขาไฟ

    1. การเกิดภูเขาไฟ
    เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลที่มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ทำให้หินหนืดถูกแรงอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงประทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น

    2. สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิด ได้แก่
    1) หินหนืด ซึ่งหินหนืดที่เปล่งออกจากปล่องภูเขาไฟ เรียกว่า ลาวา ( Lava ) โดยลาวาจะไหลลงสู่บริเวณ ที่อยู่ในระดับต่ำ แผ่เป็นบริเวณกว้างใหญ่ ส่วนหินหนืดที่ยังไม่ออกมาสู่พื้นผิวโลกเรียกว่า แมกมา ( Magma )
    2) เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง ไอน้ำ เศษหิน และแก๊สต่าง ๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co2 ) แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ( CO ) แก๊สไนโตรเจน ( N2 ) และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO2 ) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ จะล่องลอยขึ้นสู่ท้องฟ้ามืดมัวเป็นหมอกดำ

    3. บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ ได้แก่
    3) แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ทั้งนี้เพราะแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้พื้นมหาสมุทรมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นทวีป ได้มุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป แผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไปนี้จะหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืดที่มีอุณหภูมิและความดนสูงมาก ทำให้ดันแทรกตัวมาตามรอยต่อได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ
    2) บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อย ในประเทศไทยเคยเกิดขึ้นที่จังหวัดลำปางและบุรีรัมย์ประมาณว่ามีการระเบิดของภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อล้านปีมาแล้ว แต่การระเบิดไม่รุนแรงนัก

    4. ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีดังนี้
    ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับมนุษย์สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเกิดจากลาวาพุ่งขึ้นมาจากการระเบิดของภูเขาไฟไหลลงสู่ในบริเวณที่อยู่ระดับต่ำกว่า

    5. รูปแบบของภูเขาไฟ ขึ้นอยู่กับชนิดของลาวา ซึ่งได้แก่ ความใกล้ไกลที่ลาวาไหลไปและความรุนแรงของ การประทุ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
    1. แบบกรวยกรวดภูเขาไฟ ( Cinder cone )
    - เหมือนกรวยสูงที่คว่ำอยู่
    - เกิดจากการประทุของหินหลอมเหลวที่อยู่ใต้ผิวโลกถูกดันประทุออกมาทางปล่องโดยแรง ทำให้ ชิ้นส่วนของหินที่ร้อนจัดลุกเป็นไฟประทุขึ้นไปในอากาศ และเย็นตัวอย่างรวดเร็ว
    - เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดเล็กที่สุด
    - ตัวอย่างที่พบ ภูเขาไฟที่พบทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้
    2. แบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ( Composite coe หรือ Stratovolcano )
    - คล้ายแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ แต่มีฐานแผ่ขยายใหญ่ และมีความลาดจากปากปล่องมาที่ฐานมากกว่า เพราะหินหนืดที่ไหลออกมาจากปากปล่องมีความหนืดสูง จึงทำให้ไหลไปได้ไม่ไกลนัก ทำให้เกิดการทับถมของหินหนืดที่เย็นตัวลงผสมกับหินที่แข็งตัวและขี้เถ้าจากการปะทุครั้งแล้วครั้งเล่าจนเกิดเป็นภูเขากรวยคว่ำขนาดใหญ่ขึ้น
    - ตัวอย่างที่พบ ภูเขาไฟฟูจิในประเทศญี่ปุ่น
    3. ภูเขาไฟรูปโล่ ( Shield volcano )
    - คล้ายรูปโล่คว่ำ กว้าง เตี้ย
    - เกิดจากหินหนืดที่มีอุณหภูมิสูงมากไหลออกจากปล่องด้วยอัตราการไหลที่เร็วมากจึงทำให้ไหลไปได้ไกลจากปากปล่องมากทำให้ไม่เกิดการทับถมของเถ้าถ่านเป็นรูปกรวย แต่จะแผ่ขยายกว้างออกไป จึงกลายเป็นภูเขาไฟที่มีรูปร่างกว้างใหญ่ที่สุด
    - ตัวอย่างที่พบ ภูเขาไฟที่อยู่ในแถบหมู่เกาะฮาวาย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    แผ่นดินไหว

    แผ่นดินไหว (Earthquake) หมายถึง การสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ในจุดใดจุดหนึ่งบนผิวโลก

    1. ขั้นตอนการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างฉับพลัน โดยมีขั้นตอนการเกิดแผ่นดินไหวดังนี้
    1) ความร้อนจากแก่นโลกทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวโลกส่วนบน ประกอบกับบริเวณ ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอยู่ตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกมีการขยายตัวและหดตัวไม่สม่ำเสมอ
    2) การหดตัวและขยายตัวไม่สม่ำเสมอของเปลือกโลก ก่อให้เกิดแรงดัน ส่งผลกระทบต่อรอยแตกในชั้นหินและรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกโดยตรง ทำให้รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกบางแห่งแยกออกจากกันและ บางแห่งเคลื่อนที่เข้าชนกัน ซึ่งอาจทำให้เปลือกโลกบางส่วนในบริเวณนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน เช่น เกิดการทรุดตัวหรือยุบตัวลง ส่งผลให้เปลือกโลกบริเวณนั้นเกิดการกระทบกระแทกหรือฉีกขาดเคลื่อนที่ตามแนวระดับ และส่งอิทธิพลออกไปยังบริเวณรอบ ๆ ในรูปของเคลื่อน เป็นผลให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น
    2. บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว
    การเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดบริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกได้มากกว่าบริเวณอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้บริเวณรอยต่อนี้มีโอกาสเกิดการกระทบกระแทกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น
    3. มาตราวัดการสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว มีอยู่ 2 แบบ คือ มาตราริคเตอร์และมาตราเมอแคลลี่ ในประเทศไทยใช้มาตราริคเตอร์

    สถานีตรวจแผ่นดินไหว
    ประเทศไทยมีสถานีตรวจแผ่นดินไหว ได้แก่
    1. สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจแผ่นดินไหวได้ไกลทั่วโลก
    2. สถานีตรวจแผ่นดินไหว เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
    3. สถานีตรวจแผ่นดินไหวอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
    4. สถานีตรวจแผ่นดินไหวปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับที่เขื่อนภูมิพล
    5. สถานีตรวจแผ่นดินไหวเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี
    6. สถานีตรวจแผ่นดินไหวหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    7. สถานีตรวจแผ่นดินไหวจังหวัดสงขลา
    ในปัจจุบัน ประเทศไทย มีสถานีตรวจแผ่นดินไหว จำนวน 9 แห่ง โดยเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดเลย และที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

    5. ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว
    ทำให้อาคารบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ พังทลาย และได้รับความเสียหายมากมาย ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ก็อาจได้รับอันตรายหรือความเสียหายตามไปด้วย

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×