ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โลก ดวงดาว และดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #16 : คำถามท้ายบทที่ 1 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลงและคำถามท้ายบทที่ 2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 82.25K
      99
      13 ม.ค. 53

    1. อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว กับ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

    ตอบ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หมายถึง ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดิน หรือตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหว

              จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หมายถึง ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

     

    2. แนวที่เกิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของพื้นผิวโลก  ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ อยู่บริเวณใด และมีขนาดมากน้อยเพียงใด

    ตอบ  แนวที่เกิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคพื้นผิวโลก

              ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดจากมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นอกประเทศ แล้วส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว บริเวณทะเลอันดามันและตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในแนวนี้ จะทำให้พื้นที่ในประเทศไทยบริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ เกิดการสั่นไหวที่รู้สึกได้

     

    3. แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตกแยกของหินใต้พื้นผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด

    ตอบ           แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตกแยกของหินใต้พื้นผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินบะซอลต์ที่มีแร่แทรกปะปนอยู่ หินบะซอลต์จัดเป็นหินอัคนี

     

    4. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว

    ตอบ  สาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว

    1.        เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่แตกหักหรือเลื่อนตัวและถ่ายโอนพลังงานศักย์อย่างรวดเร็วให้กับชั้นหินที่อยู่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน

    2.       เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ เนื่องจากในขณะที่แมกมาใต้ผิวโลกเคลื่อนตัวตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นลาวา

    3.       เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน การระเบิดพื้นที่เพื่อสำรวจลักษณะของหิน สำหรับวางแผนก่อสร้างอาคาร และเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น

     

    5. ท่านคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า ภูเขาไฟเป็นเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในของโลก

    ตอบ            เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง เพราะ เมื่อภูเขาไฟระเบิดแต่ละครั้ง จะมีเศษลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง และเถ้าถ่าน ลาวาที่ออกมาสู่พื้นผิวโลก จะมีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ทำให้ทราบว่า ภายในโลกมีความร้อนมาก นอกจากนี้ภายในของโลกยังมีแร่ธาตุต่างๆ อยู่ เมื่อสังเกตจากหินบะซอลต์ หินแอนดีไซต์ หินไรโอไลต์ และหินออปซิเดียน เป็นต้น

     

    6. บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด

    ตอบ  การเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนี้

    ประโยชน์ของแผ่นดินไหว คือ ทำให้ทราบถึงส่วนประกอบและโครงสร้างของโลก และเกิดที่ราบสูงภูเขาขึ้นใหม่

    โทษของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

    ความเสียหายทางตรง เช่น ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม เกิดการยกตัวหรือทรุดตัวลงของแผ่นดิน เกิดรอยแตกแยกในแผ่นดินและการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน เกิดไฟไหม้อาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ พังทลาย มนุษย์บาดเจ็บและตายเป็นจำนวนมาก

    ความเสียหายทางอ้อม จะปรากฏเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล กล่าวคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในท้องทะเล จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ที่เรียกว่า สึนามิ (Tsunami) คลื่นดังกล่าวนี้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ในระยะไกลมาก และเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งจะทำให้ระดับน้ำสูงจากปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันตามบริเวณชายฝั่ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก

              ภูเขาไฟระเบิดก่อให้เกิดประโยชน์และโทษ คือ

                       ประโยชน์ของภูเขาไฟ

    1.        ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในสมดุล

    2.       ช่วยให้หินที่ถูกแปรสภาพมีความแข็งมากขึ้น

    3.       เกิดแร่ที่สำคัญขึ้น เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ทับทิม ไพลิน และพลอยอื่นๆ ที่สวยงาม จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศ

    4.       เป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดผู้คนให้ไปเยี่ยมชม

    5.       ดินที่เกิดจากภูเขาไฟมักจะเป็นดินดี เหมาะแก่การเพาะปลูก

    โทษของภูเขาไฟ

              ทำลายชีวิต อาคารบ้านเรือน และทรัพย์สินทั้งทางตรงและอ้อม

     

    7. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ภูเขาไฟมีพลัง คาบอุบัติซ้ำ

    ตอบ  ภูเขาไฟมีพลัง           หมายถึง  ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่และอาจจะระเบิดอีก

    คาบอุบัติซ้ำ   หมายถึง  ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้น แล้ว        กลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่า       นั้น

     

    8. 

    กรากาตัวเป็นเกาะภูเขาไฟที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้เกิดระเบิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2426 โดยเริ่มระเบิดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และเกิดระเบิดอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ส่งเสียงไกลถึงประเทศออสเตรเลียที่อยู่ห่างออกไปถึง 3,500 กิโลเมตร สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยหมู่เกาะถูกปกคลุมด้วยฝุ่นภูเขาไฟมืดมิดถึง 2 วันครึ่ง และเกิดแอ่งภูเขาไฟขนาดใหญ่บนเกาะ

      

     จากข้อมูลข้างต้น จงตอบคำถามดังต่อไปนี้

    ·       หลังจากภูเขาไฟ กรากาตัวระเบิดแล้ว ภูมิลักษณ์ของเกาะกรากาตัวเปลี่ยนไปอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

    ·       ปัจจุบันนักเรียนคิดว่า ที่บริเวณเกาะกรากาตัว สามารถทำการปลูกพืชได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

    ·       ในอนาคต ภูเขาไฟกรากาตัวจะระเบิดอีกหรือไม่ เพราะเหตุใด

    ตอบ            หลังจากภูเขาไฟ กรากาตัวระเบิดแล้ว ภูมิลักษณ์ของเกาะกรากาตัวจะเปลี่ยนไป คือ ทำให้เกิดภูเขาไฟที่มีด้านข้างหรือรูปทรงสูงชัน และบริเวณนี้จะกลายเป็นที่ราบสูงบะซอลต์ ที่ราบและเนินเขา เพราะเกิดจากลาวาไหลแผ่เป็นบริเวณกว้างและทับถมกันหลายชั้น เมื่อแข็งตัวก็จะกลายเป็นที่ราบสูงบะซอลต์ ที่ราบ และเนินเขา

    ปัจจุบัน บริเวณเกาะกรากาตัวสามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ เพราะดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของเศษหินภูเขาไฟในบริเวณนั้นจะมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่พืชต้องการ สะสมอยู่ในดินอย่างมากมาย บริเวณเกาะกรากาตัวจึงเป็นแหล่งที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

                       ในอนาคตภูเขาไฟกรากาตัวจะระเบิดอีก เนื่องจากภูเขาไฟที่ใกล้จะมอดแล้วหรือดับลงนั้น เชื่อกันว่า จะมีน้ำแร่ร้อนปะทุออกมา ซึ่งเรียกว่า น้ำพุร้อนและบางครั้งจะพบลักษณะคล้ายควันไฟพุ่งออกมา ซึ่งเรียกว่า ฟูมาโรลส์ (Fumaroles) ซึ่งภูเขาไฟกรากาตัวไม่มีลักษณะดังกล่าว ดังนั้นภูเขาไฟกรากาตัวจะระเบิดได้อีก ยังคงเป็นภูเขาไฟมีพลังอยู่


    บทที่ 2

    1.นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับทวีปเคลื่อนที่อย่างไร ให้อธิบายและยกตัวอย่างหลักฐานหรือข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เหตุผลสนับสนุน
    ตอบ
    ในการอธิบายเกี่ยวกับทวีปเคลื่อนที่ ทวีปเคลื่อนที่จากการเกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด จึงทำให้เกิดการแยกตัวของเปลือกโลก และแยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่าง ๆ จาก 1 ทวีปที่เป็นพื้นแผ่นเดียวกันก็กลายมาเป็น 3 และก็แยกออกมาเลื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ทวีป

    2.แผ่นทวีปใดที่ดูเหมือนว่าเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน เพราะเหตุใด
    ตอบ
    เพราะขอบตะวันออกของอเมริกาใต้กับขอบตะวันตกของแอฟริกาใต้เพราะสามารถต่อกันได้พอดี อาจตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่าทวีปทั้งสองอาจเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน แล้วต่อมาก็แยกออกจากกันเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกส่วนหนึ่งและทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่งจนกลายเป็นมหาสมุทรแอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก และแผ่นทวีปมีการเคลื่อนตัวแยกไปเรื่อยๆ จนปรากฏเป็นตำแหน่งและรูปร่างของทวีปทั้งสองดังปัจุบัน

    3.การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชองพืชตระกูลเฟิน กลอสซอพเทอริส ในแผ่นดินของแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย สามารถบอกอะไรเกี่ยวกับความเป็นมาของแผ่นทวีปได้บ้าง
    ตอบ
    เมื่อยุคสมัยก่อนโลกของเราอาจจะเป็นพื้นแผ่นเดียวกันมาก่อน และก็เริ่มแยกออกจากกันโดยอาจจะเกิดจากแผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิดก็อาจจะทำให้แผ่นดินเคลื่อนตัวและแยกออกจากกันจนกลายเป็นทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบัน

    4.จากภาพจงอธิบายเกี่ยวกับเปลือกโลกใต้มหาสมุทร
    ตอบ
    ตามความเข้าใจเป็นแนวขอบของแผ่นธรณีภาคที่แยกออกจากกัน เนื่องจากการดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง จนแมกมาสามารถถ่ายโอนความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลกได้ อุณหภูมิและความดันของแมกมาจึงลดลงเป็นผลให้เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด ปรากฏเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร

    5.เพราะเหตุใดปรากฎการณ์ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว มักเกิดตามแนวการมุดตัวของแผ่นธรณีภาค
    ตอบ
    เพราะแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมตัวกลายเป็นแมกมาและปะทุขึ้นมาบนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร

    6.นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonic) อย่างไรบ้างจงอธิบาย
    ตอบ
    ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonic)สิ่งที่ใช้อธิบายการกำเนิดของแผ่นดิน มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตที่ตายทับถมกันอยู่ในหินบนเปลือกโลก

    7.รอยโค้ง รอยแตก รอยเลื่อน ในหินมีลักษระเหมือนกันหรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไรไม่เหมือนกัน
    ตอบ
    - รอยคดโค้งเกิดจากชั้นหินถูกเปลี่ยนรูป-ในระดับเกินขีดอิลาสติก(elastic limit)ชั้นหินจะมีการเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก(plastic deformation)เมื่อมีความดันรอบข้าง(confining pressure)กระทำทุกทิศทางหรือหินหนืดดันขึ้นมา หินจะเกิดการเคลื่อนที่แบบ flow ในทิศทางใดก็ได้
    - รอยแตก(Fracture)เป็นการแตกอย่างไม่มีทิศทางที่แน่นอนและพื้นผิวของรอยแตกไม่เป็นระนาบเรียบ
    - รอยเลื่อน(Fault) เมื่อหินถูกความเค้นหรือถูกแรงกระทำ จนมีความเครียดเกินขีดพลาสติกหินจะแตกหักเคลื่อนที่ออกจากกันเป็นรอยเลื่อน(fault)ขึ้น ปกติการเคลื่อนที่ของหินจะเกิดในทิศทางขนานกับรอยเลื่อน

    8.จากการศึกษาแผนที่โลก ภมิประเทศของโลกมีลักาณะอย่างไรบ้าง และลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ตอบ
    ลักษณะภูมิประเทศของโลกแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
    - ที่ราบ – ที่ราบสูง – เนินเขาและภูเขา
    ลักษณะเหล่านี้เกิดจากการผันแปรของเปลือกโลก

    ขอบคุณคุณกวางมากค่ะสำหรับบทที่ 2 ^/\^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×