ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โขน

    ลำดับตอนที่ #1 : กำเนิดโขน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.08K
      2
      27 ม.ค. 50

    โขน เป็นมหรสพชั้นสูงที่ใช้แสดงในงานสำคัญมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เชื่อว่ามีมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 โดยสันนิษฐานว่าโขนได้พัฒนามาจากการแสดง 3 ประเภท คือ

    ·       การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์

    ·       การแสดงกระบี่กระบอง

    ·       การแสดงหนังใหญ่

     

    การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์

    การชักนาคดึกดำบรรพ์ หรือการกวนน้ำอมฤต เป็นการละเล่นที่ยิ่งใหญ่อยู่ในราชสำนักพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพราะมีภาพสลักเรื่องนี้อยู่ที่ปราสาทนครวัดก่อนสมัยอยุธยา จนกระทั่งตราไว้ ในกฎมณเฑียรบาล ชื่อ "ชักนาคดึกดำบรรพ์" ในพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งยกย่องว่าเป็นแบบแผนที่พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยายุคแรกๆ จึงจัดให้มีขึ้น

     

     

     

    การแสดงกระบี่กระบอง

    ในสมัยโบราณคนไทยฝึกวิชาการต่อสู้ ไว้สู้รบกับข้าศึกและเพื่อป้องกันตัวอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้จึงมีทั้งอาวุธสั้นและอาวุธยาว เช่น มีด ดาบ หอก ไม้พลอง อันเป็นที่มาของวิชากระบี่กระบองนอกจากเป็นศิลปะการป้องกันตัว ในสมัยโบราณแล้วยังสามารถนำไปแสดงเป็นมหรสพได้อีกประเภทหนึ่ง จนกระทั้งได้รับการปรับปรุงนำมาผสมผสานกับการแสดงโขนในเวลาต่อมา

     

     

     

    การแสดงหนังใหญ่

    การแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น ดังปรากฏในกฎมณเฑียรบาล   

    หนังใหญ่นั้นเป็นตัวหนังจะทำมาจากหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีไม้ผูกทาบ ตัวหนังทั้งสองข้าง โดยผูกให้พ้นจากตัวหนังลงมาพอสมควรเพื่อใช้มือจับสำหรับเชิด

    หนังใหญ่มีอิทธิพลกับโขน 2 อย่าง คือ

    1.       เรื่องราวที่ใช้แสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์

    2.       ลีลาการเชิดหนัง ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นท่าแสดงของโขนในเวลาต่อมาโดยเฉพาะบทยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า "เต้นโขน"

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×