ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ { BY:: FEVERI}

    ลำดับตอนที่ #8 : 2 ปราชญ์บัณฑิต :: } ` ชั้นศิลปินเดินดิน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 247
      0
      11 มี.ค. 57

     



    ชั้นที่ 1 ชั้นศิลปินเดินดิน



    สวัสดีเหล่า "ศิลปินเดินดิน"
    หากเจ้าต้องการเป็นนักปราชญ์บัณฑิตผู้ทรงความรู้เเล้วไซร้
    ที่ห้องเรียนนี้ เจ้าจะต้องเรียนรู้ัทักษศิลปะดาร์ค การเขียนกวี วรรณกรรม
    วาดภาพ ร้องเพลง และดนตรี
    ในชั้นเรียนนี้ หากเจ้าไม่เข้าใจอันใด สามารถถามได้ที่กล่องคอมเม้นด้านล่าง










    ภารกิจ

    ภารกิจ คือ สถานการณ์จำลอง เพื่อทดสอบทักษะของท่าน
    ในชั้นนี้ มีภารกิจทั้งหมด 5 ภารกิจ ท่านจะภารกิจเหล่านี้หรือไม่ก็ได้
    และเลือกทำกี่ภารกิจก็ได้ 

    โดยคะเเนนจากภารกิจที่ท่านทำ จะช่วยในการสอบเพิ่มระดับของท่าน

    และเมื่อทำภารกิจเสร็จสิ้น ท่านจะไ้ด้รับรางวัล
    ท่านสามารถเลือกทำ "ภารกิจ" ต่างๆดังนี้ 


    คลิกเพื่อทำภารกิจ "หยอกเย้าสตรีไร้นาม"

    คลิกเพื่อทำภารกิจ "กล่อมเจ้ามังกร"
    คลิกเพื่อทำภารกิจ "ราชินีของราชัน"

    [ใครที่ทำภารกิจแล้วยังไม่มีชื่อ กรุณาติดต่อที่ไอดีศ.ด่วน! พร้อมลิงค์หน้าที่ทำ]
    [ID]

    ข้อควรระวัง
    อนึ่ง ระว่างการเดินทางทำภารกิจของท่าน
    ท่านอาจจะต้องแวะตามสถานที่ต่างๆ และจำเป็นต้องโพสคอมเม้น
    เมื่อท่านโพสคอมเม้น  ไม่ว่าที่ใดก็ตามในดาร์คแลนด์
    ให้แนบบัตรประ
    นักเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ด้้วยเสมอ
    และผลการทำภารกิจของท่าน จะปรากฏที่หอพักของท่าน ทุกวันศุกร์




    การสอบเลื่อนระดับ

    หากท่านศึกษาบทเรียนในชั้นนี้จนถ่องแท้แล้ว กรุณาทำข้อสอบ
    เพื่อสอบเพิ่มระดับ...เข้าสู่ ชั้นที่ 2 ชั้น "บัณฑิตต่ำต้อย"
    หากท่านสอบผ่าน จะได้รับเหรียญตราให้เข้าเรียนในชั้นต่อไป


    คลิกเพื่อทำข้อสอบเลื่อนระดับสู่ชั้นต่อไป






    บทเรียนที่ 1 ศิลปินผู้เขียนกวี

    สวัสดี...ขอต้อนรับเข้าสู่ห้องเรียนสายปราชญ์บัณฑิต ข้า เนริว เป็นอาจารย์ประจำสายนี้ เราจะได้เจอกันอีกนานสำหรับคนที่เรียนสายนี้  เอาล่ะ...มาเข้าบทเรียนกันก่อนดีกว่า

    สำหรับขั้นเรียนแรกเรามาเรื่องกวีนิพนธ์
    มาทำความเข้าใจกันก่อน...

         กวีนิพนธ์ นั้นคือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา อนึ่งนั้นก็เพื่อประโยชน์ทางสุทรียะ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ทั้งหลาย เรียกโดยรวมกว่า บทกวี  

    คุณสมบัติพอสังเขปของกวีนิพนธ์ คือ เน้นการประพันธ์อย่างมีศิลปะโดยสื่อความหมายระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านโดย ใช้บทกวีเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะด้วยตัวอักษร ถ้อยคำ จังหวะหรือลำนำเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการได้อย่างกว้างไกล ลึกซึ้ง

    คุณสมบัติของกวีนิพนธ์จึงแตกต่างไปจากบทร้อยกรองที่เรามักยึดในการแต่งตามฉันทลักษณ์ ที่ทำให้ขาดอารมณ์และถูกจำกัดกรอบในการเขียน   

    ความหมายของคำว่า ดาร์ค คือ การใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่หลงระเริงกับความสุข ไม่โหยหาความตาย ไม่หวาดกลัวความตาย แต่ ''การเข้าใจความตาย''  เพราะเมื่อเราเข้าใจมันแล้ว จะทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีค่า ทำให้เรามองความมืดที่เคยทำให้หวาดกลัว เป็นความมืดมิดที่ทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติยามกลางคืนอันแสนสงบ

    ดังนั้น...กวีดาร์ค คือ บทประพันธ์ที่แสดงให้ถึงความสงบของความตาย กวีที่แสดงให้เห็นธรรมชาติสีดำในยามไร้แสงสว่างที่ทำให้ผู้คนหวาดกลัวในสีดำ ที่สงบนิ่ง

    การประพันธ์บทกวีนั้นต้องใช้อารมณ์เป็นตัวชักจูง อารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่าน โดยผู้ประพันธ์ต้องใช้อารมณ์ของตนในการพรรณาบทกวีออกมา เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้และสัมผัสได้ถึงอารมณ์ของบทกวีนั้น ๆ

    เอาล่ะ..เข้าใจความหมายของกวีดาร์คแล้วสินะ มารู้จักกับกลอนต่อเลยละกัน 


    กลอนสุภาพ
    กลอนตัวแรก....น่าจะรู้จักกันดี...”กลอนสุภาพ”
    กลอนสี่สุภาพ หรือที่เราเรียกกันย่อ ๆ ว่า “กลอนแปด” 





    กลอนสี่สุภาพ
    กลอนตัวแรก....น่าจะรู้จักกันดี...”กลอนสี่สุภาพ”
    กลอนสี่สุภาพ หรือที่เราเรียกกันย่อ ๆ ว่า “กลอนสี่” 




     ตัวอย่างกลอนสี่แบบง่ายๆ
    ดวงจันทร์วันเพ็ญ           ลอยเด่นบนฟ้า
    แสงนวลเย็นตา                     พาใจหฤหรรษ์
    ชักชวนเพื่อนยา                    มาเล่นร่วมกัน
    เด็กน้อยสุขสันต์                    บันเทิงเริงใจ

    กาพย์ยานี11

           



    ยกตัวอย่างกาพย์ยานี ง่ายๆที่นักเรียนน่าจะเคยคุ้นหูมาบ้าง
    วิชาเหมือนสินค้า        อันมีค่าอยู่เมืองไกล
    ต้องยากลำบากไป        จึงจะได้สินค้ามา
    จงตั้งเอากายเจ้า        เป็นสำเภาอันโสภา
    ความเพียรเป็นโยธา        แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
    นิ้วเป็นสายระยาง        สองเท้าต่างสมอใหญ่
    ปากเป็นนายงานไป        อัชฌาสัยเป็นเสบียง
    สติเป็นหางเสือ        ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
    ถือไว้อย่าให้เอียง        ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
    ปัญญาเป็นกล้องแก้ว        ส่องดูแถวแนวหินผา
    เจ้าจงเอาหูตา        เป็นล้าต้าฟังดูลม
    ขี้เกียจคือปลาร้าย        จะทำลายให้เรือจม
    เอาใจเป็นปืนคม        ยิงระดมให้จมไป
    จึงจะได้สินค้ามา        คือวิชาอันพิศมัย
    จงหมั้นมั่นหมายใจ        อย่าได้คร้านการวิชาฯ



            การเขียนบทกวี เพียงแต่มีกรอบบังคับ มีคำจำกัด เราจึงต้องคิดหรือรู้สึกให้เป็นคำที่สั้น กระชับ แต่มีความหมายมาก ต้องลดทอนภาษาแบบเขียนบันทึกประจำวัน ให้เหลือคำสำคัญที่จะบรรจุลงแต่ละวรรคให้ได้  ตรงนี้ต้องใช้เวลาฝึกหัดบ่อย ๆ ขอเพียงอย่าเพิ่งเอางานเขียนชิ้นแรก ๆ ของเราไปเปรียบเทียบกับงานเขียนของผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพราะอย่าลืมว่าผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายต่างก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง เหมือนเรามาก่อนเช่นกัน



    บทเรียนที่ 2 ศิลปินเรียงร้อยร้อยแก้ว


    ร้อยแก้ว หรืองาน วรรณกรรม คือการเขียนเพื่่อเล่าเรื่อง มีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง บทความ เรียงความ นวนิยาย นิทาน ฯลฯ ความพิเศษของงานวรรณกรรมคือไม่ถูกจำกัดด้วยกฏระเบียบของฉันลักษณ์ ผู้เขียนสามารถใส่จินตนาการได้อย่างลึกซึ้งจนเห็นภาพ ด้วยโวหารของตัวเอง

    หากถามว่าจะทำเช่นไรจึงจะเขียนได้...ให้เริ่มต้นที่การเขียน...สิ่งในสิ่งที่ตนรู้จัก

    ก่อนอื่น...เราอาจจะต้องหาเเรงบันดาลใจ ...สำหรับงานเขียนแนวดาร์ค ท่านสามารถหาแรงบันดาลใจได้จาก

    1 จากดนตรีเเนว Neo-classic หรือ Dark-wave ซึ่งเป็นคนตรีเเนวดาร์คที่พัฒนาจากดนตรีคลาสสิค ผสมผสานกับเสียงสวดในโบสถ์ ในบรรยากาศที่เยือกเย็น เหมาะเเก่การนำมาเป็นเเรงบันดาลใจในการสร้างจินตนาการอย่างยิ่ง ตัวอย่างงวงดนตรีเเนวนี้ ได้แก่ Arcana, Nox Arcana,Dark Sanctuary

    2. จากภาพวาดเเนวดาร์ค ศิลปะเเนวดาร์ค ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากที่จะทำให้นักศึกษเกิดจินตนาการ เพราะในภาพเหล่านั้นย่อมวาดเรื่องราวเเละสร้างเเรงบันดาลใจไม่รู้จบ ให้เกิดการตั้งคำถามต่างๆ

    3. ชื่นชมสถานที่ เช่น อุทยาน ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม รูปปั้น โบสถ์ ในสถานที่ต่างๆ ในยามสงบ เเล้วจินตนาการถึงเหตุการณ์ใดๆที่อาจเคยเกิดขึ้นในสถานที่เเห่งนั้น นึกภาพตนเองเป็นหญิงสาวที่พลัดหลงมา หรือ เพ้อว่าตนมองเห็นวิญญาณของใครสักคนกำลังรอคอยคนรักที่ประตูหน้าต่าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างเเรงบันดาลใจอย่างยิ่ง


    การเป็นนักเขียนที่ดี จะต้องมี ความรู้สึกต่อเรื่องที่ตนถ่ายทอด งานเขียนที่ดีออกมาจากความรู้สึกของผู้เขียน ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นโดยกระทันหันหลังจากไปกระทบบางสิ่งบางอย่าง ก่อเกิดแรงบันดาลใจ อาจรู้สึก เปี่ยมสุข เปี่ยมความหมาย หรือรู้สึกนิ่งลึกดิ่งจมในเหวหุบแห่งความเศร้า ฯลฯ

                วิธีการนำเสนอเนื้อหาของงานเขียนมีความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์ที่มี กฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวเหมือนสูตรเคมี เคล็ดลับการเขียนที่อยากฝากไว้ก็คือ เขียนให้ตรงรู้สึก  นึกอีกภาพขึ้นเปรียบ  เรียบเรียงคมความคิด  ประดิษฐ์ถ้อยคำ เขียนให้ตรงความรู้สึก
              
      งานศิลปะทุกแขนงล้วนเป็นงานที่ใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างไปยังผู้ เสพรับ ถ้าเราเคยเขียนบันทึก อนุทิน หรือเขียนอะไรเล่นตามใจอยากเขียน สังเกตไหมว่าคำเหล่านั้นใช้แทนความคิด ความรู้สึกของเราได้ดีในระดับหนึ่ง

    การเขียน ควรเเสดงให้เห็นเป็น“รูปธรรม” ซึ่งจะให้ความรู้สึกได้คมชัดมากกว่าการกล่าวถึงนามธรรมอย่างเลื่อนลอย ซึ่งจะกระทบใจกระทบความรู้สึกของผู้อ่าน

    นอกจากนี้ งานเขียนที่ดีควรจะบาดคมความคิดลงไปในความรับรู้ของผู้อ่าน ให้เก็บไปคิดใคร่ครวญ ตีความ ต่อยอดความคิดต่อไป







    บทเรียนที่ 3 จิตรกรผู้ขยับพู่กัน

     บทจิตรกรขยับปลายพู่กัน..จารย์จะเน้นเรื่องศาสตร์ทางด้านศิลปะวาดภาพ
           
    ก่อนอื่น....ขออธิบายก่อนเลยว่า คนทั่วไปมักคิดว่า “ศิลปะดาร์ค” กับ “ศิลปะแบบโกธิค” คืออย่างเดียวกัน ขอบอกไว้ตรงนี้ว่าเข้าใจผิด เพราะ....

    ศิลปะ แบบโกธิคเป็นศิลปะในช่วง12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของ อิตาลี  โดยปัจจุบัน ศิลปะแบบโกธิคได้รับความนิยมมากในกลุ่มคนทั่วไปเนื่องมาจากการแต่งกายแบบโก ธิคจำได้ติดตากว่าคือ ชุดฟูฟ่อง ใช้ลูกไม้ประดับให้ดูหรูหรา เน้นโทนสีเข้ม ๆ เป็นหลัก แต่...

    ศิลปะแบบดาร์คคือ ความเรียบง่ายในความหวาดกลัว ชุดเรียบ ๆ เน้นสีเดียวเป็นหลัก ช่วงมากในจะอยู่ในศตวรรษที่ 14 และศตวรรษที่ 17 เล็กน้อย โดยศิลปะแบบดาร์คจะสะท้อนแนวคิดด้านลบ หรือด้านมืด ไปในเเนวทางเสียดสี และสะท้อนเเนวคิดทางจิตวิทยาด้านลบของมนุษย์ เช่น ความรู้สึกหวาดกลัว ความรู้สึกเพ้อฝัน ความรู้สึกหลอกตัวเอง ความรู้สึกรังเกียจ ทำให้ผู้ชมรู้สึก ลุ่มหลง คลั่งใคล้ งดงาม ชวนหลงใหล แต่ก็มีความน่าพรั่นพรึงเเละลึกลับบรรจุในภาพ

    รู้แล้วใช่ไหมว่าศิลปะ แบบดาร์คเป็นแบบไหน...ตอนนี้จะเริ่มเรียนการวาดภาพและองค์ประกอบต่าง ๆ ก่อนที่จะวาดภาพได้ต้องรู้จัก”องค์ประกอบสี”ก่อน องค์ประกอบสีในการใช้สีในการวาดภาพดาร์ค ไม่จำกัดว่าต้องเป็นสีดำหมอง หรือมืดเท่านั้น ภาพที่สดใส สีสันฉูดฉาดก็อาจจะเป็นภาพดาร์คได้ ถ้าในเรื่องราวนั้น เต็มไปด้วยเเนวคิดของด้านดาร์ค
    “องค์ประกอบสี” หรือที่เราเรียกกันง่าย ๆ ว่า “วงจรสี”



     

    วงจรสี
    เกิดจาก...สีขึ้นที่ 1 ประกอบด้วยสี แดง เหลือง และสีน้ำเงิน สีพวกนี้คือแม่สี เป็นสีที่ไม่สามารถเอาสีอื่นมาผสมกันเพื่อให้ได้สีนี้ เมื่อนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกัน ก็จะเกิดสีขึ้นมามากมาย ซึ่งประโยชน์ จากการที่เรานำสีมาผสมกันทำให้เรา สามารถสีต่าง ๆ มา ใช้ได้ตามพอใจ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่งดงาม ตามความพอใจขอผู้สร้าง สีที่เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกัน เกิดสีใหม่เมื่อนำมาจัดการเรียงอย่างเป็นระบบ รวมเรียกว่าวงจรสี

    สีขั้นที่ 2 เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 1 มาผสมในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
    ประกอบด้วยสีเขียว ส้ม ม่วง

    สี ขั้นที่ 3 เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 2 ผสมกับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียงกันได้สีแตกต่างออกไป ได้แก่ สีเหลืองแกมเขียว น้ำเงินแกมม่วง แดงแกมม่วง แดงแกมส้ม
    สีเหลืองแกมส้ม และสีน้ำเงินแกมเขียว

    หลักการเลือกสี Color Combination
    1.monochromatic คือการใช้สีเดียว เพื่อสร้างความแตกต่าง ด้วยระดับความมืด ความสว่างของสี (โมโนโทน)
    2.triads คือการใช้สีตามสีที่อยู่ตัดกันใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความแตกต่างของสี อย่างชัดเจน ลดระดับของความเข้นได้
    3.analogous การใช้สีตรงข้ามกัน สามารถช่วยเน้นความโดดเด่นได้ดี การใช้สีดำ หรือเทา เพื่อลดความรุนแรงของสี นอกจากนั้นการใช้สี 2 สีที่แตกต่างกันมาก จะทำให้มีความสำคัญเท่ากันดังนั้นจึงควรลดความเข้มของสีหนึ่งลง
    5.split - complements การใช้สีผสม เป็นผสมผสานระหว่างสีโทนร้อนและเย็น โดยเริ่มจากการเลือกสีใดสีหนึ่งมาจับคู่กับอีก 2 สีในโทนสีตรงข้ามกัน
    โอเค...เรียนกันมาสักพักแล้ว...เบรคหน่อย ให้เวลา 10 นาทีไปยืดเส้นยืดสายได้...กลับจะเรียนตอนเรื่อง”องค์ประกอบศิลป์”


    องค์ประกอบศิลป์
            การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ  เป็น หลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่  2  ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ   ของ ศิลปะ อันได้แก่  เส้น  สี  แสงและเงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม  ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Art Composition)
       
    การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ คือ

    1.  สัดส่วน (Proportion)
             คือ  ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย     ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
            1.1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด     หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์
            1.2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ

    2. ความสมดุล (Balance)
             ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ  ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วน ต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ    ดุลยภาพในงานศิลปะ มี  2 ลักษณะ คือ
            1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล    เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
                1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์   ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกันใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน  แต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้  

    3. จังหวะลีลา (Rhythm)
         จังหวะลีลา  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ เกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย  การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กันทำ  ให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างมากมาย  จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์  การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็น  การเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาล ใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย

    4. การเน้น (Emphasis)
           การเน้น เป็น  การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ   เป็นประธานอยู่ ถ้าส่วนนั้นๆ อยู่ปะปนกับส่วนอื่น ๆ  และมีลักษณะเหมือน ๆ กัน  ก็อาจถูกกลืน หรือ ถูกส่วนอื่นๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่าบดบัง งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธาน  จะทำให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกัน ปราศจากความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้  3  วิธี คือ   
    4.1. การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตก ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้ง กับส่วนอื่น จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ต้อง พิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวม และทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่  
      4.2. การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)  เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก ออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจ   เพราะเมื่อ แยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมา   ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่าง    
     4. 3. การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมา  และการจัดวางตำแหน่งที่ เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกัน

    5. เอกภาพ (Unity)
            หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้าน เนื้อหาเรื่องราว  เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว การสร้างงานศิลปะ  คือ  การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน  ความยุ่งเหยิง  เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่  2 ประการ คือ
           5.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี ความเรียบง่าย  
          5.2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน


    พื้นฐานการเรียนทัศนศิลป์ 
    ที่ต้องใช้ร่วมกับการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แล้ว คือ
    1.เส้น(line)
     ร่อง รอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป  ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปร่างรูปทรง   เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด สามารถให้ความหมาย แสดง  ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2  ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก  ที่แตกต่างกันอีกด้วย


    2.สี(color)
      คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆอย่างแยกไม่ออก โดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย  การจัดตกแต่งบ้าน  ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี  เครื่องแบบต่าง ๆ ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว  ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ  สมจริงและน่าสนใจ และเป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์

    3.รูปร่าง-รูปทรง(Shape & Form)
         รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ  ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล  
         รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง   ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน เช่น รูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร  ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน  รูปร่างและรูปทรงที่มีอยู่ในงานศิลปะมี  3  ลักษณะ คือ        

    รูป เรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือ คำนวณได้ง่าย มีกฎเกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม  รูปวงกลม รูปวงรี

    รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิต   ที่สามารถ  เจริญเติบโต  เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงรูปได้  เช่น   รูปของคน  สัตว์  พืช   

    รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิต หรือแบบอินทรีย์    แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพล   และการกระทำจากสิ่งแวดล้อม  เช่น รูปก้อนเมฆ  ก้อนหิน  หยดน้ำ ควัน   ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง
    รูปอิสระมักมีลักษณะ ขัดแย้งกับ รูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์  ในขณะที่รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิต   หรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำ   จนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจน   ไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินทั้งคัน  เครื่องบินตก    ตอไม้ที่ถูกเผาทำลาย หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง   

     4.ค่าน้ำหนัก
           คือ   ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู   หรือ  สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน  เป็นต้นนอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด    การใช้ค่าน้ำหนักมีความสำคัญคือ  ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ และ ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ

    5.พื้นผิว  (Texture)
    หมาย ถึง ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถ  รับรู้ได้ ว่ามีลักษณะอย่างไร ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี  2  ประเภท คือ   
         1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของ  ผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ   ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตกรรม  และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
         2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิว  วัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ   จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่  มือสัมผัสเป็นกระดาษ  เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตา  ให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น     จบเรื่องภาพวาดไปแล้ว....ใครไม่ฟัง ไม่เรียน จารย์ขอให้สอบเลื่อนไม่ผ่านล่ะกัน...






    บทเรียนที่ 4 คีตกรและเสียงเพลง


    คีตกวี คือ ผู้ประพันธ์ดนตรี...เป็นหนึ่งในกวีเช่นกัน แต่เป็นผู้แต่งเพลงที่จะต้องแต่งทั้งท่วงทำนองหลักและแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีไปบรรเลง อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และใน ภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตาม  โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการ ประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม


    การแต่งเพลงสักเพลงจำเป็นที่จะต้องใช้สิ่งเหล่านี้ในการแต่งเพลงให้เสร็จไปได้ด้วยดี

    แนวเพลง 
    เป็นการจำแนกเพลงที่มีลักษณะ พื้นฐานต่าง ๆ ร่วมกันโดยอาจไม่ได้คำนึงถึงเกี่ยวกับด้านดนตรีอย่างเดียว (เช่น ที่มา ของเพลง และ เนื้อหาของเพลง)อาจพูดได้ว่า แนวเพลงนั้นพิจารณาจาก เทคนิค รูปแบบ บริบท ที่มา และเนื้อหาของเพลง เป็นต้น

    แนวเพลงสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่คราว ๆ ได้ดังนี้

    Classic : ดนตรีบรรเลงที่แต่งโดยคีตกวี เช่นโมสาร์ท เบโธเฟน บาค จะแบ่งเป็นยุคๆครับ เช่นบาโรค คลาสสิค โรแมนติคอะไรประมาณนี้ครับ ยังสามารถแบ่งเป็นรูปแบบวงได้ด้วยครับ เช่นวงซิมโฟนี วงแชมเบอร์ วงสตริงควอเตท

    Blues : ดนตรีที่เกิดจากทาสในอเมริกา มีหลายประเภทเช่นเดียวกันครับ เช่น Blues แบบชิคคาโก Blues Funk

    Jazz : ดนตรีที่พัฒนามาจากดนตรี Blues โดยคนผิวขาวเอามาพัฒนา เน้นเรื่องอิมโพรไวท์ มีหลายประเภท เช่น Bossanova ,Swing Jazz, BeBob ,Fution Jazz,Acid Jazz เป็นต้น

    Rock : ดนตรีที่เน้นความหนักแน่น พัฒนามาจาก Blues แล้วกลายเป็นร้อคแอนโรล ต่อมาแตกแขนงไปมากมาย เช่น Hardcore , Heavy , Death , Melodic ,Emo เป็นต้นครับ

    NewAge : ดนตรีที่เน้นปรัชญา ใช้ซาวส์เลียนเสียงธรรมชาติ ฟังแล้วนึกถึงธรรมชาติ เช่น Kitaro,Enya,

    Pop : ดนตรีป้อบปูล่าใช้ได้หลายความหมายครับ อย่างนึงก็คือ เพลงที่ฮิต มีคนชอบฟังเป็นจำนวนมาก อย่างเพลงของ The Beatle อีกความหมายก็คือแนวเพลงที่ไม่ซับซ้อนมาก เหมาะสำหรับฟังเล่นเรื่อยๆ

    Hiphop (Rap): ดนตรีที่เน้นจังหวะ กับ การร้องอิมโพรไวท์ ไปด้วยกัน อย่าง Eminem , JayZ

    Dance : ดนตรีที่เน้นจังหวะสำหรับเต้น นิยมเปิดในผับ หรือสถานบันเทิงทั้งหลายครับ

    ดนตรีพื้นบ้าน : แต่ละประเทศจะมีดนตรีพื้นบ้าน อย่างดนตรีไทย สก้อตแลนด์ก็จะมีดนตรีสก้อตที่ใช้ปี่สก้อตเป็นเครื่องดนตรีหลักเป็นต้น

    Electronic music : เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า ตัวอย่างเช่นเสียงที่เกิดจาก Telharmonium, Hammond organ และกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนดนตริอีเล็กทรอนิกส์แท้ ๆ สามารถใช้เครื่อง Theremin, เครื่องสังเคราะห์เสียง และคอมพิวเตอร์ ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบในดนตรีอาร์ตตะวันตก ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 และได้รับความนิยมในเวลาต่อมา ในปัจจุบันดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ใช้หลากหลายแนวเพลง ตั้งแต่ดนตรีอาร์ตทดลอง หรือดนตรีป็อป อย่างเช่น เพลงแดนซ์

    การเขียนทำนอง
     
    โดยทั่วไปทำนองเพลงจะแบ่งเป็น 4 ท่อน ท่อนละ 8 ห้อง ห้องละ 4 จังหวะ....จำไว้ง่าย ๆ เลยน่ะ 4 - 8 - 4 ท่องไว้ให้ดี ๆ น่ะ 4 - 8 - 4  ทำนองท่องที่ 1,2 และ 4จะเหมือนกัน ปลายท่อนที่1กับ2จะแตกต่างกันเล็กน้อย
    ส่วนท่อน 3 ที่เราเรียกกันว่า"ท่อนฮุก".... จะแต่งใหม่มีทำนองแตกต่างจาก 3 ท่อนที่พูดไปข้างต้น

       การเขียนทำนอง ....ต้องมีพื้นฐานทางดนตรี...เพราะการเขียนทำนองต้องอาศัยพื้นฐานในการเขียนคอร์ดที่ถูกต้องตามหลักดนตรี..แล้วเรียบเรียงเป็นทำนองเพลง จากนั้นก็นำมาเคาะจังหวะตามที่กำหนดไว้ด้วยเครื่องดนตรี...เครื่องดรตรีนิยมใช้มาเคาะจังหวะกันมากที่สุด คือ เปียโนกับกีต้าร์  เคาะให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ...เพื่อไม่ให้ทำนองเพลงที่แต่งไว้เพี้ยน..พอใส่คำร้องเข้าไปแล้วจะไม่เพราะ เคาะเป็นจังหวะไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งเราจำเสียงได้ก็ค่อย ๆ ใส่คำร้องลงไปในเพลง...วิธีการแต่งแบบนี้เป็นวิธีการที่แต่งเพลงอออกมาได้เพราะที่สุด
           
    ส่วนวิธีรองลงมา...

    คือ เขียนทำนองก่อนแล้วใส่คอร์ด หรือไม่ก็เขียนทำนองและคอร์ดพร้อม ๆ กันแล้วค่อยเอาไปใส่คำร้อง...วิธีนี้ก็แต่งได้ดีกว่าวิธีแรก..แต่เรื่องความไพเราะของทำนองก็ยังอยู่เหมือนเดิม



    โครงเรื่องของเพลง
    และก่อนการเขียนเพลง..สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ โครงเรื่องของเพลง หลักการมีอยู่ 2 อย่างคือ

    1. ความหมายของเพลง ว่าเราจะให้สื่อความหมายอะไร บางทีการกำหนดหัวข้อหรือคิดถึงวลี คำ ประโยค บลาๆๆๆ เพื่ออธิบายหรือแสดงความรู้สึกในตอนนั้นก็อาจจะช่วยเรื่องแรงบันดาลใจได้ นะ

    2. อารมณ์ เราจะแต่งให้คนฟังหรือคนที่เห็นเนื้อเพลงรู้สึกอย่างไร

    คำร้องบทประพันธ์ 
    ใช้หลักการแต่งคล้าย ๆ กับการแต่งกลอน กาพย์ แต่จะต่างตรงที่
    1. เขียนถูกโน๊ต (ครบโน๊ต ไม่เพี๊ยน ไม่เหน่อ ถูกคำสั้น-ยาว) เราต้องเขียนให้ถูกโน๊ต ครบ โน๊ต ไม่เพี๊ยน และไม่เหน่อ เราควรจะให้ความเคารพเมโลดี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรแก้เมโลดี้ ยกเว้นในบางกรณีที่เราสามารถเสนอความคิดเห็นเราได้ ว่าอยากให้เพิ่มหรือ ลดตรงไหน แต่ไม่ใช่ว่าจะตั้งหน้าตั้งตาจะแก้เมโลดี้อย่างเดียว 

    การเขียนให้ครบโน๊ตก็คือ ในแต่ละท่อนมีกี่โน๊ต หรือมีเสียงอยู่กีครั้ง ก็ควรจะเขียนให้ได้ตามนั้น  เช่นในประโยคหนึ่งมี เมโลดี้อยู่ 7 ตัว เราก็ควรจะเขียนให้ได้เสียงในภาษา 7 เสียง หรือที่เรียกว่า 7 พยางค์  ทั้งนี้ต้องให้เสียงมันตรงกับเมโลดี้ด้วย ถึงใช้ได้ และที่สำคัญ ควรจะเขียนให้ร้องได้ สื่อสารได้เข้าใจ ไม่เพี๊ยนโน๊ต จนความหมายเปลี่ยนหรือ ประโยคฟังแล้วขำไปเลย ต้องระวังเรื่อง คำสั้น – ยาว เราต้องฟังเสียงโน๊ต โน๊ตบางตัวสั้น บางตัวยาว เราต้องเขียนให้ถูกตามนั้น จะช่วยให้เพลงฟังดู สบายหู และลื่นขึ้นเป็นกองเลย เช่น ข้าวเปล่า (ยาว-ยาว)  สปา (สั้น – ยาว)  กระตุก (สั้น – สั้น)

    ถ้า เสียงเมโลดี้มัน สั้น – ยาว เราไปใส่คำว่า “ปวดท้อง” ซึ่งเป็นเสียง ยาว -ยาว  ก็ไม่ถูกต้อ แถมยังทำให้ร้องยากขึ้นด้วย

    2. คิดคำจากเมโลดี้เด่นๆ  ต้องฟังเมโลดี้ในเพลง เสียงไหนที่มันสะดุดหูเรา เราชอบและเกิดไอเดีย เราสามารถเอาตรงนั้นมาขยายเป็นเพลงได้ เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ช่วยให้เราแต่งเพลงง่ายขึ้น

    3. คิดท่อน Hook ก่อน เป็นวิธีการที่ดีในการแต่งเพลงเพราะเมื่อเราแต่งท่อนHookได้แล้ว จะเกิดแรงในการเขียนเรื่องราวให้สอดคล้องกันทันที

    4. ล้อคำ ล้อโน๊ต การล้อคำ ล้อโน๊ต จะทำให้เพลง สละสลวยจำง่ายขึ้น

    5. เล่นคำ เป็นการเล่นเสียงตัวอักษรหรือคำที่เหมือนกัน

    6. ใช้คำขัดแย้งกันมาเล่าเรื่อง  เป็นอีกเทคนิดหนึ่งที่ทำให้เพลงเราน่าสนใจมากขึ้น

    7. ใช้สำนวน หรือการเปรียบเทียบ การใช้สำนวนเปรียบเทียบ ก็คือการที่เรา หาสำนวน หรือการเปรียบเทียบใส่ไว้ในประโยค ไม่ว่าจะเป็น ทั้งเรื่อง / ทั้งพล็อต ของมัน  หรือจะเป็นเฉพาะบางจุด ก็ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่ง ที่หลุดออกจากเพลงเดิมๆ ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเพลงได้ง่านมากขึ้น เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับเพลง

    8. หาประโยคมีน้ำหนัก หรือประโยคเด็ดๆมาไว้ในเพลงบ้าง หรือประโยคเด็ดๆ มาสอดแทรกในเพลง  จะช่วยทำให้เพลงกินใจขึ้นเยอะ

    9. เขียนเป็นธีม (Theme)  คือการเอาเรื่องราวมาใส่ในเพลง เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เพลงเราน่าสนใจ เช่นเพลงที่เกี่ยวกับความรักก็ ใช่ธีมแนวความรักเข้ามาเป็นตัวเพิ่มสเน่ห์กับเพลง

    10. เขียนเป็นพล็อต (Plot) เขียนเป็นพล็อต หรือคิดเป็นพล็อต ก็คือการที่เราเขียนเรื่อง หรือสิ่งที่เราอยากจะเล่าก่อน โดยที่เราไม่คำนึงถึงความยาวหรือสิ่งใดๆเท่าไหร่แล้วเราค่อยมาดูใจความ  อาจจะเจอ “ของดี” และเราก็หยิบหรือเอาจุดนั้นมาเป็นเพลง

    11. วางแผนการเล่าเรื่อง เป็นหัวใจสำคัญเลยก็ว่าได้ เนื่องจาก เพลงถือเป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง เมื่อเราสื่อสารในวงกว้างเพลงจึงควรจะเป็นเรื่องที่ทุกคน  หรือคนส่วนมากเข้าใจได้ ไม่ใช่ว่าเข้าใจอยู่เพียงคนเดียวหรือเข้าใจเพียงเฉพาะบางกลุ่ม ยกเว้นว่า เราทำเพลง หรือแต่งเพลงเพื่อฟังคนเดียว หรือเฉพาะกลุ่มนั้นๆ แต่ถ้าหากเราต้องการสื่อสารให้คนส่วนมากเข้าใจ การวางแผนการเล่าเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ


    เครื่องดนตรี
    เอาล่ะ มารู้จักกับอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราแต่งเพลงได้สำเร็จกันบ้าง..
    เครื่องดนตรีคืออะไร? คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้งานสำหรับการ ผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง อาจจะเป็นเพียง จังหวะธรมดาๆหรือจะเป็นทำนองไพเราะก็ว่ากันไป
    โดยหลักการ แล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เราเรียกว่า นักดนตรี
    เครื่องดนตรีมีหลายชนิด ทั้งเครื่องสาย เครื่องตี เครื่องเป่า ฯลฯ และแน่นอนว่า เครื่องดนตรีต่างชนิดกันมันก็ต้องมีวิธีบรรเลงที่ต่างกันตามประเภทของมัน...หวังว่า นักเรียนของอาจารย์คงไม่มีใครเอาเครื่องตีไปเป่า เครื่องสีไปตีกลางจัตุรัสดาร์คหรอกนะ^^;;


    จบบทเรียนขั้นที่ 1 แล้วน่ะ...หวังว่า..ทุกคนคงเอาไปใช่จริง ๆ กันนะ ขอให้โชคดีในการสอบเลื่อนขั้น เด็ก ๆ ที่น่ารัก





    UG  Theme Cafe' 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×