ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Touken ranbu มาป่วยดาบกันเถอะ!

    ลำดับตอนที่ #8 : ► Atsu Toushirou

    • อัปเดตล่าสุด 30 เม.ย. 58











    + Atsushi Toushiro [厚藤四郎] +
    'บอบบางพริ้วไหว ซุกซ่อนความแกร่งที่ควบแน่นเอาไว้'

    อัทซึชิ โทชิโร่ ศาสตราระดับสมบัติแห่งชาติ หนึ่งในคอลเลคชั่นมีดพกประจำตัวของอิเอยาสุ
    และเป็นเล่มแรกสุด(พี่คนโตของมีด)ในตระกูลโทชิโร่ที่ตีโดยสุดยอดช่างทำมีดสั้นแห่งญี่ปุ่น
    สโลแกนประจำตัวและความหมายของชื่อคือ 'หนา,อดทน,แข็งกล้า'
    จากเอกลักษณ์ที่ในบรรดามีดพกด้วยกัน อัทสึชิแกร่งและหนาที่สุด ไม่แพ้ดาบสั้น
    และเกือบเทียบชั้นดาบมาตรฐานได้ด้วยซ้ำ อีกทั้งด้วยขนาดเล็กนั้น ทำให้ง่ายต่อการพกพา
    แต่ทะลวงเกราะหนาๆได้อย่างง่ายดาย และความงดงาม ก็ต้องตาผู้ที่เข้าใจในศาสตร์แห่งดาบ
    ผสานประโยชน์ใช้สอยและรูปลักษณ์ออกมาได้อย่างน่าชื่นชม

    ด้วยรูปร่างของเด็กชายวัยแตกหนุ่มจึงทำให้มีนิสัยค่อนข้างแอคทีฟกระตือรือร้น
    แต่กลับเชื่อฟัง ว่านอนสอนง่าย สั่งอะไรไม่เคยเถียง เพราะความที่เป็นพี่ชายของน้องๆมีดสั้นทั้งหลาย
    จึงมักพยายามทำตัวเป็นแบบอย่าง ในแบบห้าวๆ อดทนกับทุกสิ่ง และค่อนข้างภูมิใจกับความเป็น
    "yoroidoushi" (มีดเจาะเกราะ) ของตัวเองสุดๆ

     

    -ตีและดรอปได้ยากที่สุดในหมู่มีดสั้นด้วยกัน-

    (cr.Touken Ranbu)


    อัทสึ โทชิโร่【厚藤四郎】+

    เหมือนกับพี่น้องโทชิโร่คนอื่นๆ เขาถูกตีขึ้นโดย “อะวาตากุจิ โยชิมิทสึ(粟田口吉光)” ในช่วงระหว่างยุคคามาคุระ (ค.ศ.1185 – 1300)
    ตามบันทึกของพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว 厚藤四郎 อ่านว่า “อัทสึชิ โทชิโร่” แต่ในตัวเกม Touken ranbu
    กลับอ่านว่า อัทสึ โทชิโร่ ซึ่งเป็นเพราะเหตุใดก็ไม่ทราบ (ถ้าใครทราบก็สามารถแชร์ข้อมูลได้ค่ะ)

    อัทสึเป็นมีดพกที่ค่อนข้างเล็กด้วยขนาดความยาวเพียง 21.8 เซนติเมตร แต่กลับมีความหนาถึง 1.2 เซนติเมตร
    มากกว่ามีดพกปกติทั่วไปที่มีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ทำให้เป็นที่มาของชื่อ “อัทสึ” ที่แปลว่า หนา ส่วนโทชิโร่คือ นามแฝงของช่างตี

    อัทสึถูกออกแบบมาให้มีความหนาเพื่อใช้ในการเจาะเกราะ อาวุธประเภทนี้ถูกเรียกว่า “โยโร่ยโดชิ(鎧通し) ”
    โดยโยโร่ย แปลว่า เกราะ , โดชิ แปลว่า ทะลุผ่าน / ตัดผ่าน เมื่อเทียบกับดาบอื่น อัทสึนั้นไม่มีโซริ (反り,ส่วนโค้งของดาบ)
    เป็นเพียงดาบที่ตรงมากๆ (ส่วนนี้แอดอ่านวนหลายรอบแล้วงงค่ะ ถ้าผิดช่วยบอกแอดหน่อยน้า T 3 T)

    อัทสึนั้นมีประวัติที่ค่อนข้างน่าประทับใจ เขาถูกใช้โดยซามูไรและไดเมียวชื่อดังหลายคนเลยทีเดียวค่ะ!
    ในตอนแรกอัทสึ โทชิโร่นั้นเป็นสมบัติของตระกูลอะชิคากะ ต่อมา “ฮนอะมิ โคโทคุ(本阿弥光徳)”
    นักประเมินค่าดาบที่ทำงานให้กับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ก็ได้ซื้ออัทสึมาจากตระกูลอะชิคากะด้วยความช่วยเหลือจากพ่อค้าแห่งซาไค
    หลังจากนั้นฮนอะมิ โคโทคุก็ได้นำอัทสึไปมอบแก่ “ฮิโตสึยะนางิ นาโอสุเอะ (一柳直末)” นักรบและไดเมียวที่รับใช้โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ

    ไม่นานนักอัทสึก็ถูกส่งมอบไปให้ “คุโรดะ โจซุย(黒田如水)” นักรบ ไดเมียว และยังเป็นเสนาธิการคนสนิทของโทโยโทมิ
    ฮิเดโยชิอีกด้วย และหลังจากนั้นก็ถูกส่งมอบให้แก่ “โทโยโทมิ ฮิเดสึกุ” หัวหน้าที่ปรึกษาของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ

    ในค.ศ. 1595 ฮิเดโยชิได้สงสัยในตัวฮิเดสึกุว่าจะทำการก่อกบฏ ฮิเดสึกุจึงได้วางแผนที่จะไปหาฮิเดโยชิเพื่ออธิบาย
    และพิสูจน์ตนเองว่าบริสุทธิ์ไม่ได้คิดก่อกบฎ แต่ระหว่างทางไปปราสาทฟุชิมิที่ฮิเดโยชิอยู่ ก็ถูก “ฟุคุชิมะ มาซาโนริ(福島正則)”
    ขัดขวางไว้ จนท้ายที่สุดฮิเดสึกุก็ไม่ได้ไปพบฮิเดโยชิ ทำให้ฮิเดโยชิออกคำสั่งให้ฮิเดสึกุทำการเซปปุคุ
    แต่ก่อนที่ฮิเดสึกุจะทำการเซปปุคุ เขาได้นำอัทสึ โทชิโร่ไปให้แก่เด็กรับใช้ของเขา แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ไม่ได้มีเพียงฮิเดสึกุที่ทำการเซปปุคุ
    ครอบครัวและรวมถึงผู้ติดตามของเขาก็ได้โดนบังคับให้ทำการเซปปุคุด้วย บ้างก็ถูกฆ่า มีคนมากกว่า 40 คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่น่าสยดสยองนี้

    จากนั้นอัทสึ โทชิโร่ก็ได้ตกเป็นของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และฮิเดโยชิก็ส่งมอบเขาให้กับ “โมริ ฮิเดโมโตะ(毛利秀元)”
    นักรบและไดเมียวที่คอยรับใช้โมริ เทรุโมโตะ(ซึ่งเทรุโมโตะก็รับใช้ฮิเดโยชิ)

    จนถึงสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) เขาก็ยังถูกครอบครองโดยตระกูลโมริ จนกระทั่งหลานของฮิเดโมโตะได้เสนอ
    อัทสึ โทชิโร่แก่ โชกุนลำดับที่ 4 ของโทคุกาวะ, “โทคุกาวะ อิเอะสึนะ(徳川 家綱)” โดยแลกเปลี่ยนอัทสึ โทชิโร่
    กับทอง 1,000 ก้อน(ปัจจุบันเป็นเงิน มากกว่า 10 ล้านเยน)

    ในปีถัดมา ก็ถูกส่งต่อไปให้ตระกูลย่อยของโทคุกาวะ “ฮิโตสึบาชิ โทคุกาวะ” จากนั้นพิพิธภัณฑ์ราชวงศ์
    (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโตเกียว)ก็ได้มาซื้อต่ออัทสึไป และถูกเก็บไว้ที่นั่นตลอดจนถึงปัจจุบันค่ะ



    (cr.
    Touken ranbu FACT)



     


    © themy  butter
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×