ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : เมาท์ : วิชาหมอ : Neurology สมองสุดหรรษา
วิชา neurology หรือพี่ๆ เรียกสั้นๆ ว่า“นิวโร” เป็นวิชาที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่งครับ เพราะฉะนั้นจำนวนหน่วยกิตจึงมากตามไปด้วยการเรียนนิวโรนั้น จะแบ่งออกเป็นการเรียนภาคทฤษฏี นั่นคือการเรียน lecture ในห้อง และการเรียน lab neuro anatomy โดยส่วนมากจะเรียนไปควบคู่กันในแต่ละวันครับ
การเรียน lecture นั้น อาจารย์จะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานเลยครับ เริ่มจากการแบ่งระดับของสมอง โดยสมองคนเราจะแบ่งเป็นสองแบบ คือแบ่งตามการทำงาน และแบ่งตามตำแหน่งที่วางตัวอยู่ครับ และแน่นอนว่าเราจะต้องเรียนรู้ถึงการทำงานของสมองอย่างเจาะลึก ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ น้องๆ ม.ปลายคงจำได้ว่า cerebellum หรือสมองน้อยนั้นทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ทำให้มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น ไม่ติดขัดเหมือนหุ่นกระป๋องใช่มั๊ยครับ? แต่รู้แค่นั้นยังไม่พอ พี่ๆ ยังได้เรียนเจาะลึกถึง pathway (การเดินทางของกระแสประสาท) เพื่อศึกษาว่าส่วนใดเป็นจุดเริ่มต้นในการสั่งการ ส่งกระแสประสาทต่อไปที่ไหน อย่างไร และสิ้นสุดที่ไหน โดยพี่ๆ ได้เรียนทุกส่วนของสมองเลยครับ ตั้งแต่ Cerebrum-สมองใหญ่ , Cerebellum-สมองน้อย(เหมือนมวยผมคุณยายมั๊ยครับ) , Brain Stem-ก้านสมอง, Spinal cord-ไขสันหลัง, The 12 Cranial Nerves- เส้นประสาทสมองทั้ง12คู่ โดยแต่ละส่วนยังแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ อีกมากมายครับ
มาถึงการเรียน Lab neuro anatomy นะครับ จะมีการศึกษา 5 ช่องทางด้วยกันครับ โดยจะมีอาจารย์ประจำกลุ่ม และ TA (Teacher assistance) คอยให้คำแนะนำครับ
1. Fresh brain หรือสมองสดครับ สมองจากท่านอาจารย์ใหญ่จะถูกนำมาดองฟอร์มาลีนครับ (กลิ่นนี่สุดๆ ไปเลย) น้องจะได้สัมผัสกับสมองจริง และได้ศึกษากายวิภาคด้านนอกครับ เช่น รอยหยัก (จำนวนมหาศาลครับ) ร่องสมองที่สำคัญๆ เพราะจะเป็นตัวแบ่งส่วนของสมองครับ เส้นเลือดต่างๆ ก็สำคัญมากครับ เพราะเส้นเลือดจะเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องโรคได้ครับ (การเรียนสนุกสนานเพราะจะได้ใช้เข็มหมุดปัก และถาม-ตอบกับเพื่อนครับ)
2. Brain box ครับ สมองจะถูกผ่าเป็นส่วนๆแล้วจัดลงกล่องพลาสติกใสครับ เพื่อให้สามารถศึกษาถึงองค์ประกอบด้านในได้ครับ รายละเอียดด้านในเยอะมากครับ
3. Film X-rays และ Film MRI เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ของสมองบนภาพฟิล์ม ซึ่งมีทั้งสมองที่ปกติและผิดปกติครับ(ต้องดูให้ออกครับ เพราะเมื่อเป็นหมอแล้วผ่าสมองคนไข้ออกมาดูไม่ได้ ดูได้แต่วิธีนี้ครับ)
4. Atlas หรือหนังสือภาพ และภาพจากคอมพิวเตอร์ครับ เป็นวิธีการทบทวน และศึกษาด้วยตัวเองที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะบางครั้งสมองสดที่เราศึกษาอาจจะมีเส้นเลือดบางเส้นขาด, หรือมองส่วนต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องดูรูปเอาครับ
5. ศึกษาสายตรงจากอาจารย์ หรือ TA การเรียนlabนิวโร จะทำให้นักศึกษาได้กระชับสัมพันธไมตรีที่ดีกับอาจารย์ครับ(ฮ่าๆ) เพราะจะมีโอกาสได้ซักถามกับอาจารย์โดยตรงเลยครับ
ยังไม่จบครับ พอเรียนทั้งสองอย่างแล้ว ยังต้องเชื่อมโยงองค์ความรู้ให้ได้ครับ การเรียน basic knowledge of disease ก็สำคัญครับ พี่ๆ ได้เรียนโรคทางประสาทวิทยา ว่าโรคนี้มีอาการอย่างไร เกิดจากความผิดปกติของส่วนใดบนสมอง ยกตัวอย่างให้ดูเคสนึงนะครับ สมมติน้องถามเพื่อนว่า “นายอ่านคอลัมน์ใหม่ของ Open Gown 11 ยัง อย่างฮาเลย” แล้วเพื่อนดันตอบว่า “ใคร? รองเท้าคู่นั้นหรอ เรากินไม่ลงหรอก แต่ดูดีเหมือนนายเลยนะ” มาอย่างนี้น้องคงอึ้งครับ และเพื่อนอาจโดนบาทาของน้องด้วยใช่มั๊ยครับ แต่จริงๆ แล้วเพื่อนน้องคนนี้เป็นโรค Wernike’s Aphasia ครับ ผู้ป่วยจะพูดจาไม่รู้เรื่อง และตอบไม่ตรงคำถาม (จริงๆ แล้วพวกเราก็เป็นกันบ่อย ฮ่าๆ) เราก็ต้องมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และศึกษาว่าส่วนใดของสมองเสียครับ
การเรียน Neurology ก็แบ่งง่ายๆ ประมาณนี้แหละครับ แต่ถ้าเจาะลึกจริงๆ แล้วเนื้อหามหาศาลเลยครับ ยังไงน้องคนไหนอยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็สอบถามพี่ๆ ได้นะครับ แล้วน้องๆจะรู้ว่าการเรียนนิวโรสนุกมากครับ : )
นศพ.สาวหล่อประจำคณะ
นศพ.สาวหล่อประจำคณะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น