ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คำถามป่วนจิต คิดจนจิตป่วน

    ลำดับตอนที่ #6 : Bouba/Kiki effect เป็นแบบนี้นี่เอง

    • อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 53


    Bouba/Kiki Effect

    คำถามแบบนี้ฝรั่งเล่นกันมาตั้งแต่ปี 1929 แล้วล่ะแต่ใช้คำอื่น เพิ่งจะมาเปลี่ยนเป็น bouba และ kiki ก็ปี 2001 นี้แหละ จากการทำวิจัยพบว่า คนทั่วไปจะแสดงปรากฏการณ์ bouba/kiki ไปในทางเดียวกันถึง 90 - 98% แม้กระทั่งเด็ก 2 ขวบครึ่งยังตอบเหมือนผู้ใหญ่เลย แต่กลับพบว่าคนที่เป็นออทิซึมจะตอบแบบนี้แค่ 20-60% เอง (คนเป็นออทิซึมมักมีความบกพร่องทางด้านภาษา)

    นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าปรากฏการณ์ kiki/bouba เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านภาษา และมันยังพิสูจน์ให้เห็นอีกอย่างว่าสมองของคนเราสามารถดึงเอาคุณสมบัติทางนามธรรม (ดังเช่นวิธีการเรียกชื่อ) ออกมาจากเสียงที่ได้ยินและรูปร่างที่ได้พบเห็น มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันได้ (ก็เหมือนกับการอุปมาอุปไมยนั่นแหละ)

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อสิ่งต่างๆนั้นไม่ได้เป็นแบบโมเมตามใจข้าซะทีเดียว อย่างคำถามนี้้ ในจิตใต้สำนึกของเราก็มักจะเลือกชื่อ bouba มาจับคู่กับอะไรก็ได้ที่มีรูปร่างกลมๆมนๆ เพราะว่ามันสอดคล้องกับการที่เราต้องทำปากจู๋กลมๆเพื่อสร้างเสียงนี้ออกมา แต่กับรูปร่างหยักๆทื่อๆนั่น ก็ไปสอดคล้องกับวิธีที่เราต้องเกร็งปากเป็นมุมมากกว่าเพื่อสร้างเสียงหนักๆทื่อๆอย่าง kiki

    ปรากฏการณ์แบบนี้อาจเทียบเคียงได้ในสังคมเรา เช่น ถ้าเราไปเจอะเจอกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย เราก็อาจเหมาเอาว่าเค้าเป็นคนแบบไหนจากรูปร่างหน้าตาที่เห็นนั่นแหละ (เอ๊ะ! เกี่ยวกันไหมเนี่ย)

    สำหรับคนที่ตอบไม่เหมือนคนอื่นเค้า...อย่างที่บอก สมองคงมีอะไรพิเศษจริงจริ๊งงง...อิๆ
    ลองเอาไปลองเล่นกับเพื่อนดูนะ


    อ่านเพิ่มเติม

    http://en.wikipedia.org/wiki/Bouba/kiki_effect

    http://www.santiagoiniguez.com/2007/11/the-bouba-kiki.html

    http://cbc.ucsd.edu/pdf/brokenmirrors_asd.pdf

    http://net.educause.edu/ir/library/pdf/ffp0402s.pdf

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×