คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : อนุกรมวิธาน [ชีววิทยา]
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ
1 ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecolosystem Diversity )
2 ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diversity )
3 ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity )
ปัจจัยใด มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยา
โลกแต่ละส่วนมีความแตกต่างของชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่อาศัย ความแตกต่างที่พบจากใต้ท้องทะเล บนพื้นที่ราบจนถึงยอดเขาสูง
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป
ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (species)
โลกของเรามีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดกว่า 1.5 ล้านชนิด เพื่อความสะดวกในการศึกษาจึงมีการจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ โดยในแต่ละกลุ่มที่มีการจัดกลุ่มย่อยที่เล็กลงไปตามลำดับจนถึงกลุ่มย่อยพื้นฐานที่สุดในระบบจำแนกสิ่งมีชีวิตเรียกว่า สปีชีส์ ( species )
สปีชีส์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นประชากรเดียวกันผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกหลานสืบทอดต่อไป
ตัวอย่าง : คนทุกชาติในโลกสปีชีส์เดียวกัน คือ Homo sapiens
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างไปจากสปีชีส์อื่นแต่ความหลากหลายภายในสปีชีส์เดียวกันก็ยังมีอยู่เป็นต้นว่า...
ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ เช่น คนไทย -คนญี่ป่น-คนอังกฤษ
ปลากัดไทย-ปลากัดจีน
ความแตกต่างระหว่างเพศ เช่น เป็ดมัลลาร์ดเพศผู้เพศเมีย
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างทางพฤติกรรมและทางพันธุกรรมมาก จะไม่จัดเป็นสปีชีส์เดียวกัน ดังที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน พบนกจับแมลง 3 ชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกันดังภาพ แต่จะมีการผสมพันธุ์แยกเฉพาะในแต่ละชนิด เนื่องจากแต่ละชนิดมีพฤติกรรมและเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการผสมพันธุ์ นก 3 ชนิดนี้จึงจัดเป็นสัตว์คนละสปีชีส์กัน
บางกรณี สิ่งมีชีวิตแต่ต่างสปีชีส์ซึ่งมีความใกล้ชิดกันสามารถผสมพันธุ์กันได้สุนัขลูกผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในพืชและสัตว์
Ex. สุนัขบ้าน + สุนัขป่า = สุนัขลูกผสม
การเกิดสปีชีส์ใหม่
สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันเมื่อแบ่งกันอยู่เป็นกลุ่มย่อยๆด้วยสาเหตุจากสภาพภูมิศาสตร์หรือเหตุใดๆก็ตามแล้ว มีผลให้เกิดการผสมพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่ม ไม่ผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มซึ่งอาจมีผลมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสืบพันธุ์ การหาอาหารและอื่นๆ กรณีนี้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในประชากรแต่ละกลุ่มจะเปลี่ยนไปจนกลายเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้น เมื่อกลับมารวมกันอีกครั้งก็ไม่ผสมพันธุ์กัน หรือผสมพันธ์อาจได้ลูกที่เป็นหมัน ไม่สามารถสืบลูกหลานร่วมกันได้อีก
คุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ
ประโยชน์
1. ทำให้มนุษย์มีปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
2. เกิดความสมดุลธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตความปกติสุข
3. ทำให้คุณภาพชีวิตมนุษย์ดีขึ้น ทั้งด้านโภชนาการ การแพทย์
4. เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญในธรรมชาติ เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5. เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักรดังนี้
มอเนอรา เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต (Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซอาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria)
ฟังไจ เป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้
โพรทิสตา เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (protozoa) สาหร่ายต่างๆ
พืช
สัตว์
อนุกรมวิธาน ใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้
1.ความคล้ายคลึงของโครงสร้างภายนอกและภายใน
2.ข้อมูลด้านชีววิทยาเชิงโมเลกุล
ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนชนิดเดียวกัน การเปรียบทียบทำให้ทราบจำนวนกรดอะมิโนที่แตกต่างกันในโปรตีน
นั้นของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน และนำไปคำนวณจำนวน นิวคลีโอไทด์น้อยที่สุดเป็นผลให้กรดอะมิโนนั้น ๆ ต่างกันได้
ลำดับของนิวคลีโอไทด์ใน DNA เดียวกัน ซึ่งใช้บอกความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ถูกต้อง
ยิ่งกว่า ลำดับกรดอะมิโน เพราะเป็นการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมโดยตรง
ข้อดีของการเปรียบเทียบข้อมูลด้านชีววิทยาเชิงโมเลกุล คือ ถูกต้องแม่นยำมากกว่าวิธีอื่นๆ สามารถบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเป็นปริมาณได้ และใช้เปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีโครงสร้างคล้ายกันเลยก็ได้
ชื่อของสิ่งมีชีวิต
1. ชื่อสามัญ (common name) คือชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เช่น ต้นแปรงขวด ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ลินเนียสเป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นคนแรก โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ ชื่อแรกคือ "จีนัส" และชื่อที่ 2 คือ "สปีชีส์" การเรียกชื่อซึ่งประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อเรียกว่า "การตั้งชื่อแบบทวินาม (binomial nomenclature) ซึ่งจัดว่าเป็นชื่อวิทยาศาสตร์
หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
1. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเป็นภาษาลาติน หรือรากศัพท์ที่มาจากภาษาลาตินเสมอเพราะภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้ว ความหมายจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ ชื่อแรกเป็น "จีนัส" ชื่อที่ 2 เป็น "สปีชีส์"
3. การเขียนชื่อจีนัสอักษรตัวแรกต้องเป็นตัวใหญ่เสมอ ส่วนอักษรตัวแรกของชื่อสปีชีส์เป็นตัวเล็กธรรมดา
4. การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ต้องให้มีลักษณะแตกต่างจากอักษรอื่น เช่น เขียนเป็นตัวเอียง ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสอง โดยที่เส้นที่ขีดเส้นใต้ชื่อทั้งสองไม่ติดต่อกัน
5. ถ้าทราบชื่อผู้ตั้งชื่อ จะลงชื่อย่อของผู้ตั้งชื่อตามหลังชื่อวิทยาศาสตร์ เช่น ต้นหางนกยูงไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinnia pulcherrima(Linn.) คำ Linn เป็นชื่อย่อของ Linnaeus
6. สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจมีชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนเป็นชื่อที่ถูกต้องส่วนชื่ออื่น ๆ ให้เป็นชื่อพ้อง (synonym)
homologous structure
โครงสร้างฮอมอโลกัส (homologous structure) หมายถึงอวัยวะของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างภายในหรือโครงกระดูกคล้ายกันโดยอวัยวะนั้นๆ อาจจะมีลักษณะภายนอกและการทำหน้าที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้ เช่น ขาหน้าจระเข้ ปีกนกครีบปลาวาฬ ขาหน้าของม้า แขนของคน
analogous structure
โครงสร้างแอนาโลกัส (analogous structure) หมายถึง อวัยวะของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างภายในหรือโครงกระดูกแตกต่างกันทั้งๆ ที่อวัยวะนั้น อาจมีลักษณะภายนอกและการทำหน้าที่เหมือนกัน (หรือต่างกัน)เช่น ปีกของนกกับปีกของแมลง หรือ ครีบของปลาทั่วไปกับครีบของปลาวาฬ
ความคิดเห็น