ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ (เปิดเทอม)

    ลำดับตอนที่ #50 : ชั้นที่ 3 ชั้นนักปราชญ์ชาญฉลาด

    • อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 59


    ชั้นที่ 3 ชั้นนักปราชญ์ชาญฉลาด



    สวัสดีเหล่า "นักปราชญ์ชาญฉลาด"
    หากเจ้าต้องการเป็นนักปราชญ์บัณฑิตผู้ทรงความรู้เเล้วไซร้
    ที่ห้องเรียนนี้ เจ้าจะต้องเรียนรู้ัการเข้าสังคมนักปราชญ์ เรียนรู้ปรัชญา
    การใช้เหตุผล ฝึกหัดเจรจาพาที
    ในชั้นเรียนนี้ หากเจ้าไม่เข้าใจอันใด สามารถถามได้ที่กล่องคอมเม้นด้านล่าง










    ภารกิจ

    ภารกิจ คือ สถานการณ์จำลอง เพื่อทดสอบทักษะของท่าน
    ในชั้นนี้ มีภารกิจทั้งหมด 4 ภารกิจ ท่านจะภารกิจเหล่านี้หรือไม่ก็ได้
    และเลือกทำกี่ภารกิจก็ได้
    โดยคะเเนนจากภารกิจที่ท่านทำ จะช่วยในการสอบเพิ่มระดับของท่าน

    และเมื่อทำภารกิจเสร็จสิ้น ท่านจะไ้ด้รับรางวัล
    ท่านสามารถเลือกทำ "ภารกิจ" ต่างๆดังนี้




    ข้อควรระวัง
    อนึ่ง ระว่างการเดินทางทำภารกิจของท่าน
    ท่านอาจจะต้องแวะตามสถานที่ต่างๆ และจำเป็นต้องโพสคอมเม้น
    เมื่อท่านโพสคอมเม้น  ไม่ว่าที่ใดก็ตามในดาร์คแลนด์
    ให้แนบบัตรประ
    นักเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ด้้วยเสมอ
    และผลการทำภารกิจของท่าน จะปรากฏที่หอพักของท่าน ทุกวันศุกร์





    การสอบเลื่อนระดับ

    หากท่านศึกษาบทเรียนในชั้นนี้จนถ่องแท้แล้ว กรุณาทำข้อสอบ
    เพื่อสอบเพิ่มระดับ...เข้าสู่ ชั้นที่ 4 ชั้น "ศาสตราจารย์ทรงภูมิ"
    หากท่านสอบผ่าน จะได้รับเหรียญตราให้เข้าเรียนในชั้นต่อไป


    คลิกเพื่อทำข้อสอบเลื่อนระดับสู่ชั้นต่อไป






    บทเรียนที่ 1สังคมแห่งปราชญ์

    มารยาทการเข้าสังคมมาตรฐานสากลที่นักปราชญ์ควรเรียนรู้

    1.การส่งเสียงดัง ตะโกนหรือแม้แต่ร้องเพลงในรถเมล์ หรือในร้านอาหาร ถือเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง ในบางประเทศมีกฎหมายกําหนดปรับ-จําโทษร้ายแรง ถ้าได้รับแจ้งว่าคนขับรถเสียสมาธิในการขับซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ สําหรับในร้านอาหารหรือภัตตาคาร ชาวต่างประเทศจะนิยมรับประทานอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็น-ค่ำในโอกาสพิเศษจริงๆ เท่านั้น ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนคลายความเครียด จึงต้องการความสงบสบาย

    2.ในต่างประเทศหลายประเทศไม่นิยมมีกลอนประตูห้องภายในบ้าน แม้แต่ห้องนอน หรือห้องน้ำ ถ้าประตูห้องเปิดอยู่แสดงว่าไม่มีใครอยู่ ถ้าประตูห้องปิดแสดงว่ามีคนอยู่ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีคนอยู่หรือไม่ หรือแน่ใจแต่ต้องการขออนุญาต ต้องเคาะประตูก่อนทุกครั้ง

    3.คําว่า 'please' เมื่อขอร้อง 'thank you' เมื่อขอบคุณ และ 'I?m sorry.' เมื่อขอโทษ ถือว่าเป็น magic words คือคำสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ ในครอบครัวที่ได้รับการอบรมมาดีมีการศึกษาจะใช้คําเหล่านี้ติดปากจนเป็นนิสัย

     4.ครอบครัวชาวอังกฤษมักฝึกให้เด็กๆ ดูแลสุขภาพ ความสะอาด เรียบร้อยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมใด อาหารมื้อเย็น-ค่ำ มักจะเป็นมื้ออาหารที่ทุกคนในครอบครัวได้มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกัน ก่อนรับประทานอาหารต้องล้างมือ ล้างหน้า หวีผมให้เรียบร้อย และพร้อมที่จะขอบคุณพระเจ้าก่อนลงมือรับประทานอาหาร จึงจะดูสกปรกไม่ได้

    5.เมื่อรับประทานอาหารต้องนั่งตัวตรงเสมอ ไม่วางมือหรือเอาข้อศอกเท้าไว้บนโต๊ะ เตรียมพร้อมด้วยการวางผ้ากันเปื้อนไว้บนตัก มิใช่เอาไว้ใต้คอซึ่งจะใช้กับเด็กเล็กๆ ในขณะป้อนข้าว เรียกว่า baby bib

    6.ชาวตะวันตกนิยมรับประทานเนื้อสัตว์ เช่น สเต๊ก จึงใช้มีดและส้อมเป็นหลักในการรับประทาน โดยมักจะใช้มือขวาจับมีดเพื่อตัด และใช้มือซ้ายถือส้อมเพื่อช่วยในการตัด และตักอาหารเข้าปาก จะไม่ใช้มีดตักอาหารเข้าปากโดยเด็ดขาด

    7.ขณะที่รออาหาร ห้ามนําเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารมาเคาะเล่นโดยเด็ดขาด เมื่อรับประทานเสร็จแล้วต้องรวบมีดและส้อมเข้าด้วยกัน และวางเยื้องไปทางซ้าย แสดงว่าเสร็จแล้ว และถือว่าเป็นมารยาทอันดียิ่งที่จะดูแลบริการนำอาหารให้ผู้อื่นก่อนที่จะให้ตัวเอง การแสดงความช่างพูด พูดไปรับประทานไป อาหารเต็มปาก เป็นกิริยาที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง ถ้าจําเป็นก็พูดคุยบ้างค่อยๆ พยายามไม่เปิดปากมาก

    8.จับประตูที่ปิด-เปิดโดยการผลัก (push) หรือดึง (pull) ให้แก่ผู้ที่เดินตามมาข้างหลังเสมอ ยิ่งถ้าเป็นสุภาพสตรีหรือคนแก่ สุภาพบุรุษจะต้องเปิดรอให้สุภาพสตรีหรือคนแก่นั้นผ่านไปก่อนด้วยการแสดงน้ำใจ

    9.เมื่อรับโทรศัพท์แล้วจําเป็นต้องวางหูโทรศัพท์ก่อน หรือวางหูโทรศัพท์เมื่อโทร.เสร็จ ต้องวางหูโทรศัพท์ลงอย่างเบาที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงความไม่เต็มใจ ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดความรู้สึกในแง่ลบได้

    10.การขึ้นรถเมล์โดยสารหรือในรถไฟ อย่าแย่งกันขึ้น-ลง เพราะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ไม่มีวัฒนธรรม ระหว่างนั่งหรือยืนบนรถในอังกฤษผู้คนนิยมอ่านหนังสือเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการมองหน้าคนอื่น หรือใช้วิธีหลบสายตาลงมองระดับแค่ขา-รองเท้า ดังนั้นจึงมีข้อ

     11 คือ ผู้คนจึงให้ความเอาใจใส่ในเรื่องรองเท้าเป็นอย่างดี และจะขัดสะอาดเรียบร้อยเสมอ

     12.ผู้คนนิยมสวมหมวก การเปิดหมวกถือเป็นการทักทายอย่างหนึ่ง เวลาสุภาพบุรุษพบสุภาพสตรีจะเปิดหมวกทักทายเป็นการให้เกียรติ หรือเปิดหมวกเมื่อมีขบวนพาเหรดถือธง ชาตินํามา เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ผู้คนทักทายกันด้วยวิธีนี้น้อยลงทุกที บางแห่งกลายเป็นการเปิดหมวกล้อเลียนกันมากกว่าจะจงใจทักทายกัน









    บทเรียนที่ 2 ปรัชญาดาร์คแลนด์

    - Dark  ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าสีดำมืด ไม่ใช่การแต่งหน้าแต่งตัวหลอนๆ แต่เป็นศิลปะ
    - Dark  ไม่ใช่ความสยดสยอง เเต่คือความสงบ
    - Dark เป็นปรัชญาความคิดและเป็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง
    - Dark เตือนใจตนเองเสมอว่า.....ความมืดมิดและความตายนั้น...ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป.....
    - Dark เข้าใจในชีวิต เข้าใจการเกิดแก่เจ็บตาย แต่มิได้หมายความว่าชื่นชอบกระหายความตายเเละความเจ็บปวด
    - Dark  ไม่ใช่ผี ไม่ใช่ความสยดสยองและยิ่งไม่ใช่ความรุนแรง แต่คือชีวิต..คือการพินิจคิดถึงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
    - Dark  ให้ความสำคัญต่อความตายเพราะนั่นคือจุดหมายปลายทางของมนุษย์ทุกคน
    - Dark มองว่าความตายคือสิ่งที่ทำให้เวลาในช่วงที่มีชีวิตนั้นมีคุณค่า
    - Dark  ยกย่องบูชาความตายแต่ไม่ใช่โหยหาความตายและไม่เคยสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับ ภาพความตายของสัตว์หรือมนุษย์คนใด ถึงกระนั้นก็มิได้หวาดกลัวมันจนเสียสติ
    - Dark  มักสอนคนที่รู้จักว่าจงมีชีวิตอยู่ด้วยสติ อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว
    - Dark  ไม่ใช่คนรักความรุนแรง แต่เปราะบางมากกว่าคนทั่วไป ร้องไห้และเจ็บปวดง่ายมาก
    - Dark  ยิ้มได้หัวเราะได้ แต่โดยทั่วไปมักไม่อยากมีความสุขเกินกว่าเหตุ เพราะเมื่อมีความสุขมากๆคนเรามักจะลืมสติ แต่มีชีวิตอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ


    อ้างอิงจาก
    ที่นี่





    บทเรียนที่ 3 เจรจาพาทีเยี่ยงปราชญ์

    แล้วก็...สิ่งสำคัญในการเจรจาเข้าสังคมคือ.
    การ รู้จักวางตน ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม

    2. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี 7 ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า “จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”

    3. การรู้จักการพูดจา ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูด ที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และไม่คุยเสียงดัง หรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้

    4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรง เพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ อย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด

    5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน

    6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ

    7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม
    8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ “การช่วยเหลือผู้อื่น” พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า “จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด” การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    บทเรียนในขั้นนี้..จารย์หวังว่าทุกคน คงจะทำกันได้จริง เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากที่สุด ก่อนสอบเลื่นขั้น..อย่าลืมอ่านทบทวนให้ดีล่ะ ขอให้สอบผ่าน






     
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×