ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสมบัติ!! สรุปวิทย์-คณิต (บลาๆ) ม.4 a little bit จ้า ^O^

    ลำดับตอนที่ #5 : การให้เหตุผล (3) [math]

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 53


    สรุป การให้เหตุผลแบบอุปนัย

                -อ้างจากตัวอย่างหรือประสบการณ์ย่อยหลายๆ ตัวอย่าง แล้วสรุปเป็นความรู้ทั่วไป

    -จากเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง

                -โดยใช้การคาดคะเน

                -จากประสบการณ์ของผู้สรุป

                -สิ่งที่กำหนดให้จะสนับสนุนผลสรุป แต่จะไม่สามารถยืนยันข้อสรุปได้

                - ย่อย >> ใหญ่ คือการนำข้อค้นพบจากตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่างมาสรุปเป็นความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการ

     

    สรุป การให้เหตุผลแบบนิรนัย

                -อ้างเหตุผลจากความรู้พื้นฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับกันมาก่อน

                -เมื่อเหตุ (ข้อสมมติ) เป็นจริง แล้วทำให้เกิดผลสรุป

                -สิ่งที่กำหนดให้ (เหตุ) สามารถยืนยันผลสรุปได้

                -ถ้าเหตุนั้นทำให้เกิดผลสรุปได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล

                -ถ้าเหตุทำให้เกิดผลสรุปไม่ได้ = การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล

                -ใหญ่ >> ย่อย คือการนำความรู้ทั่วไป กฎ สูตร หรือหลักการมาใช้ในการหาคำตอบหรืออธิบายหรือให้เหตุผลกับกรณีเฉพาะอันหนึ่ง

     

    การตรวจสอบความสมเหตุสมผล

    การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี แล้วแต่ลักษณะของข้อความที่กำหนดให้มา วิธีการหนึ่งคือการใช้แผนภาพ (แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์) โดยจะต้องตรวจสอบแผนภาพทุกแผนภาพที่เป็นไปได้ทุกกรณีว่าแสดงผลตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ทุกกรณี แสดงว่า การสรุปผลสมเหตุสมผล
                แต่ถ้ามีบางกรณีที่ไม่สอดคล้องกับผลสรุป (ไม่จำเป็นต้องวาดแผนภาพทุกกรณี) แสดงว่า การสรุปผลไม่สมเหตุสมผล  

                ตัวอย่างของข้อความและแผนภาพที่แสดงความหมายของข้อความที่ใช้ในการอ้างเหตุผล

     

    ข้อความ

    แผนภาพ

    1) สมาชิกของ A ทุกตัวเป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัวเป็นสัตว์เลือดอุ่น

                 

    2) ไม่มีสมาชิกของ A ตัวใดเป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง ไม่มีงูตัวใดที่มีขา



     

    3) มีสมาชิกของ A บางตัวเป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง รถโดยสารบางคันเป็นรถปรับอากาศ



     

    4) สมาชิกของ A บางตัวไม่เป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง รถโดยสารบางคันไม่ได้เป็นรถปรับอากาศ



     

    5) มีสมาชิกของ A หนึ่งตัวที่เป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง สุนัขของฉันเป็นสุนัขพันธุ์ไทยแท้


     

    6) มีสมาชิกของ A หนึ่งตัวไม่เป็นสมาชิกของ B

    ตัวอย่าง สุนัขของพิมไม่ใช่สุนัขพันธุ์ไทยแท้



     

              ถ้าแผนภาพที่วาดกรณีที่เป็นไปได้ทุกกรณีแสดงผลตามที่กำหนด จึงกล่าวได้ว่าการสรุปผล  สมเหตุสมผล  แต่ถ้ามีแผนภาพที่ไม่แสดงผลตามที่สรุปไว้  การสรุปผลนั้นไม่สมเหตุสมผล

     

    ตัวอย่างที่ 1

    เหตุ         1) นักเรียนทุกคนเป็นมนุษย์
                   2) มนุษย์ทุกคนต้องหายใจ

    ผลสรุป : นักเรียนทุกคนต้องหายใจ

     

    แสดงแผนภาพได้ดังนี้

     

    จากเหตุ 1) จะได้ว่า

     จากเหตุ 2) จะได้ว่า

     

     

     จากเหตุ 1)   และ   2)    จะได้ว่า

    จากแผนภาพ จะได้ว่า นักเรียนทุกคนต้องหายใจ แสดงว่า ผลสรุปสมเหตุสมผล

     

    ตัวอย่างที่ 2

    เหตุ         1) ปลาทุกตัวเป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่
                   2) สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ทุกตัวเป็นสัตว์ที่มีขน

    ผลสรุป : ปลาเป็นสัตว์ที่มีขน

    ให้ A แทนเซตของปลา
    ให้ B แทนเซตของสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่
    ให้ C แทนเซตของสัตว์ที่มีขน

     

    แสดงแผนภาพได้ดังนี้

     

    จากเหตุ  1) จะได้ว่า

    จากเหตุ  2) จะได้ว่า

     

     

    จากเหตุ  1)  และ  2)  จะได้ว่า

    จากแผนภาพ จะได้ว่า ปลาเป็นสัตว์ที่มีขน แสดงว่า ผลสรุปสมเหตุสมผล

     

    ตัวอย่างที่ 3

    เหตุ         1) เรือทุกลำลอยน้ำได้
                   2) ถังพลาสติกลอยน้ำได้

    ผลสรุป : ถังพลาสติกเป็นเรือ

     

    แสดงแผนภาพได้ดังนี้ ให้ C แทนถังพลาสติก

     

    จากเหตุ 1)  และ  2) จะได้ว่า

                                   (1)

     (2)

    จากแผนภาพ จะเห็นว่า(1)ถังพลาสติกไม่ได้เป็นเรือ แสดงว่า
                    ผลสรุป ไม่สมเหตุสมผล

     

    ตัวอย่างที่ 4

    เหตุ         1) นายธนาคารเป็นคนรวย
                   2) นาย ก.เป็นนายธนาคาร

    ผลสรุป    นาย ก. เป็นคนรวย

     

    จากเหตุ  1) จะได้ว่า

    จากเหตุ  2) จะได้ว่า

     

     

    จากแผนภาพ แสดงว่าผลสรุป   สมเหตุสมผล

     

    ตัวอย่างที่ 5

    เหตุ        1) นักฟุตบอลทุกคนเป็นคนที่มีสุขภาพดี
                  2) นาย ข. เป็นคนที่มีสุขภาพดี

    ผลสรุป    นาย ข. เป็นนักฟุตบอล

    ให้ A แทนเซตของนักฟุตบอล
    ให้ B แทนเซตของคนที่มีสุขภาพดี

     

    จากเหตุ  1) จะได้ว่า

    จากเหตุ  2) จะได้ว่า

    (1)

    (2)  

     จากแผนภาพ (2) จะเห็นว่า นาย ข. ไม่ได้เป็นนักฟุตบอล แสดงว่า
                                                  ผลสรุป  ไม่สมเหตุสมผล

     

    การตรวจสอบการสมเหตุสมผล

                การตรวจสอบว่าข้อสรุปสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความที่กำหนดมาให้ วิธีหนึ่งคือ การวาดแผนภาพตามสมมติฐานที่เป็นไปได้ แล้วจึงพิจารณาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่สรุปไว้หรือไม่

                 ถ้าแผนภาพ สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น สมเหตุสมผล

    ถ้าแผนภาพ ไม่สอดคล้องกับ ผลที่สรุปไว้ กล่าวว่า การให้เหตุผลนั้น ไม่สมเหตุสมผล (ไม่สอดคล้องเพียง 1 กรณี ก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผล)

    เรียกการตรวจสอบการสมเหตุสมผลแบบนี้ว่า การอ้างเหตุผลโดยการใช้ตรรกบทของตรรกศาสตร์

     

    *หมายเหตุ ในการแสดงผลสรุปไม่สมเหตุสมผล เราไม่จำเป็นต้องเขียนแผนภาพทั้งหมดทุกกรณี โดยอาจจะยกเฉพาะกรณีที่ แผนภาพไม่สอดคล้องกับผลสรุปเพียงกรณีเดียวก็พอ

                **หมายเหตุ เมื่อยอมรับเหตุเป็นจริงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แล้ว ต่อให้ผลสรุปขัดแย้งกับความเป็นจริงทางโลก แต่หากเป็นจริงตามการให้เหตุผลนั้นแล้ว ก็ถือว่า การให้เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล


    -------
    ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่ลอกมาจากอินเตอร์เน็ตค่ะ
    เนื่องจากบิวต้องทำหนังสือคณิตศาสตร์ส่งครู
    อาจจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะค้า~

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×