ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ (เปิดเทอม)

    ลำดับตอนที่ #49 : ชั้นที่ 2 ชั้นบัณฑิตต่ำต้อย

    • อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 59


    ชั้นที่ 2 ชั้นบัณฑิตต่ำต้อย



    สวัสดีเหล่า "บัณฑิตต่ำต้อย"
    หากเจ้าต้องการเป็นนักปราชญ์บัณฑิตผู้ทรงความรู้เเล้วไซร้
    ที่ห้องเรียนนี้ เจ้าจะต้องเรียนรู้นอบน้อมถ่อมตน เข้าห้องสมุด
    รอบรู้ดาราศาสตร์ โลกเเละจักรวาล
    ในชั้นเรียนนี้ หากเจ้าไม่เข้าใจอันใด สามารถถามได้ที่กล่องคอมเม้นด้านล่าง










    ภารกิจ

    ภารกิจ คือ สถานการณ์จำลอง เพื่อทดสอบทักษะของท่าน
    ในชั้นนี้ มีภารกิจทั้งหมด 4 ภารกิจ ท่านจะภารกิจเหล่านี้หรือไม่ก็ได้
    และเลือกทำกี่ภารกิจก็ได้
    โดยคะเเนนจากภารกิจที่ท่านทำ จะช่วยในการสอบเพิ่มระดับของท่าน

    และเมื่อทำภารกิจเสร็จสิ้น ท่านจะไ้ด้รับรางวัล
    ท่านสามารถเลือกทำ "ภารกิจ" ต่างๆดังนี้





    ข้อควรระวัง
    อนึ่ง ระว่างการเดินทางทำภารกิจของท่าน
    ท่านอาจจะต้องแวะตามสถานที่ต่างๆ และจำเป็นต้องโพสคอมเม้น
    เมื่อท่านโพสคอมเม้น  ไม่ว่าที่ใดก็ตามในดาร์คแลนด์
    ให้แนบบัตรประ
    นักเรียนศาสตร์มืดแห่งดาร์คแลนด์ด้้วยเสมอ
    และผลการทำภารกิจของท่าน จะปรากฏที่หอพักของท่าน ทุกวันศุกร์





    การสอบเลื่อนระดับ

    หากท่านศึกษาบทเรียนในชั้นนี้จนถ่องแท้แล้ว กรุณาทำข้อสอบ
    เพื่อสอบเพิ่มระดับ...เข้าสู่ ชั้นที่ 3 ชั้น "นักปราชญ์ชาญฉลาด"
    หากท่านสอบผ่าน จะได้รับเหรียญตราให้เข้าเรียนในชั้นต่อไป


    คลิกเพื่อทำข้อสอบเลื่อนระดับสู่ชั้นต่อไป





    บทเรียนที่ 1 คุณสมบัติบัณฑิตต้องนอบน้อม

    บัณฑิตที่ดี ย่อมมีคุณสมบัติสำคัญคือความนอบน้อมถ่อมตน แม้พวกเจ้าจะเป็นปราชญ์ทรงปัญญาเพียงใด แต่ปัญญานั้นจะหาประโยชน์มิได้ หากพวกเจ้าปฏิบัติตนต่ำช้า กักขฬะ หรือ ข่มเหง ดูหมิ่นผู้อื่น

    “มารยาท” เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย วาจา ที่สะท้อนออกมาจากจิตใจ เป็นข้อปฏิบัติของบุคคลที่แสดงต่อผู้อื่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

    มารยาท เป็นระเบียบแบบแผนการประพฤติที่ดีงามอันแสดงถึงพฤติกรรมที่สุภาพเรียบร้อย ละมุนละไมทั้งทางกาย วาจาโดยมีใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้แสดงออกได้อย่างเหมาะสม

    การถ่อมตัว คือการไม่ยกตนข่มท่าน เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้การสนทนาเป็นไปด้วยความราบรื่น การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม เพราะโดยธรรมชาติแล้ว คนเรามักเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ หรือเกิดความอิจฉาริษยากันขึ้นมาได้ง่าย ๆ

    บัณฑิตผู้่ำต่ำต้อยพึงรู้ไว้ว่าการยกตนข่มท่าน หรือคุยโอ่ถึงความสามารถของตัวเองจนเกินเลยไปนั้น จะกลายเป็นการโอ้อวด การแสดงความนอบน้อมถ่มตน แสดงออกได้ 3 ทาง

    1. การแสดงออกทางกาย ได้แก่ การแสดงกิริยาท่าทางที่สุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบกระด้าง ไม่ทำท่าหยิ่งยโส ไม่มองคนด้วย สายตาเหยียด ๆ รู้จักแสดงความเคารพผู้ใหญ่กว่าทั้งด้านชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ รู้จักให้เกียรติแก่สตรี และพร้อมที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนทางกายต้องเป็นไปด้วยความจริงใจ ไม่ใช่แสแสร้งหรือแสดงอาการพินอบพิเทาเกินกว่าเหตุ จนกลายเป็นการประจบสอพลอ

    2. การแสดงทางวาจา ได้แก่ การพูดจริงด้วยถ้อยคำที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ น่าฟัง ไม่หยาบคาย นุ่มนวล ชวนให้สบายใจ รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสมถูกกาละเทศะ และถูกกับบุคคล

    3. การแสดงทางใจ ได้แก่ การมีจิตใจอ่อนโยน การมองโลกในแง่ดี เนื่องจากใช้ปัญญาไตร่ตรองแล้วว่า “คนเรานั้นจะให้ดีพร้อมบริบูรณ์ไปทุกอย่าง เป็นไปไม่ได้ แม้ตัวเราเองก็เช่นกัน” การมีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ จะทำให้การพูดและกิริยาท่าทางที่แสดงออกมาเป็นไปด้วย ความอ่อนน้อมถ่อมตน





    บทเรียนที่ 2 บัณฑิตกับห้องสมุด

    บัณฑิตผู้่ำต่ำต้อยพึงรู้ไว้ว่าตำราเป็นสิ่งมีค่าที่พวกเจ้าจะต้องแสวงหา
    บัณฑิตอาจฉลาดในวันนี้ แต่อาจโง่เมื่อวันพรุ่งนี้มาเยือน
    นั่นเพราะว่าความรู้เกิดขึ้นทุกวัน...บัณฑิตจึงไม่ควรทะนงตนจนเกินไป
    หมั่นฝึกตน ศึกษาความรู้ไว้...
    ห้องสมุดจึงเป็นอีกจุดหมายที่บัณฑิตมักไปนั่งพบปะกัน เป็นสังคมของบัณฑิต
    พวกเขาจะพูดคุย ถกเถียง เรื่องราวอันมีประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ใช้อารมณ์
    แต่ใช้ัญญา
    พวกเจ้า บัณฑิตผู้่ำต่ำต้อยสามารถใช้บริการของห้องสมุดต่างๆในดาร์คแลนด์ได้เพื่อการนี้






    บทเรียนที่ 3 รอบรู้ดาราศาสตร์ โลก จักรวาล

    นัปราชญ์ตั้งแต่โบราณมักศึกษาเร่องดวงดาว อันเป็นศาสตร์เก่าแก่ศาสตรหนึ่ง

    ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก

    ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์ก็ถูกค้นพบเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย

    ตั้งแต่สมัยโบราณ ดาราศาสตร์ประกอบด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ การสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์โดยจะอยู่ในสายพลังมนตรา จะไม่ขอพูดถึงในสายนี้

    ตั้ การค้นพบสิ่งต่างๆ ในดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว

    สิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า ถึงทั้งสองศาสตร์จะเกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน

    การดูดาว จะสอนดูดาวแบบเบื้องต้น...แล้วก็ดาวสำคัญ ๆ ให้
    หลักการดูดาวเบื้องต้น หลักการดูดาวเบื้องต้น
    1. ดูในคืนข้างแรม หรือคืนเดือนมืด
    2. ปราศจากแสงภาคพื้นรบรวนเช่นแสงไฟฟ้า ต่าง ๆ
    3. ปราศจากเมฆหมอกบดบัง
    4. ดูในที่โล่งแจ้ง ปราศจากสิ่งบดบังสายตาภาคพื้นดิน เช่นต้นไม้ อาคารบ้านเรือน
    5. มองหาความแตกต่าง ของดาวเคราะห์และดาวฤก ษ์
    ดาวเคราะห์ จะไม่มีแสงในตัวเอง แต่ปรากฏเห็นได้เพราะอาศัยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ 

    ดาวฤกษ์ จะมีแสงสว่างในตัวเอง มีแสงระยิบระยับ อยู่เป็นกลุ่มไม่เคลื่อนที่ เรียงกันอยู่อย่างไรก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง ดาวแต่ละดวงในกลุ่มจะปรากฏสว่างต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง

    เราสามารถ ศึกษา และสังเกตุการณ์ เกี่ยวกับการขึ้น และตกของดวงดาว ได้ตั้งแต่ หลังจาก ดาวอาทิตย์ลับขอบฟ้า ไปแล้ว 18 องศา หรือประมาณ 50 นาที จนระทั่งแสงเงินแสงทอง เริ่มจับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออก

    เป็นอย่างไงบ้างบทเรีบนขั้นที่ 2 ยากไหม? ถ้ายากล่ะก็....จารย์แนะนำลาออกแล้วลงเรียนใหม่ปีหน้า ในสายอื่นน่ะ^^ เพราะบทเรียนในขั้นต่อไป...ก็คงยากเกินกว่าที่จะเรียนเหมือนกัน เอ้า!!! ขอให้สอบเลื่อนผ่านกันทุกคน






     
     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×