ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    HEALTH TIPS ▶ เคล็ด(ไม่)ลับกับสุขภาพ

    ลำดับตอนที่ #4 : ๓..."ดวงตา"เป็นหน้าต่างของหัวใจ

    • อัปเดตล่าสุด 17 ส.ค. 54


    Eye
    Style


    ดูแลรักษาดวงตาอย่างไร...ไม่ให้เสื่อมก่อนวัย

             อันที่จริงแล้วการดูแลรักษาสุขภาพสายตา  เริ่มต้นจากการใช้สายตาอย่างถูกต้องเหมาะสม  การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา  ซึ่งจักษุแพทย์มักจะแบ่งออกเป็นตามช่วงอายุ  โดยจะกล่าวถึงโรคตาที่พบบ่อยในแต่ละช่วงอายุนั้น  ซึ่งการแพทย์จะแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ช่วงอายุดังนี้

    1.   ในวัยเด็ก  เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก (ก่อนวัยเรียน)  และเด็กโตอายุไม่เกิน 10 ขวบ  พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตดวงตาของลูกว่ามีภาวะตาเขหรือไม่  มีการมองเห็นปกติหรือไม่  ซึ่งเด็กมักจะไม่บอกเราว่าตามัวหรือมองเห็นไม่ชัด  อาจมีพฤติกรรมการไม่จ้องหน้าแทน  เป็นการบ่งบอกว่าการมองเห็น ไม่ดี  หรืออาจมีพฤติกรรมเพื่อพยายามปรับตัวให้มองเห็นชัดขึ้น  เช่น  การหรี่ตา  การเอียงหน้าเอียงศีรษะ  ในเด็กวัยเรียนหากมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข  เพราะนอกจากจะมีผลโดยตรงกับการเรียนแล้ว  ในวัยนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการรักษาภาวะตาขี้เกียจจากสาเหตุต่าง ๆ ของเด็กได้อีกด้วย

             ความผิดปกติทางสายตาของเด็กควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม  อาทิเช่น  การพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจกล้ามเนื้อตา  วัดสายตา  และแก้ไขด้วยการสวมแว่นสายตาหรือผ่าตัดกล้ามเนื้อตา  ในเด็กโตขึ้นมา  ควรระวังภัยอันตรายที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงในบ้าน  อาทิเช่น  นก-ไก่จิกตา  การถูกกัดและข่วนโดยสุนัขหรือแมวและสัตว์อื่น ๆ ที่เลี้ยงไว้ในบ้านหรือที่โรงเรียน

    2.   วัยรุ่นและวัยทำงาน  ก็ยังจำเป็นต้องใช้สายตา  ปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นที่มีปัญหาทางด้านสายตามักจะใส่คอนแทคเลนส์  ควรเอาใจใส่ในการรักษาความสะอาด  และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด  เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อหรือการอักเสบอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการสูญเสียดวงตาได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์นอน  และไม่ใส่คอนแทคเลนส์เล่นน้ำ  ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก  แม้น้ำลำคลอง  ทะเล  หรือสระว่ายน้ำ  สิ่งสำคัญอีกประการคือ  ในวัยนี้เป็นวัยที่มีความเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการทำงานได้สูง  การป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับดวงตามีหลายวิธี  โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือ  การสวมแว่นป้องกันเมื่อทำงานที่เสี่ยงกับวัตถุสิ่งแปลกปลอมกระเด็นเข้าตา  เช่น  การตอกตะปู  การเคาะเหล็ก  เจียเหล็ก  การใช้เครื่องกำบังขณะเชื่อมโลหะ  เป็นต้น  อีกทั้งยังช่วยป้องกันสารเคมีกระเด็นเข้าตาได้ด้วย

             นอกจากนี้  การสวมแว่นกันแดดที่มีคุณภาพ  ก็สามารถช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี UV  ต่อดวงตาได้  ซึ่งส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าการสวมแว่นกันแดดจำเป็นเฉพาะผู้ที่ชอบเที่ยว ทะเล  หรือทำงานในที่แดดจัด ๆ เท่านั้น  เพราะถึงแม้ว่าคุณจะอยู่ในที่ร่ม  รังสี UV  ก็สามารถสะท้อนจากผิวน้ำ  พื้นผิวของหาดทรายได้  แสงสะท้อนจากพื้นผิววัตถุเหล่านี้เป็นอันตรายต่อผิวกระจกตาดำ  นอกจากนี้  แว่นกันแดดยังมีประโยชน์ในการป้องกัน  ลม  ฝุ่น  ควัน  ที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาขาวได้อีกด้วย

             ดังนั้น  ควรเลือกแว่นกันแดดที่มีคุณภาพในการช่วยปกป้องทะนุถนอมสายตาของคุณ  เพราะแว่นกันแดดราคาถูกเลนส์ต่าง ๆ จะไม่มีคุณภาพเพียงพอในการปกป้องแสงแดด  เมื่อใส่ไปนานๆ อาจะทำให้ตาเมื่อยล้า  และปวดแสบตาจนก่อปัญหากับสายตาได้ในที่สุด

    3.   วัยสูงอายุ  เป็นวัยที่เริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงดวงตาด้วย  สำหรับผู้สูงอายุแนะนำให้ตรวจเช็กสุขภาพตาประจำปี  เพื่อตรวจวัดระดับสายตาที่เปลี่ยนแปลงจากสายตาสูงอายุ (หรือที่ทั่วไปเรียกว่าสายตายาว  แต่อันที่จริงคือสายตายาวที่ระยะใกล้  ซึ่งในต่างประเทศเรียกว่า short  arm  syndrome)  ควรได้รับการตรวจหาโรคต้อกระจก  ตรวจเช็กความดันตาและขั้วประสาทตาเพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหินและตรวจจอประสาท ตา  เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย  อาทิเช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเส้นเลือดสูง  ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ  ร่วมไปกับการติดตามการรักษาจากอายุรแพทย์

             แพทย์หญิงรสสุคนธ์  ศรีพัฒนาวัฒน์  จักษุแพทย์  โรงพยาบาลเวชธานี  ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงคำถามอื่นๆ ที่หมอมักจะถูกคนไข้ถามคือ  การใช้สายตาในสภาวะต่างๆ เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อตาหรือไม่  ปัจจุบันนี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า  ไม่พบอันตรายจากคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์เนื่องจากจอ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก  ทำให้ไม่มีรังสีที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับดวงตาส่งผ่านจากจอออกมา

             ส่วนในจอเครื่องรุ่นเก่าระดับพลังงานของรังสีต่ำมากไม่สามารถมาถึงดวงตาหาก ใช้งานในระยะปกติ  จึงไม่พบว่ามีอันตรายต่อดวงตา  ไม่ว่าจะติดแผ่นกรองที่หน้าจอหรือไม่ก็ตาม  ดังนั้นความวิตกกังวลในเรื่องรังสีจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่แต่ในผู้ที่ทำงานหน้า คอมพิวเตอร์นาน ๆ มักประสบปัญหาปวดตาจากความเมื่อยล้า  การจ้องมองทำให้กระพริบตาลดลงจึงเกิดปัญหาตาแห้ง  สามารถแก้ได้ด้วยการหยุดพักการใช้สายตาเป็นระยะ ๆ และปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง  ช่วยลดความเมื่อยล้าของข้อมือได้อีกด้วย
    ใคร ๆ ก็พูดกันว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ  การมีสุขภาพตาที่ดีนอกจากจะช่วยให้เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนและเห็นความสวย งามต่าง ๆ แล้ว  ดวงตาที่สดใสก็ยังช่วยเสริมบุคลิกภาพของเจ้าของดวงตานั้นอีกด้วย  เราทุกคนควรจะเริ่มดูแลรักษาและถนอมดวงตาของเรากันเสียตั้งแต่วันนี้  เพื่อให้เราได้มีดวงตาที่ดีอยู่กับเราไปนาน ๆ

    วิธีการถนอมดวงตา 

    ซึ่งคิดค้นโดยจักษุแพทย์ชาวอเมริกัน  ชื่อว่านาบเพทย์วิลเลียม  เอช  เบตส์  ซึ่งวันหนึ่งนายแพทย์เบตส์  กลับจากทำงานด้วยดวงตาอันอ่อนล้า  เขาจึงคิดวิธีการฝึกสายตาอย่างเป็นธรรมชาติ  เพื่อพักผ่อนกล้ามเนื้อตาและช่วยรักษาสายตาให้ดีขึ้น  และเขียนหนังสือวิธีการถนอมดวงตาจนเป็นที่นิยมไปอย่างแพร่หลายทั่วยุโรปและ อเมริกา  ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์จำนวนมากว่าเป็นการฝึกดวงตา ที่เป็นระบบ  ช่วยรักษาสายตาคนไข้ได้เป็นจำนวนมากด้วย 7 วิธีการดังต่อไปนี้

    1.   ครอบดวงตา  ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา  นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย  เช่น  วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเล  อยู่ในท่านี้สักประมาณ 10 นาที

    2.   สร้างจินตนาการ  ต่อจากท่าที่ 1  ยังคงครอบดวงตาอยู่  แล้วสร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส  มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน  เช่น  มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย  เห็นกลีบดวอแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน  สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดี

    3.   กวาดสายตา  มองแบบไม่ต้องจ้อง  เพราะคนที่สายตาสั้นมักจะจ้องและเขม่นตา  กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง  ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย

    4.   กะพริบตา  ฝึกนิสัยให้กะพริบตา  1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที  ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง  โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็น

    5.   โฟกัสภาพใกล้และไกล  เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด  ตั้งนิ้วมือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส  ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวาให้ห่างจากใบหน้าสัก 3 นิ้ว  โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา  ทำบ่อย ๆ เมื่อโอกาสอำนวย

    6.   ชโลมดวงตา  หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่นสัก 20 ครั้ง  สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง  ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น  การจบด้วยน้ำเย็นทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน  ก่อนเข้านอนให้วักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง  แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่นจะทำให้กล้ามเนื้อตาและ หนังตาได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน

    7.   แกว่งตัว  ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่  แกว่งตัวไปมา  จากซ้ายไปขวา  ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา  สายตามองไปไกล ๆ  แต่ไม่ต้องจ้อง  ปล่อยให้จุดที่เรามองแกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว  ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พักและมีการปรับตัวดีขึ้น  ทำบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาสเปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้



    การดูแลรักษาดวงตาจากการใช้คอมพิวเตอร์

    เคล็ดลับการถนอมดวงตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์อย่างง่ายๆ ค่ะ

    เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่าเดี๋ยวนี้ คนที่มีอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เลยนะ เพราะปัจจุบันนะมีการใช้คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายในสำนักงานต่างๆ ตามบ้าน ตามร้านเน็ต จากสถิติพบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการทางสายตา ได้แก่ ปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศีรษะ

    รวม ทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเมื่อยคอและหลัง โดยอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่พี่ผึ้งว่าเพื่อความไม่ประมาท เราเริ่มดูแลดวงตาเราตั้งแต่ตอนนี้เลยจะดีกว่านะ ไม่งั้นแก่ไปได้ใส่แว่นตาหนาเตอะแน่ งานนี้จะขำไม่ออกกัน +_+!

    ทั้ง นี้ตัวแปรที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวมีหลายอย่างเลย เช่น ภาวะตาแห้ง ความผิดปกติของสายตาและค่าสายตา ความสามารถในการเพ่ง แว่นตาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ชนิดของคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่งขณะใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าสารพัดปัจจัยเสี่ยง

    หยก เลยมีเคล็ดลับถนอมสายตามาฝากกัน สำหรับน้องๆ ที่เป็นโรคติดเน็ต ขาดคอมเป็นขาดใจทั้งหลาย ได้รู้ถึงวิธีดูแลดวงตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์อย่างง่ายๆกัน
    ? ควรกะพริบตาให้บ่อยขึ้น

    ? จัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยระยะห่างระหว่างจอภาพและผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระหว่าง 20-28 นิ้ว ระดับจอภาพ จุดศูนย์กลางของคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4-9 นิ้ว ไม่ควรอยู่สูงหรือต่ำเกินไป ควรอยู่ตรงด้านหน้าของผู้ใช้

    ? ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตา

    ? แว่นตาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีชมพูอ่อนที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟลูออเรส เซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ

    ? ใช้แผ่น ลดแสงสะท้อนจากคอมพิวเตอร์ หรือ เลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่า (CRT)

    ? ควรหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน รวมทั้งใช้ฉากกั้นเพื่อลดปริมาณแสง

    ? ควรจัดวางคีย์บอรด์และเม้าส์ต่ำกว่าระดับข้อศอก พร้อมปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสม มุมตรงเข่ากับเก้าอี้ควรมากกว่า 90 องศา เก้าอี้ที่ดีควรมีที่พักแขน

    ? ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ ชั่วโมง เพื่อพักสายตา และป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดเมื่อย เมื่อต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

    ? ควรตรวจสายตาปีละหนึ่งครั้ง เพื่อวัดความดันตา ดูประสาทตา และตรวจเช็คความผิดปกติของสายตาเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียสายตาได้


    .........................................................................................................

    อันเกี่ยวกับคอมพ์แถมๆค่ะ
    เพราะคิดว่าทุกคนใช้คอมพ์นาน แล้วสามารถทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตาได้ (เหมือนอาย- -)


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×