คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ViOlin ::: การเลือกซื้อ
การเลือกไวโอลิน (Violin)
การเลือกไวโอลินใหม่ ๆ ซักตัว ช่างเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะมีอุปสรรคอยู่หลายประการทีเดียว และอาจจะเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจไม่น้อยสำหรับนักดนตรีในการที่จะต้องคัดเลือกไวโอลินจำนวนมากเพื่อคัดให้เหลือเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น สำหรับคนบางกลุ่มโดยเฉพาะครูซึ่งต้องเลือกเครื่องดนตรีให้นักเรียนอยู่บ่อย ๆ ก็สามารถเลือกไวโอลินจากเครื่องดนตรีจำนวนมากได้รวดเร็ว ในขณะที่นักดนตรีอื่น ๆ ก็คงต้องออกแรงเหนื่อยหน่อยกว่าจะเลือกไวโอลินดี ๆ ได้ซักตัว
เคล็ดลับประการแรกในการทดสอบไวโอลินคือการพิจารณาคุณภาพเสียงในระดับโทนเสียงดียวกัน โดยการเปรียบเทียบไวโอลินแต่ละตัวด้วยการเล่นเพียง 2-3 ห้องหรือการเล่นเสกล (โน้ต 4 ตัวต่อการเล่น Slur ใน 1 คันชัก) บน 2 สายล่างหรือ 2 สายบนอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ด้วยวิธีนี้คุณสามารถพิจารณาไวโอลินจำนวนมากในเวลาที่จำกัด ซึ่งสมองของคุณสามารถจดจำและเปรียบเทียบเสียงได้โดยง่าย ถ้าคุณไม่ชอบเสียงของ 2 สายที่ได้เล่นไปก็ให้วางไวโอลินตัวนั้นไปได้เลยโดยไม่ต้องสนใจว่าเสียงของอีก 2 สายที่เหลือจะดีแค่ไหนก็ตาม ด้วยการใช้เวลาที่ไม่มากนัก คุณสามารถคัดเลือกไวโอลินกลุ่มที่ต้องการออกมาได้ และยังมีเรี่ยวแรงเหลือพอที่จะทดสอบไวโอลิน 2-3 ตัวสุดท้ายได้อย่างละเอียดอีกด้วย
การเลือกไวโอลินใหม่ต้องพิจารณาให้ดีเพราะการตัดสินใจของคุณอาจจะได้รับอิทธิพลจากเสียงและความรู้สึกของไวโอลินที่คุณเคยเล่น อย่าให้เสียงไวโอลินที่คุณคุ้นเคยกลายเป็นบรรทัดบานในการตัดสินใจ (นอกเสียจากว่าจะเป็นเสียงไวโอลิน Strad) ไวโอลินใหม่อาจจะมีปัญหาที่ทำให้เล่นได้ไม่สะดวกมืออยู่บ้าง เช่น ความหนาของคอที่หนาไป สายตั้งสูงจากฟิงเกอร์บอร์ดเกินไป ที่รองคางหรือที่รองไหล่ไม่ได้ขนาด ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ภายหลัง
การพิจารณาไวโอลินควรจะพิจารณาจากคุณสมบัติ 4 ประการดังนี้
- คุณภาพของเสียง(Quality of sound)
- การตอบสนองของสาย (Responsiveness)
- ความต่อเนื่องในการเล่นข้ามสาย (Evenness across Strings)
- ความต่อเนื่องในการเล่นแต่ละสาย (Evenness Within the String)
การทดสอบการสะท้อนเสียงของห้องโดยใช้ไวโอลินตัวที่ต้องการทดสอบและตัวอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ถ้าเป็นการทดสอบในห้องแสดงคอนเสิร์ทจริง นอกจากการบรรเลงเเดี่ยวแล้วให้บรรเลงโดยมีเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเครื่องดนตรีนั้น ๆ เมื่อต้องเล่นคู่กับเครื่องดนตรีอื่น ๆ
พยายามยามหลีกเลี่ยงข้อห้ามต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้การเลือกไวโอลินเป็นเรื่องน่าเบื่อจนเกินไป
- พยายามหาไวโอลินตัวที่คุณต้องการให้ได้ภายในรอบแรกโดยพิจารณาในรายละเอียดทุก ๆ อย่าง
- เชื่อมั่นในความจำของตัวเอง เมื่อคุณต้องเปรียบเทียบไวโอลินในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
- พยายามเน้นเทคนิคการเล่นมากเกินไปหรือพยายามเล่นให้ได้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุด แทนที่จะเน้นเรื่องเสียงหรือระดับเสียงของไวโอลิน
การเล่น (Playability)
อย่าตัดสินเครื่องดนตรีเพียงเพราะว่าเหตุผลเพียง 2-3 ข้อเหล่านี้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยช่างซ่อมไวโอลิน
- สายไวโอลินสูงจากฟิงเกอร์บอร์ดเกินไป
- รูปร่างของคอ
- ความโค้งที่เหมาะสมของคอ (ตำแหน่งของนิ้วโป้งเมื่อเล่นในโพสิชั่น 4)
- ความโค้งที่เหมาะสมหัวซอ
- ขอบของฟิงเกอร์บอร์ดในตำแหน่งสายสูง
- ความโค้งของคันชักเวลาเล่นจะสัมผัสกับสายอื่นหรือบริเวณกลางลำตัวไวโอลิน (C-bout)
ความสวยงามและมูลค่าของไวโอลิน (Aesthetics & Value)
คุณค่าในความสวยงามของไวโอลินนั้นขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ส่วนคุณค่าในด้านราคานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพเสียงแต่เพียงอย่างเดียว ควรจะทดลองเล่นและพิจารณาไวโอลินในงบประมาณคร่าว ๆ ที่คุณตั้งไว้ก่อน ก่อนที่จะพิจารณาอย่างละเอียดลงไปในมูลค่าของไวโอลินแต่ละตัว
การเลือกคันชัก (Bow)
วิธีที่ง่ายที่สุดในการเลือกคันชักคือการเปรียบคันชักแต่ละอันและใช้วิธีการคัดคันชักที่ไม่ต้องการออก
เสียง (Sound)
ปัจจัย 2 ประการที่มีผลต่อคุณภาพเสียงของคันชักคือ
- ชนิดของยางสนที่ใช้
- การเลือกใช้หางม้า
คันชักที่ใช้หางม้าใหม่อาจจะทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ได้ (เสียงเอี๊ยด ๆ หรือเสียงครืดคราด) มากกว่าคันชักที่มีการใช้อยู่เป็นประจำ
การตอบสนองของคันชัก (Responsiveness)
พยายามใช้เทคนิคของคันชักที่แตกต่างกัน เช่น Spiccato, Deatche, Staccato ฯลฯ เพื่อทดสอบการตอบสนองของคันชัก
น้ำหนักของคันชักก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะน้ำหนักรวมอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น คันชักที่พันด้วยเส้นโลหะหรือกระดูกปลาวาฬจะเบากว่าคันชักที่พันด้วยโลหะเงิน ซึ่งคันชักที่พันด้วยเส้นโลหะหรือกระดูกปลาวาฬจะให้ความรู้สึกว่าปลายของคันชัก (Tip) หนักกว่าคันชักที่พันด้วยโลหะเงิน แม้ว่าคันชักทั้ง 2 แบบจะมีน้ำหนักเท่ากันก็ตาม ส่วนรสนิยมเรื่องความงามนั้นขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
การเลือกกล่อง (Case)
ปัจจุบันกล่องใส่ไวโอลินมีแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย โดยทั่วไปจะนิยมกล่องประเภทที่ทำให้ไวโอลินลอยอยู่ในอากาศ (Suspension) ซึ่งกล่องชนิดนี้จะสัมผัสกับไวโอลินบริเวณคอและที่รองคางเท่านั้น ทำให้ส่วนอื่น ๆ ของไวโอลินรวมถึงส่วนหัวของไวโอลินลอยอยู่ โดยไม่สัมผัสกับส่วนอื่น ๆ ของกล่อง แรงกระแทกที่มาจากภายนอกจะส่งผ่านไปยังส่วนที่แข็งแรงที่สุดของไวโอลิน สำหรับกล่องแบบธรรมดานั้น ส่วนที่สัมผัสกับกล่องมากที่สุดคือบริเวณกึ่งกลางหลังของไวโอลิน ตรงตำแหน่งหลักเสียงพอดี (Soundpost) แรงกระแทกรุนแรงจากด้านหลังของกล่องไวโอลินจะส่งผ่านมายังหลักเสียง และอาจทำให้เกิดรอยร้าวบริเวณไม้แผ่นหน้าและแผ่นหลังของไวโอลินได้
เพื่อป้องกันไม่ให้หย่องกระแทกกับกล่องด้านใน ควรเลือกกล่องไวโอลินชนิดที่มีสายรัดบริเวณคอเพื่อยึดคอไวโอลินให้อยู่กับที่ การป้องกันไม่ให้ไวโอลินได้รับความเสียหายจากการกระแทกกับคันชักในระหว่างที่ถือกล่องไปมา ควรเลือกกล่องชนิดที่มีระบบการเก็บคันชักที่ดี และมีเบาะเล็ก ๆ บุเหนือบริเวณที่รองคาง
กล่องแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ
- กล่องแบบ Soft Case มีผ้าบุด้านใน แต่ไม่มีวัสดุแข็งหุ้มด้านนอก ป้องกันการกระแทกได้น้อยมาก
- กล่องแบบ Lightweight มีราคาไม่แพงมากและไม่แช็งแรง ป้องกันการกระแทกได้น้อย
- กล่องแบบ Heavy มีราคาไม่แพงมากแต่แช็งแรง ป้องกันการกระแทกได้ดี
- กล่องแบบ Lightweight มีราคาแพงถึงแพงมากแต่แช็งแรง (ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงซึ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักของกล่อง) ป้องกันการกระแทกได้ดี
สำหรับกล่องในข้อที่ 2 มีความปลอดภัยกว่ากล่องในข้อแรกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับในประเทศในเขตร้อนแบบเมืองไทยควรเลือกกล่องที่มีสีอ่อน ๆ ซึ่งสามารถสะท้อนแสงและความร้อนได้ดีกว่า
ส่วนเรื่อง ไวโอลิน รินขอแนะนำ ความยาวคือ ความยาวจากกึ่งกลางฝ่ามือถึงต้นคอ
แล้วก็เลือกให้เข้ากับอายุของคุณเอง
ก็จะออกมาเปงอย่างที่เห็นนี่แหละค่ะ
ความคิดเห็น