ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    `RNS ,, Lap

    ลำดับตอนที่ #34 : บทเรียนที1 ดนตรี/ศิลปะ โดย มาเชลลิโน่

    • อัปเดตล่าสุด 26 ก.ย. 53




    Musical

    การดนตรี

     

    เกณฑ์การให้คะแนน

     

    ระหว่างภาค                           70 %

    - แบบฝึกทักษะ                      50 %

    - จิตพิสัย                                   20 %

     

    สอบปลาย                               30%

    - ทฤษฎี                                   10 %

    - ปฏิบัติ                                  20 %

     

    เนื้อหาการเรียน

     

     

    รู้จักกับโน้ตดนตรีกันนิดนึง

     

                    โน้ต ดนตรี คือ เครื่องหมายที่แทนค่าเสียงดนตรีนั่นเองเพื่อให้มีความเป็นสากลในการบันทึก เช่นการเขียนหนังสือให้คนอ่านหนังสืออ่านอ่าน แต่โน้ตใช้บันทึกดนตรีให้นักดนตรีเล่น เราจะแบ่งพิจารณาใน 2 ลักษณะ คือ

     

                    - ระดับเสียงสูงต่ำของโน้ตนั้นๆ โดยสามารถทราบจากระบบ "บรรทัด 5 เส้น" (Staff)

     

                    - ระยะความสั้นยาวของเสียงดังกล่าวหรือเรียกว่าจังหวะ โดยจะทราบจากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวดำ เป็นต้น

     

    บรรทัด 5 เส้น (Staff)

     

                    เกิด จากเส้นตรง 5 เส้น ขีดซ้อนกันในแนวนอน ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงระดับเสียงของดนตรีหรือตัวโน้ตนั้นว่าเป็นเสียงอะไร โดยที่แต่ละเส้นและช่องระหว่างเส้นทั้ง 5 นั้นจะมีค่าเสียงที่ต่างกันจากเสียงต่ำไปหาสูงถ้าไล่จากเส้นล่างไปหาเส้นบน และจะกำหนดค่าของเสียงด้วยกุญแจ (Key Signature) เช่น สำหรับกีตาร์จะเป็นกุญแจซอล (treble clef หรือ G-clef) ซึ่งกำหนดให้เส้นที่ 2 จากล่างมีค่าเป็นเสียงซอล ดังนั้นจะได้เสียงประจำเส้นและช่องต่าง ๆ ของบรรทัด 5 เส้น ดังนี้

     

     

                    โดย ที่ระดับเสียงต่ำจะอยู่ด้านล่างของบรรทัด 5 เส้น และเมื่อระดับเสียงนั้นสูง หรือต่ำเกินกว่าในบรรทัด 5 เส้นปกติ ก็จะเขียนเส้นขนานเล็ก ๆ ที่ด้านบนเพื่อบันทึกโน้ตเมื่อระดับเสียงสูงกว่าในบรรทัด 5 เส้นปกติ และในทางตรงกันข้ามถ้าระดับเสียงต่ำกว่าปกติก็จะเขียนเส้นดังกล่าวขนานกับ บรรทัด 5 เส้นด้านล่าง ซึ่งเส้นดังกล่าวนี้เรียกว่า"เส้นน้อย" (Leger Line)

     

                    โดยที่สำหรับระดับเสียงของดนตรีสากลนั้นมี 7 เสียง แทนด้วยตัวอักษร 7 ตัวแรกของภาษาอังกฤษคือ A, B, C, D, E, F และ G แต่ในการอ่านจะเริ่มจาก C และอ่าน C = โด, D = เร, E = มี, F = ฟา, G = ซอล, A = ลา, B = ที จากนั้นก็จะวนกลับไปที่ C (โด) แต่จะมีระดับเสียงที่สูงกว่า C ตัวแรก (เรียกว่าเสียงสูงกว่า 1 อ๊อกเท็ป [Octave] ซึ่งจะกล่าวต่อไป)

     

                    ซึ่งในขั้นแรกควรจำให้ได้ก่อนว่าเสียงอะไรแทนด้วยสัญลักษณ์อะไรซึ่งมีความสำคัญมากในการศึกษาขั้นต่อไป

     

    การกำหนดค่าความสั้นยาวของเสียง

     

                    นอกจากระดับเสียงแล้วต้องกำหนดความสั้นยาวของเสียงโดยการใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีอัน ได้แก่

     

    โน้ตตัวกลม

    wpe36.jpg (778 bytes)

    โน้ตตัวขาว

    wpe37.jpg (810 bytes)

    โน้ตตัวดำ

    wpe38.jpg (800 bytes)

    โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น

    wpe3C.jpg (839 bytes)หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน wpe3.jpg (973 bytes)

    โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น

    wpe3D.jpg (861 bytes)หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน wpe4.jpg (997 bytes)

     

                    ทั้งนี้อาจจะมีถึงโน้ตเขบ็ต 3 หรือ 4 ชั้น ก็ได้ และอาจจะเขียนตัวโน้ตกลับหัวก็ได้ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมในการเขียน นอกจากสัญลักษณ์ที่บอกความสั้นยาวของเสียงที่เล่นออกมาแล้ว ยังมีสัญลักษณ์ที่บอกถึงความสั้นยาวของเสียงที่ไม่ได้เล่น หรือ กำหนดความสั้นยาวของการหยุดเสียงซึ่งเรียกว่า "ตัวหยุด" โดยจะแบ่งเหมือนประเภทแรกแต่ความหมายตรงกันข้ามคือประเภทแรกบอกความสั้นยาว ในการเล่นเสียงออกมา แต่ตัวหยุดจะบอกความสั้นยาวของการหยุดเสียงโดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้

    ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวกลม

    wpe3F.jpg (695 bytes)

    ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวขาว

    wpe40.jpg (705 bytes)

    ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตตัวดำ

    wpe41.jpg (804 bytes)

    ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น

    wpe42.jpg (732 bytes)

    ตัวหยุดเทียบเท่าโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น

    wpe43.jpg (769 bytes)

     

    การแบ่งห้องทางดนตรี (Measure)

     

                    ในการบันทึกโน้ตดนตรีจะต้องแบ่งบรรทัด 5 เส้นออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กันด้วยเส้นกั้นแต่ละห้องในแนวดิ่งที่เรียกว่า bar line โดยที่ผลรวมของจังหวะทั้งหมดในแต่ละห้องต้องมีความยาวหรือจังหวะเท่ากัน และ 1 ห้อง จะเรียกว่า 1 bar

     

    Time Signature

     

    xy.gif (1818 bytes)

     

                    - ตัวเลขตัวบน หมายถึง จำนวนจังหวะใน 1 ห้อง (1 bar) ว่าใน 1 ห้องดังกล่าวนั้นมีกี่จังหวะนับ เช่น 2 หมายถึงในห้องนั้นมี 2 จังหวะนับ ถ้า 3 คือ มี 3 จังหวะนับใน 1 ห้อง

     

                    - ตัวเลขตัวล่าง หมายถึง การกำหนดว่าจะให้สัญลักษณ์โน้ตประเภทใดมีค่าเป็น 1 จังหวะ เช่นเลข 4 จะหมายถึงให้โน้ตตัวดำ (quarter note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ และมีผลให้โน้ตตัวขาว (half note) มีค่าเป็น 2 จังหวะนับ โน้ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ และโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น (eighth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น

     

                    หรือถ้าเป็น 8 หมายถึงให้โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น (eighth note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ โน้ตตัวดำ (quarter note) มีค่าเป็น 2 จังหวะ และมีผลให้โน้ตตัวขาว (half note)มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ โน้ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 8 จังหวะนับ และโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น (sixteenth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น

     

    โน้ตประจุด (Dotted Note)

     

                    ในบางกรณีทีเราต้องการให้ค่าตัวโน๊ตนั้นมีจังหวะยาวขึ้นมาอีก ครึ่งหนึ่งของตัวมันเอง เราจะใช้จุด (Dot) แทน ค่าให้เพิ่มจังหวะอีกครึ่งนึงของตัวเองโดยเขียนจุดไว้ด้านข้างของตัวโน๊ตที่ ต้องการเพิ่มจังหวะ เช่นเมื่อต้องการสร้างโน้ต 3 จังหวะจากโน้ตตัวขาวที่มีค่า 2 จังหวะ (กรณีที่ time signature เป็น 4/4 โน้ตตัวขาวมีค่า 2 จังหวะ) เราก็ประจุดโน้ตตัวขาวซึ่งมีผลให้มีจังหวะเพิ่มขึ้นครึ่งนึงของ 2 คือ 1รวมเป็น 3 จังหวะ หรือเท่ากับโน้ตตัวดำ 3 ตัว

     

                    หรือ เมื่อให้โน้ตตัวดำ(มีความยาว 1 จังหวะ)ประจุดก็จะหมายถึงจังหวะจะเพิ่มขึ้นอีกครึ่งนึงของ 1 คือ 1/2 รวมเป็น 1 1/2 หรือ 1จังหวะครึ่งนั่นเองซึ่งมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัว ลองดูจากการเปรียบเทียบข่างล่างนี้

      tie1.gif (1374 bytes)

       tie2.gif (1460 bytes)

     

    Tied Note

     

                    สำหรับโน้ตประจุดนั้นจะใช้เพิ่มจังหวะที่อยู่ในห้องเดียวกัน แต่เมื่อต้องการให้จังหวะของโน้ตตัวนั้นยาวข้ามไปยังอีกห้องหรืออีก Bar นึงนั้นเราจะใช้สัญลักษณ์ tie หรือ เส้นโยงโน้ตข้ามไปอีกห้องโดยที่โน้ตตัวที่อยู่ทางท้ายเส้นโยงนั้นไม่ต้อง เล่น แต่เล่นที่ตัวทางหัวเส้นโยงแล้วนับจังหวะรวมไปถึงตัวที่อยู่ท้ายเส้น (ดูจากรูปนะครับแล้วลองฝึกนับในใจดู โดยอาจเคาะมือหรือเท้าเป็นจังหวะนับก็ได้) อย่างไรก็ตาม tied note สามารถใช้ร่วมในห้องเดียวกันก็ได้ความหมายก็เช่นเดียวกันคือเล่นโน้ตตัวแรกแล้วนับจังหวะรวมกับโน้ตที่อยู่ท้ายเส้นโยง

    tie.gif (2327 bytes)

     

                    จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นมี 2 จุดที่มี tied โน้ต จุดที่ 1ในห้องแรก โน้ตตัว D เป็นโน้ตตัวดำมีเส้นโยงไปยังโน้ต D ที่เป็นโน้ตตัวตำอีกตัว ในเชิงปฏิบัติคุณจะดีดโน้ตตัวขาวตัวแรกเสียง B นับ 2 จังหวะ จากนั้นดีดโน๊ตตัวที่สองคือตัวดำตัวแรกแต่เราจะนับจังหวะรวมกับตัวดำตัวที่สอง (เนื่องมาจากเส้นโยง) แล้วนับรวมเป็น 2 จังหวะดังนั้นในห้องแรกคุณจะเล่นโน้ตแค่ 2 ตัวคือโน้ต B ตัวขาว และโน้ต D ตัวดำนับ 2 จังหวะเช่นกัน

     

                    และที่จุดที่สองเป็นการโยงข้ามห้องจากห้องที่สองโน้ต C ตัวดำไปยังห้องที่สามโน้ต C ตัวขาว หลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบแรกคือเล่นโน้ต C ตัวดำแต่นับจังหวะรวมโน้ตตัวขาวไปด้วยดังนั้นรวมจังหวะในการเล่นโน้ต C ตัวนี้เป็น 3 จังหวะ (ตัวดำ 1 จังหวะ + ตัวขาว 2 จังหวะ = 3 จังหวะ)

     

                    ข้อสังเกตอย่างนึงคือการใช้ Tied note มักจะเป็นโน้ตตัวเดียวกัน ถ้าเกิดเป็นโน้ตคนละตัวจะไม่ใช่ tied note แต่ อาจจะเป็นโน้ตแฮมเมอร์ ออนถ้าตัวท้ายเส้นโยงมีระดับเสียงสูงกว่าตัวหน้า และอาจจะเป็นพูล ออฟ ถ้าโน้ตตัวท้ายเส้นโยงเสียงต่ำกว่าตัวหน้า เป็นต้น

     

    ตัวอย่างการบันทึกโน้ตดนตรี

    500.gif (4352 bytes)

    (ส่วนหนึ่ง จาก เพลง 500 ไมล์)

    อธิบายการอ่าน

    ลำดับตัวโน้ต

    ชื่อโน้ต

    จำนวนจังหวะ

    1

    G

    1

    2

    C

    1

    จังหวะรวม (เศษห้อง)

    2

    3

    E

    1.5

    4

    E

    0.5

    5

    D

    1

    6

    C

    0.5

    7

    D

    0.5

    จังหวะรวมห้อง 1

    4

    8

    E

    1.5

    9

    E

    0.5

    10

    ตอบกลับ | ลบ



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×