ลำดับตอนที่ #29
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #29 : เรื่องน่ารู้ในรอบรั้วครอบครัวครุศาสตร์ จุฬาฯ
เรื่องน่ารู้ในรอบรั้วครอบครัวครุศาสตร์ จุฬาฯ
ก่อนอื่นต้องบอกน้องๆ ก่อนเลยว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ใช้ได้ทั้งอ่านเล่นๆ เพลินๆ หรือใช้เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อทั้งในระบบรับตรง และระบบแอดมิชชั่นส์ เพราะพี่เชื่อว่าอาจารย์กรรมการสอบสัมภาษณ์ต้องถามข้อมูลทั่วไปของคณะครุศาสตร์กับน้องๆ แน่นอนครับ แต่หลายๆ เรื่องก็อ่านไว้เป็นความรู้เบื้องต้น ก่อนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวครุศาสตร์ของเรานะครับ
การวางรากฐานสู่คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีรากฐานมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศ มาผนวกรวมเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตข้าราชการพลเรือนของประเทศ เป็นที่มาของคำว่า "จุฬาฯ คือเสาหลักของแผ่นดิน" วิชาชีพครูก็เป็นอาชีพชั้นสูงที่มีบทบาทในการพัฒนาสังคม จึงเป็นสาเหตุที่มีการสถาปนาแผนกคุรุศึกษา เพื่อผลิตข้าราชการครูแก่สยามประเทศ
ต่อมาในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในระดับสากลเป็นแห่งแรกของประเทศ จึงมีการปรับโครงสร้างของสถาบันใหม่ออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ในขณะนั้นแผนกวิชาฝึกหัดครูรวมอยู่ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจะศึกษาวิชาเอกทางด้านอักษรศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ 2 ปี และวิชาครูอีก 1 ปี ได้วุฒิการศึกษาเป็น ประกาศนียบัตรประโยคมัธยมซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกที่มีการมอบวุฒิการศึกษาด้านการศึกษาของประเทศ
ในปี พ.ศ.2486 แผนกวิชาวิทยาศาสตร์แยกออกไปเป็นคณะวิทยาศาสตร์ ทำให้แผนกวิชาฝึกหัดครู เปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาครุศาสตร์ และในปี พ.ศ.2491 คณะอักษรศาสตร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ เพื่อดำเนินการปรับหลักสูตรจากประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม 3 ปี เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มอบปริญญาทางการศึกษาแห่งแรกของประเทศ
การสถาปนาคณะครุศาสตร์
การสถาปนาคณะครุศาสตร์ริเริ่มโดยศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา หัวหน้าแผนกวิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะครุศาสตร์ให้ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดตั้ง แต่อธิการบดีไม่อนุมัติเนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ก็ไม่ละความตั้งใจ จึงเรี่ยไรเงินจากคณาจารย์ในแผนกวิชารวมกับเงินบริจาคส่วนตัว และเงินจากการกุศล เพื่อซื้อที่ดินบริเวณทุ่งนาปทุมวันด้านหน้ามหาวิทยาลัย เนื้อที่กว่า 40 ไร่ เป็นที่ตั้งของคณะครุศาสตร์ในอนาคต และเก็บงบประมาณส่วนหนึ่งสำหรับก่อสร้างสถานที่เรียน และบริหารจัดการในอนาคต ต่อมาได้เสนอโครงการจัดตั้งคณะครุศาสตร์อีกครั้ง และก็ผ่านการพิจารณา แผนกวิชาครุศาสตร์จึงแยกออกจากคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะครุศาสตร์ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2500 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัย ต่อจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ซึ่งคณะครุศาสตร์เป็นคณะแรกที่แยกออกไปตั้งอีกฝั่งหนึ่งของมหาวิทยาลัย
พัฒนาการคณะครุศาสตร์
เริ่มแรกคณะครุศาสตร์ได้จัดการศึกษาเป็น 4 แผนกวิชา คือ
1. แผนกวิชาสารัตถศึกษา
2. แผนกวิชาประถมศึกษา
3. แผนกวิชามัธยมศึกษา
4. แผนกวิชาวิจัยการศึกษา
โดยมีศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรกของคณะ และยังเป็นคณบดีหญิงคนแรกของประเทศไทยอีกด้วย ต่อมา
- พ.ศ.2533 ภาควิชาพยาบาลศึกษา ได้สถาปนาขึ้นเป็นคณะพยาบาลศาสตร์
- พ.ศ.2533 ภาควิชาจิตวิทยา ได้สถาปนาขึ้นเป็นคณะจิตวิทยา
- พ.ศ.2541 ภาควิชาพลศึกษา ได้สถาปนาขึ้นเป็นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ปัจจุบันเป็นคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลทั่วไป
สีประจำคณะ
สีเพลิง (เพลิงที่เปรียบเสมือนแสงสว่างที่ส่องทางไปสู่ปัญญา)
สัญลักษณ์
คบเพลิง
ปรัชญา
ความรู้คู่คุณธรรม ครูที่มีคุณภาพของสังคมจะต้องเป็นครูที่เก่งและดี
ปณิธาน
ความเรืองปัญญาและคุณธรรมคือมาตรฐานคุณภาพบัณฑิตครุศาสตร์
เพลงประจำคณะ
เพลงสีเพลิง
คณบดีคนปัจจุบัน (ระวังโดนถามในห้องสัมภาษณ์นะ)
ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี
ข้อมูลทั่วไป
คณะครุศาสตร์จัดโครงสร้างการศึกษา แบ่งออกเป็น 6 ภาควิชา 25 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้
1. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน แบ่งออกเป็น 9 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาประถมศึกษา
- สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
- สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์
- สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
2. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์การศึกษา
3. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
4. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา (อนาคต) ได้แก่
- สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต
- สาขาวิชาพฤติศึกษา
- สาขาวิชาการศึกษาชุมชน
5. ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา
- สาขาวิชาอุดมศึกษา
- สาขาวิชาบริหารการศึกษา
- สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
- สาขาวิชาพัฒนศึกษา
6. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาวิชาวิจัยการศึกษา
- สาขาวิชาสถิติทางการศึกษา
- สาขาวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
- สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา
นอกจากนี้ยังจัดการเรียนการสอนโรงเรียนสาธิตจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
2. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
หลักสูตรปริญญาตรี
คณะครุศาสตร์จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรีทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่
1. ครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ภาควิชา 10 สาขาวิชา 24 วิชาเอก
1.1 ภาควิชาหลักสูตรและการสอน แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่
1.1.1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย (วิชาเอกเดี่ยว)
1.1.2 สาขาวิชาประถมศึกษา
- วิชาเอกประถมศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว)
1.1.3 สาขาวิชามัธยมศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกภาษาไทย (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกภาษาอังกฤษ (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกสังคมศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส (วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกภาษาเยอรมัน (วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกฟิสิกส์ (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกเคมี (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกชีววิทยา (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกคณิตศาสตร์ (วิชาเอกเดี่ยว / วิชาเอกคู่)
1.1.4 สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกสุขศึกษา
- วิชาเอกพลศึกษา
1.2 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้แก่ 1 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา (วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา (วิชาเอกคู่)
1.3 ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่
1.3.1 สาขาวิชาศิลปศึกษา
- วิชาเอกศิลปศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว)
1.3.2 สาขาวิชาดนตรีศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกดนตรีศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว)
- วิชาเอกดนตรีไทย (วิชาเอกเดี่ยว)
- วิชาเอกดนตรีสากล (วิชาเอกเดี่ยว)
1.4 ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่ 1 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
- วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน (วิชาเอกคู่)
1.5 ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ได้แก่ 1 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
- วิชาเอกธุรกิจศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว)
1.6 ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา ได้แก่ 1 สาขาวิชา คือ
สาขาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ แบ่งเป็น
- วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว (วิชาเอกคู่)
- วิชาเอกการศึกษาพิเศษ (วิชาเอกคู่)
หมายเหตุ : วิชาเอกคู่สามารถเลือกวิชาเอกของสาขาวิชาที่สังกัดอย่างน้อย 1 วิชาเอก เพื่อเลือกคู่การวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
2. ครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี โปรแกรมเกียรตินิยม จัดการเรียนการสอนทั้งหมด 3 ภาควิชา 6 สาขาวิชา 15 วิชาเอกเดี่ยว
2.1 ภาควิชาหลักสูตรและการสอน แบ่งออกเป็น 3 สาขาวิชา ได้แก่
2.1.1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
2.1.2 สาขาวิชาประถมศึกษา
- วิชาเอกประถมศึกษา
2.1.3 สาขาวิชามัธยมศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกภาษาไทย
- วิชาเอกภาษาอังกฤษ
- วิชาเอกสังคมศึกษา
- วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- วิชาเอกฟิสิกส์
- วิชาเอกเคมี
- วิชาเอกชีววิทยา
- วิชาเอกคณิตศาสตร์
2.2 ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา แบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่
2.2.1 สาขาวิชาศิลปศึกษา
- วิชาเอกศิลปศึกษา
2.2.2 สาขาวิชาดนตรีศึกษา แบ่งเป็น
- วิชาเอกดนตรีศึกษา
- วิชาเอกดนตรีไทย
- วิชาเอกดนตรีสากล
2.3 ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา ได้แก่ 1 สาขาวิชา คือ
สาขาวิชาธุรกิจศึกษา
- วิชาเอกธุรกิจศึกษา
คณะอื่นที่ร่วมจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ : วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา
2. คณะอักษรศาสตร์ : วิชาเอกภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน
3. คณะวิทยาศาสตร์ : วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์
4. คณะรัฐศาสตร์ : วิชาเอกสังคมศึกษา
5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี : วิชาเอกธุรกิจศึกษา
6. คณะเศรษฐศาสตร์ : วิชาเอกสังคมศึกษา และธุรกิจศึกษา
7. คณะนิติศาสตร์ : วิชาเอกสังคมศึกษา
8. คณะพยาบาลศาสตร์ : วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
9. คณะจิตวิทยา : วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย และสุขศึกษา
10. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา : วิชาเอกสุขศึกษา และพลศึกษา
สถานที่
คณะครุศาสตร์ตั้งอยู่บนถนนพญาไทฝั่งสนามกีฬาแห่งชาติ (ฝั่งมาบุญครอง) ประกอบด้วยอาคาร 6 หลัง ได้แก่
1.อาคารพูนทรัพย์ นพวงศ์ (อาคาร 1) ใช้เป็นสำนักงานคณบดี และห้องสมุดคณะ (หอน้อย)
2.อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย (อาคาร 2) กำลังตกแต่งภายใน ปัจจุบันเริ่มเปิดใช้ในส่วนของโรงอาหารชั้น 1 และศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา (ห้องสมุดคณะ)
3.อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง (อาคาร 3) ใช้เป็นห้องประชุม (101) ห้องเรียน สำนักงานกิจการนิสิต ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา และภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
4.อาคาร 4 ใช้เป็นห้องเรียน และภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา
5.อาคาร 6 ใช้เป็นสำนักงานวิชาการ หลักสูตรและการสอน และห้องเรียนของสาขาวิชาดนตรีศึกษา
6.อาคาร 8 ใช้เป็นห้องเรียนของสาขาวิชาศิลปศึกษา
ครอบครัวครุศาสตร์
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นครอบครัวครุศาสตร์ คือ
1. บ้าน : เรามีบ้านหลังเดียว คือ คณะครุศาสตร์ เพราะพวกเราอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่มีการแยกไปสังกัดคณะอื่น หรือแยกไปเรียนวิทยาเขตรอบนอก เราจึงมีบ้านที่อบอุ่น สนิทสนม และรักกันมาภายใต้ร่มจามจุรีสีเพลิงแห่งนี้
2. เพื่อน : เพราะเรา คือ ชาวครุศาสตร์ เหมือนกัน เราเป็น "นิสิตคณะครุศาสตร์" เราอยู่ด้วยกันตลอด 5 ปี ทั้ง 400 คนเป็นเพื่อนกัน เราทุกคนรู้จักกัน สนิทสนม และคอยช่วยเหลือกันภายในบ้านครุศาสตร์
3. สายรหัส : พวกเราทุกคนมีทั้งพี่และน้องที่รักกัน และมีระบบสายรหัสที่เข้มแข็งและเลื่องลือของจุฬาฯ เพราะพวกเราทั้ง 1,900 คนอยู่ในบ้านเดียวกัน จะไม่ให้รักกันได้อย่างไร
4. กิจกรรม : การที่เราอยู่ด้วยกันภายใต้บ้านที่อบอุ่นแห่งนี้ จึงเกิดกิจกรรมมากมายที่เราร่วมกันทำ โดยเฉพาะกิจกรรมรับน้องใหม่ที่พี่ๆ ทุกคนไม่ว่าจะชั้นปีไหน สาขาวิชาใด ก็จะมาช่วยกันต้อนรับน้องใหม่เข้าสู่ครอบครัวครุศาสตร์อย่างอบอุ่น
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า เราคือ "ครอบครัวครุศาสตร์" ที่ถึงแม้จะแยกกันไปเรียนบางวิชาที่คณะอื่น แต่เราก็จะกลับมาเจอกันที่คณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นบ้านของเราเสมอ เพราะเราอยู่ที่นี่ด้วยกัน เราไม่ได้แยกจากกัน เราคือนิสิตคณะเดียวกัน "ครุศาสตร์ปราชญ์จุฬาฯ"
ปูชนียาจารย์และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
1. ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา : ปูชนียาจารย์แห่งการศึกษาไทย
อักษรศาสตรบัณฑิต (รุ่นแรก)
2. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล : อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และผู้สถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง (มศว)
อดีตหัวหน้าแผนกวิชาฝึกหัดครู คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3. ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์ : ราชบัณฑิต
อักษรศาสตรบัณฑิต (แผนกวิชาฝึกหัดครู) และครุศาสตรบัณฑิต (ประถมศึกษา) เจ้าของบทความ "มหาวิทยาลัยมาม่า" ที่น้องๆ เจอในข้อสอบ PAT5 รอบตุลาคม 2552 นั่นแหละครับ
4. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน : อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อักษรศาสตรบัณฑิต และครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
5. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ : ราชบัณฑิต และอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) และครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)
6. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี : อดีตครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งและอธิการบดีคนแรกของวิทยาลัยวิชาการศึกษา หรือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อักษรศาสตรบัณฑิต (แผนกวิชาฝึกหัดครู) และครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
7. รองศาสตราจารย์สุนีย์ สินธุเดชะ : อดีตอาจารย์คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
อักษรศาสตรบัณฑิต (แผนกวิชาฝึกหัดครู) และครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา : ภาษาไทย)
8. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อุทุมพร จามรมาน : ผู้อำนวยการสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)
ครุศาสตรบัณฑิต (ประถมศึกษา) และครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยการศึกษา)
9. ศาสตราจารย์กิตติคุณ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ : ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) และอดีตคณบดีคณะครุศาสตร์
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) และครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)
10. ดร.จรวยพร ธรณินทร์ : ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
11. วัลลภ ตังคณานุรักษ์ : อดีตสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
12. หม่อมหลวงสราลี จิราธิวัฒน์ : พระขนิษฐาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
13. หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี : ผู้รับบทสมเด็จพระสุริโยทัย ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
14. นายวันมูฮัมหมัดนอร์ มะทา : อดีตประธานรัฐสภา
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
15. ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม : อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาโรงเรียนทิวไผ่งาม
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา : ภาษาอังกฤษ)
16. คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ : ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และอดีตครูใหญ่โรงเรียนเรวดี
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
17. นิด อรพรรณ วัชรพล : ผู้บริหารบริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา)
18. นาเดีย วิชิตา นิมิตรวานิช : นักแสดงบริษัท โพลีพลัส จำกัด
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน)
19. เอม ศิริพิชยา วิสิฐไวทยากุล : นักแสดง บริษัทเอกแซกท์และซีเนริโอ จำกัด
กำลังศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน
20. วุธ อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร : นักแสดงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
21. แพง ขวัญข้าว เศวตวิมล : นักจัดรายการวิทยุ
ครุศาสตรบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
22. เอมม่า วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ : นักแสดง และรองนางสาวไทย พ.ศ.2540
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
23. กีตาร์ ศิริพิชญ์ กฤษณะเศรณี : นักแสดงบริษัท กันตนา จำกัด
ครุศาสตรบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
24. โดโด้ ยุทธพิชัย ชาญเลขา : นักแสดงอิสระ
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
25. ต่อ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล : นักแสดงอิสระ
ครุศาสตรบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
26. หลิว มนัสวี กฤตานุกูลย์ : นักแสดงอิสระ
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
27. น้ำผึ้ง ธนาภรณ์ รัตนเสน : นักแสดงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ครุศาสตรบัณฑิต
28. เอ้ ศตวรรษ เมทนี : นักแสดงอิสระ
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
29. ปาน ธนพร แวกประยูร : นักร้อง
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
30. ป๊อด ธนชัย อุชชิน : นักร้องวง Moderndog
ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
31. ตาร์ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อุยธยา : นักร้องวง Padadox และอดีตครูโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
32. สอง จักรพงศ์ สิริริน : นักร้องวง Padadox
ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา) และครุศาสตรมหาบัณฑิต
33. โก้ เศกพล อุ่นสำราญ : นักร้อง
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
34. ปิงปอง ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ : นักร้อง
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
35. อั้ส ชนัญญา ตั้งบุญจิตร : นักร้อง และผู้เข้าแข่งขัน The Star 2
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย)
36. แจ๋ว ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ : ผู้กำกับละคร
ครุศาสตรบัณฑิต
37. แจ๊กกี้ อดิสรณ์ พึ่งยา : ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
38. นายวิจิตร เกตแก้ว : อดีตนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
39. ลีซอ ธีรเทพ วิโนทัย : นักฟุตบอลทีมชาติไทย
กำลังศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา (สุขศึกษาและพลศึกษา)
40. ปอง สมปอง สอเหลบ : นักฟุตบอลทีมชาติไทย
กำลังศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา (สุขศึกษาและพลศึกษา)
41. บิ๊ก นราธร ศรีชาพันธุ์ : อดีตนักเทนนิสทีมชาติไทย
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
42. ลูกหมี รัศมี ทองสิริไพรศรี : นางแบบ
ครุศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)
43. พุ เหมันต์ เชตมี : ผู้กำกับภาพยนตร์บริษัท อาวอง จำกัดในเครือ RS
ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
44. ครูพี่เมย์ ศศิมาลา จันทมาลา : ครูสอนภาษาอังกฤษสถาบัน Enconcept
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา : ภาษาอังกฤษ)
45. ครูป๊อป ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์ : ผู้เขียนตำราวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา
ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา : สังคมศึกษา)
นี่เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกครอบครัวครุศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาออกเป็น เสาหลักของแผ่นดิน ทั้งด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ
การประเมินคุณภาพทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจากสำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้รับผลการประเมินในระดับ "ดี"
นอกจากนี้คณะครุศาสตร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านสังคมศาสตร์ดีที่สุดในโลกโดย The Times Higher Education 2010 ผลการจัดอันดับมีดังนี้
- อันดับที่ 1 ของประเทศไทย
- อันดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อันดับที่ 12 ของทวีปเอเชีย
- อันดับที่ 78 ของโลก
60 เรื่องน่ารู้รอบรั้ว "ครอบครัวครุศาสตร์"
ประวัติและข้อมูลทั่วไป
1. คณะครุศาสตร์ สถาปนาเป็นคณะที่ 7 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. คณะครุศาสตร์มีรากฐานมาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศ และถูกรวมในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ (จุฬาฯ ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดหลักสูตรฝึกหัดครูในระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ
3. คณะครุศาสตร์เป็นคณะแรกที่จัดหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาและการฝึกหัดครูเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
4. คณะครุศาสตร์ มีจำนวนนิสิตมากเป็นอันดับที่ 4 ของจุฬาฯ รองจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
5. คณะครุศาสตร์ มีจำนวนคณาจารย์มากเป็นอันดับที่ 2 ของจุฬาฯ รองจากคณะแพทยศาสตร์
6. คณะครุศาสตร์ เป็นคณะแรกที่แยกออกมาตั้งจากจุฬาฯ ฝั่งใหญ่
7. คณะครุศาสตร์ จัดเป็นคณะที่มีขนาดใหญ่ของจุฬาฯ โดยคณะอื่นที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และแพทยศาสตร์
การจัดการเรียนการสอน
เพราะเรามี "บ้าน" หลังเดียวกัน
เพราะเรา คือ นิสิตคณะครุศาสตร์ ไม่ใช่นิสิตครูคณะอื่น
เพราะเราทุกคนรู้จักกัน และคอยเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน
เพราะเราเป็นหนึ่งเดียว
เพราะพวกเราเป็นครอบครัวครุศาสตร์
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น