คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #22 : สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิปริญญาทางการศึกษา
ครุศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา)
Bachelor of Education (Educational Technology)
สังกัด
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
แนวทางการคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา
(การคาดการณ์)
- จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
- รูปแบบที่รับ
ระบบแอดมิชชั่นส์ รหัส 0036 คณะครุศาสตร์ รูปแบบรับรวม (ไม่จำแนกสาขาวิชา)
แนวทางการเลือกวิชาเอก
ประเภทวิชาเอก วิชาเอกบังคับเลือก ภายในสาขาวิชา วิชาเอกเลือก สาขาวิชาอื่น เลือกเรียน 1 วิชาเอก วิชาเอก - เทคโนโลยีการศึกษา - คอมพิวเตอร์การศึกษา สาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) - คณิตศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) - ภาษาไทย - สังคมศึกษา - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาเยอรมัน สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน - การศึกษานอกระบบโรงเรียน สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา - สุขศึกษา - พลศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาฯ - จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว - การศึกษาพิเศษ
รูปแบบการเลือกเรียนวิชาเอก :
วิชาเอกคู่ระหว่างวิชาเอกภายในสาขาวิชากับวิชาเอกของสาขาวิชาอื่น
เลือกเรียน 1 วิชาเอก
รายวิชาของวิชาเอกในสาขาวิชา
วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา (วิชาเอกคู่ จำนวน 38 หน่วยกิต)
- คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะจะเรียนวิชาเอกนี้
- มีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ และโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์
- มีความสนใจในเทคโนโลยีการศึกษา
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี และพร้อมจะเป็นผู้ให้บริการช่วยเหลือ และให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในศาสตร์เทคโนโลยีการศึกษาได้
- มีความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะทั้งด้านกราฟิกและการจัดภาพ
- ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชานี้
- ศาสตร์เทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แก่ การออกแบบ การผลิต และการใช้สื่อการสอน การถ่ายภาพ การผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษา การผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา การออกแบบการเรียนการสอนบน เว็บ และการให้คำแนะนำปรึกษาด้านเทคโนโลยีกับบุคลากรทางการศึกษา
- การสร้างสรรค์การเรียนรู้ กลยุทธ์การเรียนการสอน และนวัตกรรมในศาสตร์เทคโนโลยีการศึกษา
- รายละเอียดวิชาเอกที่นำมาคู่
วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา สามารถเลือกคู่กับ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน สุขศึกษา พลศึกษา
- แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต
- นักเทคโนโลยีการศึกษาทั้งในสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ
- ครู อาจารย์ผู้สามารถบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน
- นักออกแบบการเรียนการสอน นักวางแผนผลิตสื่อและการจัดฝึกอบอบรมทั้งในสถาบันการศึกษาและในองค์กรต่างๆ
- รายวิชาของวิชาเอก
1. รายวิชาบังคับ จำนวน 26 หน่วยกิต ได้แก่
2726122 การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา (2)
2726127 การออกแบบสื่อการเรียนการสอนประเภททัศนวัสดุ (2)
2726211 การถ่ายภาพ (3)
2726212 การผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษา (3)
2726311 กิจกรรมเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2726321 กลยุทธ์การเรียนการสอนและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2726341 การผลิตและการใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ (2)
2726342 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (2)
2726343 การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บ (2)
2726412 การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางการศึกษา (2)
2726414 การศึกษาโครงการทางเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2726421 ประเด็นและแนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2. รายวิชาเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต แบ่งเป็น
2726125 โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (3)
2726126 อิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2726202 การควบคุมและการใช้อุปกรณ์การสอน (2)
2726213 สื่อมวลชนทางการศึกษา (2)
2726303 เทคนิคการสอนแบบจุลภาค (2)
2726306 การจัดการศึกษานอกสถานที่ (2)
2726317 สื่อการสอนสำหรับการศึกษาตามเอกัตภาพ (2)
2726318 การผลิตวัสดุการสอนสำหรับเครื่องฉายและเครื่องเสียง (2)
2726323 การผลิตสื่อประสมเพื่อการเรียนการสอนและการนำเสนอ (2)
2726337 การผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์ (3)
2726362 การประยุกต์โปรแกรมสำเร็จรูปของคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษา (3)
วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา (วิชาเอกคู่ จำนวน 38 หน่วยกิต)
- คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะจะเรียนวิชาเอกนี้
- มีความรู้ความสนใจในศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์การศึกษา
- มีความรู้ในด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้นเป็นอย่างดี
- มีความคิดสร้างสรรค์ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
- ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชานี้
- ความรู้และทักษะด้านศาสตร์คอมพิวเตอร์การศึกษา ในระดับที่จะสอน ได้แก่ วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมภาษา ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ
- ความรู้ในด้านการออกแบบการเรียนการสอน
- การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์การศึกษา และการสร้างนวัตกรรมในศาสตร์คอมพิวเตอร์การศึกษา
- รายละเอียดวิชาเอกที่นำมาคู่
วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา สามารถเลือกคู่กับ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน สุขศึกษา พลศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน จิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว และการศึกษาพิเศษ
- แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต
- ครูคอมพิวเตอร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
- นักออกแบบการเรียนการสอน ( Instructional Designer)
- นักผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผู้พัฒนาระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
- นักผลิตบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- ประกอบอาชีพด้านคอมพิวเตอร์ เช่นโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- รายวิชาของวิชาเอก
1. รายวิชาบังคับ จำนวน 25 หน่วยกิต ได้แก่
2110183 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการทำโปรแกรม (3)
2726122 การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา (2)
2726125 โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (3)
2726222 การทำโปรแกรมวิชวลเบสิกสำหรับงานการศึกษา (3)
2726232 การจัดการฐานข้อมูลทางการศึกษา (3)
2726233 การทำโปรแกรมภาษาซีเพื่อประมวลผลข้อมูลทางการศึกษา (3)
2726321 กลยุทธ์การเรียนการสอนและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (2)
2726343 การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บ (2)
2726415 การศึกษาโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (2)
2726422 ประเด็นและแนวโน้มคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (2)
2. รายวิชาเลือก จำนวน 13 หน่วยกิต แบ่งเป็น
2726317 สื่อการสอนสำหรับการศึกษาตามเอกัตภาพ (2)
2726333 การจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์ (3)
2726336 ระบบคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษา (3)
2726337 การผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์ (3)
2726345 โปรแกรมภาษาสำหรับโฮมเพจทางการศึกษา (3)
2726355 ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (3)
2726362 การประยุกต์โปรแกรมสำเร็จรูปของคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษา (3)
2726372 การออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (2)
2726381 พฤติกรรมมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (3)
2726392 การทำโปรแกรมภาษาจาวาเพื่อประมวลข้อมูลทางการศึกษา (3)
หมายเหตุ : สำหรับน้องที่เลือกวิชาเอกคู่กับวิชาเอกต่อไปนี้
1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป และวิชาเอกคณิตศาสตร์ สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชามัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) CLICK!
2. วิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกสังคมศึกษา วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส และวิชาเอกเยอรมัน สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์ - สังคมศาสตร์) CLICK!
3. วิชาเอกการศึกษานอกระบบโรงเรียน สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน CLICK!
4. วิชาเอกสุขศึกษา และวิชาเอกพลศึกษา สามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา CLICK!
5. วิชาเอกจิตวิทยาการปรึกษาและแนะแนว และวิชาเอกการศึกษาพิเศษสามารถศึกษารายละเอียดได้ในบทความของสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ CLICK!
ความคิดเห็น