คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : สาขาวิชาดนตรีศึกษา
สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิปริญญาทางการศึกษา
ครุศาสตรบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
Bachelor of Education (Music Education)
สังกัด
ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา
แนวทางการคัดเลือกนิสิตเข้าสังกัดสาขาวิชา
(การคาดการณ์)
- จำนวนรับ ประมาณ 30 คน
- รูปแบบที่รับ
ระบบรับตรงแบบพิเศษ
- โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ
คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะจะเรียนในสาขาวิชานี้
มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งได้ดีพอสมควร โดยจะเน้นเฉพาะเครื่องดนตรีหลัก ในด้านดนตรีแบบฉบับ (ยังไม่เปิดรับนิสิตด้าน Popular และ Jazz) และควรมีความสนใจใฝ่รู้ในด้านศาสตร์ของการสอน
ขอบเขตของการเรียนในสาขาวิชา
- มีการเรียนการสอนเป็น 2 วิชาเอก คือ ดนตรีไทย และดนตรีสากล ในแต่ละวิชาเอกนิสิตสามารถเลือกความสนใจพิเศษไปทางการสอนเครื่องดนตรีและวงดนตรี หรือการสอนทฤษฎีก็ได้ ซึ่ง 2 สาย ดังกล่าวเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการ กระบวนการของการเรียนการสอนออกไปสอนในกลุ่มผู้เรียนวิชาเอกดนตรีทางลึก
- ศึกษาด้านการเรียนการสอน กระบวนการ และแนวคิดด้านดนตรีศึกษาในแบบต่าง ๆ ของโลก เช่น Kodaly , Orff, Dalcroze หรือแม้กระทั่งวิธีการเรียนการสอนดนตรีไทยตามสำนักต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำไปใช้ในกลุ่มผู้เรียนได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในระบบและนอกระบบ
- ศึกษาทักษะดนตรีในเครื่องมือที่ตนเองสอบข้ามากับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบตัวต่อตัว นอกจากนั้นยังมีรายวิชาด้านทฤษฎี ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี รวมทั้งวิชาทางด้านดนตรีศึกษาตามความถนัด
- นิสิตที่เรียนวิชาเอกดนตรีประเภทใดประเภทหนึ่ง ก็จะได้เรียนวิชาดนตรีพื้นฐานในอีกสายหนึ่งไปด้วย เช่น นิสิตเอกดนตรีไทย จะได้เรียนวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก การขับร้องประสานเสียง ประวัติศาสตร์วรรณคดีดนตรี ตะวันตกเบื้องต้น และสามารถเลือกเรียนวิชาดนตรีสากลอื่น ๆ ที่มีความสนใจได้นอกจากวิชาเอกดนตรีไทยและของตนเองและในทางกลับกัน นิสิตเอกดนตรีสากล ก็จะได้เรียนรู้ในวิชาพื้นฐานด้านดนตรีไทยด้วย
แนวทางการเลือกวิชาเอก
วิชาเอกบังคับ :
1. วิชาเอกดนตรีไทย
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบพิเศษ โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ วิชาเอกดนตรีไทย
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบปกติ รหัสคณะ จฬ 038
2. วิชาเอกดนตรีสากล
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบพิเศษ โครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ วิชาเอกดนตรีสากล
- ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงแบบปกติ รหัสคณะ จฬ 039
3. วิชาเอกดนตรีศึกษา
- นิสิตที่ผ่านการคัดเลือกระบบรับตรงเข้าศึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษาทุกแบบสามารถ เลือกเรียนวิชาเอกนี้ได้แทนวิชาเอกดนตรีไทยหรือดนตรีสากลได้
รูปแบบวิชาเอก : วิชาเอกเดี่ยว
เงื่อนไขของวิชาเอก : เป็นวิชาเอกเฉพาะของนิสิตสังกัดสาขาวิชาดนตรีศึกษาเท่านั้น
รายวิชาของวิชาเอกในสาขาวิชา
วิชาเอกดนตรีศึกษา (วิชาเอกเดี่ยว จำนวน 76 หน่วยกิต)
1. รายวิชาบังคับ จำนวน 50 หน่วยกิต แบ่งเป็น
1.1 วิชาบังคับทางดนตรีพื้นฐาน จำนวน 25 หน่วยกิต ได้แก่
2737109 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทขั้นนำ (1)
2737111 การขับร้องประสานเสียง 1 (2)
2737112 การขับร้องเพลงไทย 1 (2)
2737114 ทฤษฎีดนตรีไทย 1 (2)
2737125 ทฤษฎีดนตรีตะวันตก (2)
2737220 ดนตรีประถมศึกษา (2)
2737230 ดนตรีมัธยมศึกษา (2)
2737246 ดนตรีศึกษาขั้นนำ (3)
2737301 เทคโนโลยีในดนตรีศึกษา (2)
2737318 จิตวิทยาการสอนดนตรี (3)
2737420 ประเด็นและแนวโน้มทางดนตรีศึกษา (2)
2737450 สุนทรียศาสตร์กับดนตรีศึกษา (2)
1.2 วิชาบังคับทางดนตรี จำนวน 25 หน่วยกิต โดยเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้แก่
1.2.1 ดนตรีไทย
2737116 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทย 1 (1)
2737124 ทักษะดนตรีไทย 1 (2)
2737126 ทักษะดนตรีไทย 2 (2)
2737205 ประวัติดนตรีตะวันตกขั้นนำ (2)
2737216 เครื่องหนังและเครื่องกำกับจังหวะ 1 (2)
2737221 ประวัติและวรรณคดีดนตรีไทย 1 (2)
2737224 การบรรเลงหมู่ไทย 1 (2)
2737228 ทักษะดนตรีไทย 3 (2)
2737232 ทักษะดนตรีไทย 4 (2)
2737233 คีย์บอร์ด 1 (2)
2737236 ประวัติและวรรณคดีดนตรีไทย 2 (2)
2737244 ทฤษฎีดนตรีไทย 2 (2)
2737346 ดนตรีไทยในบริบทสังคมร่วมสมัย (2)
1.2.2 ดนตรีสากล
2737113 การขับร้องประสานเสียง 2 (2)
2737127 ทักษะดนตรี 1 (2)
2737131 ทักษะดนตรี 2 (2)
2737137 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 1 (1)
2737204 ประวัติดนตรีไทยขั้นนำ (2)
2737211 การบรรเลงหมู่1 (2)
2737243 ดนตรีในยุคกลางและเรอเนสซองส์ (2)
2737247 ทฤษฎีการประสานเสียง 1 (2)
2737249 ดนตรีในยุคบาโรคและคลาสสิก (2)
2737251 ทฤษฎีการประสานเสียง 2 (2)
2737263 ทักษะดนตรี 3 (2)
2737265 ทักษะดนตรี 4 (2)
2737303 ดนตรีในยุคโรแมนติกและศตวรรษที่ 20 (2)
2. รายวิชาเลือก จำนวน 26 หน่วยกิต แบ่งเป็น
2737119 การคลอเปียโน 1 (1)
2737210 ดนตรีปฐมวัยศึกษา (2)
2737218 นาฏศิลป์ไทย 1 (2)
2737219 การคลอเปียโน 2 (1)
2737231 ลีลาประกอบดนตรี (2)
2737233 คีย์บอร์ด 1 (2)
2737240 ดนตรีในอุดมศึกษา (2)
2737260 ยามาฮา 1 (2)
2737270 ยามาฮา 2 (2)
2737280 ซูซูกิ1 (2)
2737289 ดนตรีโลกขั้นนำ (2)
2737290 ซูซูกิ2 (2)
2737300 ออร์ฟ 1 (2)
2737305 ดนตรีสำหรับการศึกษาพิเศษ (3)
2737309 ธุรกิจดนตรี (2)
2737310 ดนตรีศึกษากับการสื่อสารมวลชน (2)
2737311 เอกัตศึกษาในดนตรีศึกษา 1 (2)
2737319 ดนตรีวิทยาขั้นนำ (2)
2737320 ออร์ฟ 2 (2)
2737326 ดนตรีศึกษาในเอเชียอาคเนย์ (2)
2737329 ดนตรีเปรียบเทียบ (2)
2737331 เอกัตศึกษาในดนตรีศึกษา 2 (2)
2737339 การสอนการขับร้องหมู่ (2)
2737350 โคดาย 1 (2)
2737360 โคดาย 2 (2)
2737369 สื่อดนตรีศึกษา (2)
2737370 ดาลโครซ 1 (2)
2737380 ดาลโครซ 2 (2)
2737390 ประวัติและปรัชญาดนตรีศึกษา (2)
2737400 การวิจัยดนตรีศึกษา (2)
2737402 นาฏศิลป์ไทย 2 (2)
2737404 นาฏศิลป์ไทย 3 (2)
2737408 นาฏศิลป์ไทย 4 (2)
2737490 สัมมนาดนตรีศึกษา (2)
วิชาเอกดนตรีไทย (วิชาเอกเดี่ยว จำนวน 76 หน่วยกิต)
1. รายวิชาบังคับ จำนวน 50 หน่วยกิต ได้แก่
2737109 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทขั้นนำ (1)
2737111 การขับร้องประสานเสียง 1 (2)
2737112 การขับร้องเพลงไทย 1 (2)
2737114 ทฤษฎีดนตรีไทย 1 (2)
2737116 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทย 1 (1)
2737124 ทักษะดนตรีไทย 1 (2)
2737125 ทฤษฎีดนตรีตะวันตก (2)
2737126 ทักษะดนตรีไทย 2 (2)
2737205 ประวัติดนตรีตะวันตกขั้นนำ (2)
2737216 เครื่องหนังและเครื่องกำกับจังหวะ 1 (2)
2737220 ดนตรีประถมศึกษา (2)
2737221 ประวัติและวรรณคดีดนตรีไทย 1 (2)
2737223 ประวัติและวรรณคดีดนตรีไทย 2 (2)
2737224 การบรรเลงหมู่ไทย 1 (2)
2737228 ทักษะดนตรีไทย 3 (2)
2737230 ดนตรีมัธยมศึกษา (2)
2737232 ทักษะดนตรีไทย 4 (2)
2737233 คีย์บอร์ด 1 (2)
2737244 ทฤษฎีดนตรีไทย 2 (2)
2737246 ดนตรีศึกษาขั้นนำ (3)
2737301 เทคโนโลยีในดนตรีศึกษา (2)
2737318 จิตวิทยาการสอนดนตรี (3)
2737346 ดนตรีไทยในบริบทสังคมร่วมสมัย (2)
2737420 ประเด็นและแนวโน้มทางดนตรีศึกษา (2)
2737450 สุนทรียศาสตร์กับดนตรีศึกษา (2)
2. รายวิชาเลือก จำนวน 26 หน่วยกิต แบ่งเป็น
2.1 วิชาบังคับเลือก จำนวน 10 หน่วยกิต ได้แก่
2737286 สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์เพลงไทย (2)
2737336 การประพันธ์เพลงไทย (2)
2737352 การควบคุมเพลงในวงดนตรีไทย (2)
2737362 การปรับวงดนตรีไทย (2)
2737454 กลวิธีการสอนเครื่องสายไทย (2)*
2737456 กลวิธีการสอนเครื่องเป่าไทย (2)*
2737458 กลวิธีการสอนเครื่องตีไทย (2)*
2737459 กลวิธีการสอนการขับร้องเพลงไทย (2)*
* เลือก 1 วิชาที่ตรงกับเครื่องมือเอก
2.2 วิชาเลือก จำนวน 16 หน่วยกิต ได้แก่
2737206 เครื่องดีดไทย (2)
2737208 เครื่องสีไทย (2)
2737212 ดนตรีและการแสดงพื้นเมืองไทย 1 (2)
2737214 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทย 2 (2)
2737222 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทดนตรีไทย 3 (2)
2737226 การเรียนเครื่องสายไทย 1 (2)
2737234 การบรรเลงหมู่ไทย 2 (2)
2737238 การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องดนตรีไทย (2)
2737242 การขับร้องเพลงไทย 2 (2)
2737262 การเรียนเครื่องเป่าไทย 1 (2)
2737264 เครื่องตีไทย 1 (2)
2737282 เพลงประกอบโขน (2)
2737284 เพลงประกอบละคร (2)
2737311 เอกัตศึกษาในดนตรีศึกษา 1 (2)
2737314 ดนตรีและการแสดงพื้นเมืองไทย 2 (2)
2737316 เครื่องหนังและเครื่องกำกับจังหวะ 2 (2)
2737322 ดนตรีในพิธีกรรมทางศาสนา (2)
2737328 การบรรเลงหมู่ไทย 3 (2)
2737332 การบรรเลงหมู่ไทย 4 (2)
2737344 ทักษะดนตรีไทย 5 (2)
2737356 ทักษะดนตรีไทย 6 (2)
2737358 การประพันธ์เพลงไทยขั้นสูง (2)
2737428 ทักษะดนตรีไทย 7 (2)
2737490 สัมมนาดนตรีศึกษา (2)
วิชาเอกดนตรีสากล (วิชาเอกเดี่ยว จำนวน 76 หน่วยกิต)
1. รายวิชาบังคับ จำนวน 50 หน่วยกิต ได้แก่
2737109 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาทขั้นนำ (1)
2737111 การขับร้องประสานเสียง 1 (2)
2737112 การขับร้องเพลงไทย 1 (2)
2737113 การขับร้องประสานเสียง 2 (2)
2737114 ทฤษฎีดนตรีไทย 1 (2)
2737125 ทฤษฎีดนตรีตะวันตก (2)
2737127 ทักษะดนตรี1 (2)
2737131 ทักษะดนตรี2 (2)
2737137 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 1 (1)
2737204 ประวัติดนตรีไทยขั้นนำ (2)
2737211 การบรรเลงหมู่1 (2)
2737220 ดนตรีประถมศึกษา (2)
2737230 ดนตรีมัธยมศึกษา (2)
2737243 ดนตรีในยุคกลางและเรอเนสซองส์ (2)
2737246 ดนตรีศึกษาขั้นนำ (3)
2737247 ทฤษฎีการประสานเสียง 1 (2)
2737249 ดนตรีในยุคบาโรคและคลาสสิก (2)
2737251 ทฤษฎีการประสานเสียง 2 (2)
2737263 ทักษะดนตรี3 (2)
2737265 ทักษะดนตรี4 (2)
2737301 เทคโนโลยีในดนตรีศึกษา (2)
2737303 ดนตรีในยุคโรแมนติกและศตวรรษที่ 20 (2)
2737318 จิตวิทยาการสอนดนตรี (3)
2737420 ประเด็นและแนวโน้มทางดนตรีศึกษา (2)
2737450 สุนทรียศาสตร์กับดนตรีศึกษา (2)
2. รายวิชาเลือก จำนวน 26 หน่วยกิต โดยเลือกเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตั้งแต่ 16-26 หน่วยกิต ส่วนหน่วยกิตที่เหลือสามารถเลือกเรียนของอีกกลุ่มได้ แบ่งเป็น
2.1 กลุ่มการสอนทฤษฎีดนตรีสากล
2737233 คีย์บอร์ด 1 (2)
2737245 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 2 (1)
2737255 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 3 (1)
2737297 วรรณกรรมบทเพลงขับร้องประสานเสียง (2)
2737311 เอกัตศึกษาในดนตรีศึกษา 1 (2)
2737317 การสอดทำนองเพลง (2)
2737321 การสอดทำนองเพลงขั้นสูง (2)
2737323 การแยกเสียงสำหรับวงดนตรี (2)
2737345 คีตลักษณ์และการวิเคราะห์ (2)
2737347 การประพันธ์เพลง (2)
2737351 การประพันธ์เพลงขั้นสูง (2)
2737355 ทฤษฎีการประสานเสียง 3 (2)
2737357 ทฤษฎีการประสานเสียง 4 (2)
2737361 คีย์บอร์ด 2 (2)
2737427 ดนตรีป็อปปูล่าและแจ๊ส (2)
2737435 การประสานเสียงดนตรีป๊อปปูล่าและแจ๊ส (2)
2737437 ดนตรีประกอบภาพยนตร์ (2)
2737439 การเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีป๊อปปูล่าและแจ๊ส (2)
2737490 สัมมนาดนตรีศึกษา (2)
2.2 กลุ่มการสอนเครื่องดนตรีและวงดนตรีสากล
2737119 การคลอเปียโน 1 (1)
2737213 การเรียนเครื่องสาย 1 (2)
2737215 การเรียนเครื่องเป่า 1 (2)
2737217 การเรียนเครื่องตี1 (2)
2737219 การคลอเปียโน 2 (1)
2737225 การบรรเลงหมู่2 (2)
2737227 การขับร้องประสานเสียง 3 (2)
2737233 คีย์บอร์ด 1 (2)
2737237 การขับร้องประสานเสียง 4 (2)
2737239 การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องดนตรี (2)
2737245 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 2 (1)
2737255 การอ่านออกเสียงโน้ตและพัฒนาโสตประสาท 3 (1)
2737307 การคลอเปียโน 3 (1)
2737311 เอกัตศึกษาในดนตรีศึกษา 1 (2)
2737313 การจัดการวงออร์เคสตรา โยธวาทิต และขับร้องประสานเสียง (2)
2737315 การอำนวยเพลงวงขับร้องประสานเสียง (2)
2737325 การบรรเลงหมู่3 (2)
2737327 การบรรเลงหมู่4 (2)
2737333 ทักษะดนตรี5 (2)
2737335 ทักษะดนตรี6 (2)
2737337 การอำนวยเพลงขั้นนำ (2)
2737353 การอำนวยเพลงในวงดนตรี (2)
2737361 คีย์บอร์ด 2 (2)
2737417 ทักษะดนตรี7 (2)
2737419 การคลอเปียโน 4 (1)
2737441 กลวิธีการสอนการขับร้องสากล (2)
2737447 วงโยธวาทิต (2)
2737449 การสอนวงโยธวาทิต (2)
2737451 กลวิธีการสอนเปียโน (2)
2737453 กลวิธีการสอนเครื่องสาย (2)
2737455 กลวิธีการสอนเครื่องเป่า (2)
2737457 กลวิธีการสอนเครื่องตี (2)
2737490 สัมมนาดนตรีศึกษา (2)
แนวทางการประกอบอาชีพในอนาคต
- ครูสอนดนตรีศึกษาในสถานศึกษาระดับใดก็ได้ เป็นผู้บริหารสถาบันการสอนดนตรีของเอกชนได้ - มีความสนใจด้านการประพันธ์เพลงหรือการแสดงก็สามารถประกอบอาชีพด้านดนตรีอื่นๆ ได้ตามต้องการ เนื่องจากรายวิชาที่ได้เรียน จะมีการเน้นด้านทักษะดนตรีในเครื่องมือเอกของตนเอง การบรรเลงรวมกันเป็นวง และด้านเทคโนโลยีต่างๆ ด้วย
- ศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิตในสาขานี้ในหลายสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ความคิดเห็น