คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ร่างกายของเรา
ร่างกายของเรา
ส่วนประกอบของร่างกาย
คำศัพท์ |
อักษรโรมันจิ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
頭 |
Atama |
อะทะมะ |
หัว |
肩 |
Kata |
คะทะ |
บ่า / ไหล่ |
胸部 |
Kyoubu |
เคียวบุ |
หน้าอก |
背中 |
Senaka |
เซะนะคะ |
หลัง |
腹 |
Hara |
ฮะระ |
ท้อง |
腕 |
Ude |
อุเดะ |
แขน |
肘 |
Hiji |
ฮิจิ |
ข้อศอก |
手 |
Te |
เทะ |
มือ |
腰 |
Koshi |
โคะชิ |
เอว |
ヒップ |
Hippo |
ฮิพพุ |
สะโพก |
尻 |
Shiri |
ชิริ |
ก้น |
下肢 |
Kasha |
คะชิ |
ขา |
太腿 |
Futomomo |
ฟุโทะโมะโมะ |
ต้นขา |
膝 |
Hiza |
ฮิซะ |
หัวเข่า |
脹脛 |
Fukurahaki |
ฟุคิระฮะงิ |
น่อง |
脛 |
Sune |
ชุเนะ |
แข้ง |
足 |
ashi |
อะชิ |
เท้า |
ศีรษะและใบหน้า
คำศัพท์ |
อักษรโรมันจิ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
髪の毛 |
Kaminoke |
คำมิโนะเคะ |
เส้นผม |
前頭 |
Zentou |
เซนโท |
หน้าผาก |
顔 |
Kao |
คะโอะ |
ใบหน้า |
眉毛 |
Mayuge |
ทะนุเงะ |
คิ้ว |
目 |
Me |
เมะ |
ตา |
睫毛 |
Matsuge |
มะทซึเงะ |
ขนตา |
耳 |
Mimi |
มิมิ |
หู |
鼻 |
Hana |
ฮะนะ |
จมูก |
頬 |
Hoo |
โฮ |
ปก้ม |
口 |
Kuchi |
คุจิ |
ปาก |
唇 |
Kuchibiru |
คุจิบิรุ |
ริมฝีปาก |
顎 |
Ago |
อะโงะ |
คาง |
歯 |
Ha |
ฮะ |
ฟัน |
舌 |
Shita |
ชิทะ |
ลิ้น |
首 |
Kubi |
คุบิ |
คอ |
บุคลิกและลักษณะนิสัย
ใจแข็ง, ไม่ยอมแพ้ใคร 気が強い Ki ga tsuyoi คิ งะ ทซึโยย |
ขี้กลัว 気が弱い Ki ga yowai คิ งะ โยะไว |
สดใส, ร่าเริง 明るい Akarui อะคะรุย |
เศร้าหมอง, ไม่ร่าเริง 暗い Kurai คุไร |
ขยัน, เอาจริงเอาจัง 真面目(な) Majime (na) มะจิเมะ (นะ) |
ไม่ขยัน, ไม่เอาจริงเอาจัง 不真面目(な) Fumajime (na) ฟุมะจิเมะ (นะ) |
ใจเย็น 気が長い Ki ga nagai คิ งะนะไง |
ใจร้อน 気が短い Ki ga mijikai คิ งะ มิติไค |
ว่านอนสอนง่าย 素直(な) Sunao (na) ซุนะโอะ (นะ) |
ดื้อรั้น 頑固(な) Ganko (na) กังโคะ (นะ) |
ใจดี 優しい Yasashii ยะซะชึ |
ใจร้าย, ชอบแกล้งคน 意地悪(な) Ijiwaru (na) อิจิวะรุ (นะ) |
คำศัพท์ |
อักษรโรมันจิ |
คำอ่าน |
ความหมาย |
厳しい |
Kibishii |
คิบิชี |
เคร่งครัด, เข้มงวด |
正直(な) |
Shoujiki (na) |
โชจิคิ (นะ) |
ซื่อตรง |
活発(な) |
Kappatsu (na) |
คัพพะทซึ (นะ) |
กระฉับกระเฉง |
勝気(な) |
Kachiki (na) |
คะจิคิ (นะ) |
ชอบเอาชนะ |
勇敢(な) |
Yuukan (na) |
ยูคัน (นะ) |
กล้าหาญ |
臆病(な) |
Okubyou (na) |
โอะคุเบียว (นะ) |
ขี้ขลาด |
几帳面(な) |
Kichoumen (na) |
คิโจเมน (นะ) |
พิถีพิถัน |
無責任(な) |
Musekinin (na) |
มุเซะคินิน (นะ) |
ไม่มีความรับผิดชอบ |
礼儀正しい |
Reigitadashii |
เรงิทะดะซึ |
สุภาพเรียบร้อย |
冷たい |
Tsumetai |
ทซึเมะไท |
เย็นชา |
สมาชิกครอบครัว
พี่ชาย 兄ani อะนิ
พี่สาว 姉 ane อะเนะ
น้องชาย 弟 otouto โอะโทโทะ
น้องสาว 妹 imouto อิโมะโทะ
ลุง, น้า, อา (ผู้ชาย) おじ oji โอะจิ
ป้า, น้า, อา (ผู้หญิง) おば oba โอะบะ
สมาชิกครอบครับ (จากการสมรส)
พี่เขย 義兄 gikei กิเค
พี่สะใภ้ 義姉 gishi กิชิ
น้องเขย 義弟 gitei กิเท
น้องสะใภ้ 義妹 gimei กิไม
คำที่ใช้เรียนคนในครอบครัวของคนอื่น (สมาชิกนอกกลุ่มคน)
ปู่, ตา お祖父さんojiisan โอะจีซัง
ย่า, ยาย お祖母さん obaasan โอะบาซัง
ลุง, น้า, อา (ผู้ชาย) おじさん ojisan โอะจิซัง
ป้า, น้า, อา (ผู้หญิง) おばさん obasan โอะบะซัง
พ่อ お父さん otousan โอะโทซัง
แม่ お母さん okaasan โอะคาซัง
พี่ชาย お兄さん oniisan โอะนีซัง
พี่สาว お姉さんoneesan โอะเนซัง
น้องชาย 弟さんotoutosan โอะโทโทะซัง
น้องสาว 妹さん imoutosan อิโทโทะซัง
สามี ご主人 go shujin โกะ ชุจิน
ภรรยา 奥さん okusan โอะคุซัง
ลูกชาย 息子さん musukosan มุซุโคะซัง
ลูกสาว 娘さん musumesan มุซุเมะซัง
หลานชาย (ลูกของพี่หรือน้อง) 甥御さん oigosan โอยโงะซัง
หลานสาว (ลูกของพี่หรือน้อง) 姪御さんmeigosan เมโงะซัง
ครอบครัว
พ่อสามี 舅 shuuto ชูโทะ
แม่สามี 姑 shuutome ชูโทะเมะ
พ่อตา 岳父gakufu งะคุฟุ
แม่ยาย 岳母 gakubo งะคุโบะ
สามี 夫 otto อทโทะ
ภรรยา 妻 tsuma ทซึมะ
ลูกชาย 息子musuko มุซุโคะ
ลูกสาว 娘 musume มุซุเมะ
ลูกเขย 婿 muko มุโคะ
ลูกสะใภ้ 嫁 yome โยะเมะ
หลานชาย 孫息子 magomusuko มะโงะมุซุโคะ
หลานสาว孫娘 magomuseme มะโงะมุซุเมะ
หลานสะใภ้ 孫の嫁 mago no yome มะโงะ โนะ โยะเมะ
เหลน (ทั้งชายและหญิง) ひまご himago ฮิมะโงะ
ข้อสังเกต
ชาวญี่ปุ่นนั้นมักจะกล่าวคำทักทายเฉพาะกับคนที่ตนรู้จักมักคุ้น
หรือกับคนที่อยู่ในกลุ่มของตนเท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่ต่อยเห็นคนญี่ปุ่นกล่าวคำทักทายกับคนที่พวกเขาไม่รู้จักหรือคนที่อยู่นอกกลุ่มตน
โดยจะสังเกตเห็นได้เมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า หรือการเดินเล่นตามสวนสาธารณะ
หรือแม้กระทั่งตามรถหนทางต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง
จึงทำให้คนญี่ปุ่นมักถูกมองว่าชอบปิดกั้นตนเองเป็นอย่างมาก
ดังนั้นในการคบหาสมาคมกับชาวญี่ปุ่น
เราจึงควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ
และมารยาทเบื้องต้นขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตนอยู่เสมอ
พื้นฐานในวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่นนั้น
มีลักษณะเป็นแบบ “ระบบของการรวมกลุ่ม” กล่าวคือ เป็นสังคมที่ผู้คนต่าง ๆ
มักจะมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยมีความรู้สึกที่ว่าตนนั้นเป็นสมาชิกที่มีบทบาท
หน้าที่ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องยึดถือหลักการอยู่ร่วมกันในสังคม
โดยมีการวางพื้นฐานกฎเกณฑ์และกติกาต่าง ๆ ร่วมกัน
เราจึงมักจะเห็นคนญี่ปุ่นใช้คำศัพท์คำว่า 本音 hone ฮนเนะ ที่หมายถึง “ใจจริง” และคำว่า 立前 tatemae ทะเทะมะเอะ ที่มีความหมายว่า “ภายนอก” คำว่า 本音 hone ฮนเนะ นั้น อาจตีความหมายโดยคร่าว ๆ ได้ว่า
หมายถึง “หลักการส่วนรวม” ก็ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่แล้ว
มักจะให้ความสำคัญกับแนวคิดแบบนี้ที่ถือเป็นกฎเกณฑ์หรือหลักการของสักคมโดยส่วนรวมเป็นสำคัญ
ช่วงชีวิต
ตั้งแต่คนเราได้เกิดมานั้น
จะมีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นและผ่านเข้ามาในช่วงชีวิตของคนเราเป็นช่วง ๆ
นับตั้งแต่เล็กจนโต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องหนังสือ ทำงาน แต่งงานมีครอบครัว
จนกระทั่งมีลูก คำศัพท์ต่อไปนี้ให้ข้อมูลอย่างครอบคลุมที่เกี่ยวกับช่วงชีวิตของคนเรา
นับตั้งแต่เกิดจนประทั่งเสียชีวิตไป
เกิด |
生まれる |
Umareru |
อุมะเระรุ |
เด็กทารก |
赤ちゃん |
Akachan |
อะคอจัง |
เด็กผู้หญิง |
女の子 |
Onna no ko |
อนนะ โนะ โคะ |
เด็กผู้ชาย |
男の子 |
Otoko no ko |
โอะโทะโคะ โนะ โคะ |
เด็ก |
子供 |
Kodomo |
โคะโดะโมะ |
เข้าเรียน |
入学する |
Nyuugakusuru |
นิวงะคุซุรุ |
วัยรุ่น |
青年 |
Seinen |
เซเนน |
เรียนจบ |
学校を出る |
Gakkou o desu |
กัค โอะ เดะรุ |
คนโสด |
独身 |
Dokushin |
โดะคุชิน |
สาวโสด |
女性独身 |
Joseidokushin |
โจะเซโดะคุชิน |
หนุ่มโสด |
男性独身 |
Danseidokushin |
ดันเซโดะคุชิน |
ทำงาน |
就職する |
Shuushokusuru |
ชูโชะคุชุรุ |
แต่งงาน |
結婚する |
Kekkonsuru |
ดคคคนซุรุ |
พิธีต่างงาน |
結婚式 |
Kekkonshiki |
เคคคนชิคิ |
มีลูก |
子供が生まれる |
Kodomo ga umareru |
โคะโดะโมะ งะ อุมะเระรุ |
วัยกลางคน |
中年 |
Chuunen |
จูเนน |
พ่อม่าย |
男やもめ |
Otokoyamome |
โอะโทะโคะยะโมะเมะ |
แม่ม่าย |
寡婦 |
Kafu / Yamome |
คะฟุ / ยะโมะเมะ |
หย่าร้าง |
離婚する |
Rikonsuru |
ริคนซุรุ |
แต่งงานใหม่ |
再婚する |
Saikonsuru |
ไซคนซุรุ |
เกษียณ, เลิกทำงาน |
仕事をやめる |
Shigoto o yameru |
ชิโงะโทะ โอะ ยะเมะรุ |
คนชรา |
老人 |
Roujin |
โรจิน |
เจ็บป่วย |
病気 |
Byouki |
เบียวคิ |
ตาย |
死ぬ |
Shinu |
ชินุ |
งานศพ |
葬式 |
Soushiki |
โซชิคิ |
รู้หรือไม่?
พ่อแม่ที่มีลูกสาวอาบุครบ 7 ขวบ ลูกชายอายุครบ 5 ขวบ และลูกสาวอายุครบ 3
ขวบ จะมีประเพณีที่เรียกว่า 七五三 (shichi – go - san) ชิจิ – โกะ – ซัน คือ
เมื่อเด็กมีอายุครบตามจำนวนดังกล่าว พ่อแม่ก็จะพาลูกของตนไปไหว้เจ้าที่วัดชินโต
เพื่ออธิษฐานขอพรให้ลูกของตนนั้นมีความสุขและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
千歳飴 (chitoseame) จิโทะเซะอะเมะ
เป็นชื่อเรียกของขนมที่เป็นลูกกวาด เรียกว่า “ลูกกวาดพันปี”
ขนมดังกล่าวจะมีขายอยู่ตามร้านค้าต่าง ๆ โดยคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า
เมื่อรับประทานลูกวาดดังกล่าวแล้ว จะทำให้ลูก ๆ ของตนมีอายุยืนยาว
อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่ลูกของตนนั้นได้เจริญเติบโตขึ้น
ชาวญี่ปุ่นเมื่อลูก
ๆ ของตนนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะมีการจัดงานพิธีเฉลิมฉลองที่เรียกว่า 成人式 (seijinshiki) เซจินชิคิ
ซึ่งหมายถึง “พิธีบรรลุนิติภาวะ” ขึ้น เพื่อเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่เข้ามาในสังคม
โดยผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วนั้นสามารถที่จะใช้สิทธิ์ของตนในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
และถือได้ว่าเป็นผู้มีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในรูปแบบของตน
อีกทั้งจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
คำว่า
お見合い (o - miai) โอะ – มิไอ หมายถึง
“การดูตัว” หรือ “การนัดบอด” ดังนั้นที่ญี่ปุ่นประเพณีที่เรียกว่า お見合い นั้นก็คือ การที่คู่หนุ่มสาวที่มีความเหมาะสมกัน
ได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเพื่อแต่งงาน
โดยพ่อสื่อหรือแม่สื่อที่เป็นคนกลางจะแนะนะให้คู่หนุ่มสาวทั้งสองฝ่ายได้ทำความรู้จักมักคุ้นกัน
ในระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกันที่ร้านอาหาร
โนการพบปะกันตามงานเลี้ยงสังสรรค์ในสถานที่ทำงาน หรือในสถานศึกษา
โดยจะมีการจัดงานเลี้ยงที่เรียกว่า 合コン (goukon)โงคน ที่หมายถึง
“งานเลี้ยงสำหรับคนโสด” ขึ้นมาเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นการนัดบอดหรือนัดดูตัวกันระหว่างกลุ่มหนุ่ม
ๆ สาว ๆ ที่ยังโสดอยู่
คำว่า
結婚式 (kekkonshiki) เคคคนชิคิ หมายถึง “พิธีแต่งงาน”
สำหรับพิธีแต่งงานที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นนั้น มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ
พิธีแบบพุทธ พิธีแบบคริสต์ และพิธีแบบชินโต
การที่คู่หนุ่มสาวตันสินใจเลือดจัดในพิธีแบบใดนั้น
ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย มากกว่าความเชื่อทางด้านศาสนาของแต่ละบุคคล
เครื่องแต่งกาย
ในภาษาญี่ปุ่น
“เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย” จะใช้ศัพท์ในแบบรวมว่า 衣服 (ifuku) อิฟุคุ หรือ 服装 (fukusou) ฟุคุโซ สำหรับคำว่า
“เสื้อผ้าและเครื่องประดับ” นั้น จะใช้คำว่า 服飾 (fukushoku) ฟุคุโชะคุ
ในบทนี้จะอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
รวมไปถึงของใช้จิปาถะต่าง ๆ ที่ใช้ในการแต่งกายนั้นของผู้ชายและของผู้หญิง
ส่วนประกอบ ลักษณะ
และลวดลายของเสื้อผ้า
ปกเสื้อ |
襟 |
Eri |
เอะริ |
ชายเสื้อ |
裾 |
Suso |
ซุโซะ |
แขนเสื้อ |
袖 |
Sode |
โซะเดะ |
(เสื้อ) แขนสั้น |
半袖 |
Hansode |
ฮันโซะเดะ |
(เสื้อ) แขนยาว |
長袖 |
Nagasode |
นะงะโซะเดะ |
(เสื้อ) ไม่มีแขน |
袖なし |
Sodenashi |
โซะเดะนะชิ |
(เสื้อ) ลายเรียบ/ไม่มีลาย |
無地 |
Miji |
มุจิ |
(เสื้อ) ลายดอกไม้ |
花柄 |
Hanagara |
ฮะนะงะระ |
(เสื้อ) ลายขวาง |
横じまボーダー |
Yokojima boodaa |
โยะโคะจิมะ โบดา |
(เสื้อ) ลายตรง |
縦じまストライプ |
Tatejima sutoraiou |
ทะเทะจิมะ ซุโทะไรพุ |
(เสื้อ) ลายจุด |
水だまドット |
Mizudama dotto |
มิซุดะมด ดทโทะ |
เครื่องแต่งกายชาย
ชุดสูด |
スーツ |
Suutsu |
ซูทซึ |
เสื้อยืดคอกลม |
T-シャツ |
T-shatsu |
ที -ชะทซึ |
เสื้อแจ็กเกต |
ジャケット |
Jaketto |
จะเคทโทะ |
กางเกงขายาว |
ズボン |
Zubon |
ซุบง |
กางเกงขาสั้น |
半ズボン |
Hanzubon |
ฮันซุบง |
กางเกงยีนส์ |
ジーンズ |
Jiinzu |
จีนซุ |
รองเท้าหนัง |
革靴 |
Kawagutsu |
คะวะงุทซึ |
รองเท้าแตะ |
サンダル |
Sandaru |
ซันเดะรุ |
ถุงเท้า |
靴下 |
Kutsushita |
คุทซึชิทะ |
เข็มขัด |
ベルト |
Beruto |
เบะรุโทะ |
เนกไท |
ネクタイ |
Nekutai |
เนะคุไท |
เครื่องแต่งกายหญิง
เสื้อสายเดี่ยว |
キャミソーリ |
Kyamisoori |
เคียะมิโซริ |
เสื้อเกาะอก |
チューブトップ |
Chuubutoppu |
จูบุทพพุ |
ชุดวันพีช |
ワンピース |
Wanpiisu |
วันพีซุ |
ชุดราตรี (ชุดเดรส) |
ドレス |
Doresu |
โดะเระซุ |
ชุดนอน |
パジャマ |
Pajama |
พะจะมะ |
กระโปรง |
スカート |
Sukaato |
ซุคาโทะ |
รองเท้าส้นสูง |
ハイヒール |
Hauhiiru |
ไฮฮีรุ |
รองเท้าหุ้มส้น (รองเท้าคัตชู) |
ポンプス |
Ponpusu |
พมพุซุ |
ถุงน่อง |
ストッキング |
Sutokkingu |
ซุทคคิงงุ |
ตุ้มหู |
イヤリング |
Iyaringu |
อิยะริงงุ |
สร้างข้อมือ |
ブレスレット |
Buresuretto |
บุเระซุเรทโทะ |
สร้อยคอ |
ネックレル |
Nekkuresu |
เนคคุเระซุ |
แหวน |
指輪 |
Yubiwa |
ยุบิวะ |
ผ้าพันคอ |
スカーフ |
Sukaafu |
ซุคาฟุ |
กำไล |
腕輪 |
Udewa |
อุเดะวะ |
แว่นตากันแดด |
サングラス |
Sangurasu |
ซังงุระซุ |
ผ้าเช็ดหน้า |
ハンカチ |
Hankachi |
ฮังคะจิ |
ที่รัดผม |
バレッタ |
Beretta |
บะเรททะ |
ถุงซอปปิง |
買い物袋 |
Kaimonobukuro |
ไคโมะโนะบุคุโระ |
กระเป๋าเครื่องสำอาง |
仮称バッグ |
Keshoubeggu |
เคะโชบัคงุ |
กระเป๋าถือสตรี |
ハンドバック |
Handobakku |
ฮันโดะบัคคุ |
เรื่องน่ารู้
โดยปกติแล้วเสื้อผ้าของคนญี่ปุ่นจะมีอยู่
5 ขนาดด้วยกัน คือ S,M,L,LL และ XL
ดังนั้นในการเลือกซื้อเสื้อผ้า
เราจึงควรเลือกเสื้อผ้าให้มีขนาดที่พอเหมาะกับตัวโดยการลองสวมใส่ชุดก่อนว่ามีขนาดที่เหมาะสมเข้ากันหรือไม่
เรามักได้คำศัพท์ดังนี้ คือ 似合うniau ซึ่งเป็นคำกริยาที่มีความหมายว่า “เหมาะสม” หรือ
“เข้ากันได้ดี” และ คำว่า 試着 shichaku ที่เป็นคำนาม โดนมีความหมายว่า “การลองสวมใส่
(เสื้อผ้า)” นอกจากนี้
ยังมีร้านค้าบางแห่งที่อาจช่วยแก้ไขโดยปรับขนาดเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับเราได้
อีกทั้ง ร้านซักรีดตามท้องถิ่นต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า クリーニング屋kuriininguya ก็อาจสามารถช่วยปรับขนาดให้เราได้ด้วยเช่นกัน
คำว่า
着物kimono หมายถึง “ชุดกิโมโน” ซึ่งถือได้ว่าเป็นชุดแต่งกายประจำชาติแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น
เนื่องจากว่าชุดกิโมโนเป็นชุดที่มีราคาแพง
อีกทั้งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันที่เร่งรีบของคนญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน
คนญี่ปุ่นจึงนิยมสวมกระโปรง ชุดสูท และเสือผ้าในแบบตะวันตกมากกว่า ชุดกิโมโนจึงมักนำมาสวมเพื่อไปในงานที่มีลักษณะเป็นพิธีการต่าง
ๆ เช่น งานแต่งงาน งานศพ เป็นต้น
หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นส่วนมากมักจะนิยมสวมชุดกิโมโนไปในงานพิธีบรรลุนิติภาวะและพิธีรับปริญญา
นอกจากนี้ พนักงานต้อนรับในร้านอาหารต่าง ๆ มักจะนิยมสวมชุดกิโมโนด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมักไม่ค่อยเห็นคนญี่ปุ่นสวมชุดกิโมโนเดินตามท้องถนน
แต่จะเห็นลักษณะการแต่งตัวที่ส่วนใส่ “เสื้อผ้าแบบตะวันตก” หรือที่เรียกว่า 洋服yoofuku แทน
ความคิดเห็น