ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #195 : Prince Theatre

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50





    ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ภ. 004 หวญ 23-20 ไม่มีคำบรรยาย (ภาพนี้ถ่ายราว พ.ศ. 2425-2437)

              ภายในโรงละครจะตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม มีชื่อโรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษเหนือเวทีไว้ว่า Prince Theatre มีโคมส่องเวทีติดเรียงเป็นแถว มีที่นั่งของผู้ชมทั่งด้านหน้า และด้านข้าง ส่วนตัวละครมีหลายตัวดูคึกคัก นอกจากตัวพระ นาง ทหารหญิง และทหารยักษ์แล้ว ยังมีช้าง (ใช้คนแสดง) อีก 2 เชือกด้วย

              ปรินซ์เทียเตอร์นี้เป็นโรงละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่งเคยรับใช้รัชกาลที่ 4 มาตั้งแต่เด็ก ร.4 ทรงรักใคร่จนนับเป็นบุตรเลี้ยง เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ท่านเป็นเจ้าของคณะละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่เพิ่งมาเป็นหลักฐานมั่นคงในรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมก็แสดงละครนอก ละครใน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้เป็นอุปทูตไปอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 ขณะอายุ 36 ปี (เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย คราวหม่อมราโชทัยเป็นล่าม) ท่านจึงนำแบบละครยุโรปมาปรับปรุงละครนอกของท่าน ให้มีแนวทางที่แปลกออกไป ละครของท่านได้รับความนิยมมากในปลายรัชกาลที่ 5 และสิ่งที่ท่านได้สร้างให้เกิดในวงการละครของไทย คือได้ริเริ่มแสดงละครเก็บเงิน (ตีตั๋ว) ที่โรงละครเป็นครั้งแรก เนื่องจากแต่เดิมคณะละครนี้เดิมชื่อ Siamese Theatre เป็นละครที่เล่นอยู่กับบ้านตามความพอใจของเจ้าของ เวลามีแขกเมืองมาก็เล่นให้แขกเมืองดู ชาวบ้านก็พลอยได้ดูด้วย จนเมื่องานฉลองกรุง 100 ปี (พ.ศ. 2425) เจ้าพระยามหินทรฯ ได้เอาละครไปร่วมแสดงในงานกลางท้องสนามหลวง ซึ่งมีการเก็บเงินคนที่ไปดูด้วย จากนั้นท่านจึงคิดเล่นละครเก็บเงินค่าดูบ้าง แล้วเปลี่ยนชื่อโรงละครเป็น "ปรินซ์เทียเตอร์" หมายถึงละครของพระองค์เจ้าที่เป็นหลานของท่าน (เนื่องจากบุตรีของท่านที่ชื่อ มรกฎ ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 มีพระราชธิดา พระราชโอรส 2 พระองค์) และการแสดงของท่านก่อให้เกิดคำขึ้นคำหนึ่ง คือ "วิก" เหตุที่เกิดคำนี้คือ ละครของท่าน เดิมแสดงเวลาเดือนหงาย เดือนละ 1 สัปดาห์ หรือ 1 วีค ชาวบ้านเมื่อไปดูละครของท่าน ก็มักจะพูดกันว่าไปวิก คือ ไปสุดสัปดาห์ด้วยการไปดูละครของท่านเจ้าพระยาฯ เรื่องที่แสดงมีทั้ง ดาหลัง ราชาธิราช และอื่นๆ การแต่งตัวก็แต่งอย่างสมจริง เช่น เล่นเรื่องจีนก็แต่งชุดจีน เล่นเรื่องพม่าก็แต่งชุดพม่า ทำให้มีผู้ชื่นชอบกันมาก

              เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม โรงละครของท่านตกเป็นของบุตร คือ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (บุศย์) ท่านผู้นี้เรียกละครของท่านว่า "ละครบุศย์มหินทร์" ละครโรงนี้ได้ไปแสดงในยุโรปเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยไปแสดงที่เมืองปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เมื่อพ.ศ. 2443 แต่ล้มเหลว คือขาดทุน เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยใน พ.ศ. 2444 ไม่นาน เจ้าหมื่นไวยวรนาถก็ถึงแก่กรรม

    http://www.anurakthai.com/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×