ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #194 : [การแสดงในพระราชพิธี และพิธีไหว้ครู] แทงวิไสย

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50



              แทงวิไสย เป็นการเล่นของชาวมลายู คำว่า "แทงวิไสย" เพี้ยนมาจากภาษามลายูว่า "แทงบิไส" คำว่า "บิไส" แปลว่า โล่ แต่เดิมการเล่นแทงวิไสย ผู้เล่นจะถือดาบ และโล่ต่อสู้กัน ต่อมาได้ใช้เขนแทนโล่ แต่ก็ยังเรียก "แทงวิไสย" ดังปรากฎในโคลงครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า"จรกางห่มหอกเลื่อง แทนเขน" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้หันกลับมาใช้โล่อีก ดังพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "โสกันต์" ว่า
              แทงวิไสยใส่เสื้อเช่น
    สวมเทรอดผอมโยเซ
    ถือดาบโลห์ทำท่า
    หนึ่งเทอดทวนฟ้อนเฟื้อย
    ซ่ยวกาง
    หนวดเลื้อย
    ซ่องแซ่ง
    ฟาดฟาย
              ผู้เล่นแทงวิไสยในสมัยอยุธยาใช้ผู้ชายเล่น ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ บ้างใช้ละครผู้หญิงของหลวงเล่นก็มี เช่น เล่นครั้งแรกเมื่อแห่โสกันต์ของฝ่ายในพระราชวัง ครั้งโสกันต์สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ฯ เมื่อ พ.ศ. 2431 ใช้ผู้หญิงเล่นระเบ็ง แทงวิไสย และกระอั้วแทงควาย ครั้นถึงงานโสกันต์ของกรมขุนสุพรรณภาควดีก็กลับใช้ผู้ชายเล่นตามเดิม เครื่องแต่งกายของผู้แสดง จะสวมเสื้อผ้ารุ่มร่าม ติดกระดาษสีเป็นลวดลาย มีขลิบทอง สวมเทริด(อ่านว่า "เซิด") ผัดหน้า ใส่หนวด เครา ถือดาบ และโล่หรืออาวุธอย่างอื่นก็ได้ ผู้เล่นมีเพียง 2 คนเท่านั้น เล่นรบกันคล้ายงิ้ว แต่ช้ากว่า โดยมีปี่พาทย์ประกอบการเล่นด้วย

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×