ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #193 : [การแสดงในพระราชพิธี และพิธีไหว้ครู] รำโคม

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50


              รำโคม รำโคม เป็นการแสดงเชิงระบำ ผู้แสดงแต่งกายร่ายรำทำท่าเหมือนๆกันหลายๆคน แสดงเฉพาะในงานพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานสมโภชช้างเผือก งานพระเมรุท้องสนามหลวง เป็นต้น การแสดงรำโคมดัดแปลงมาจากการแสดงญวนรำกระถางให้มีลีลาท่ารำแบบไทย ใช้เพลงไทยมีดนตรีปี่พาทย์ประกอบ แสดงในเวลากลางคืน การแสดงรำโคมนี้มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ผู้บังคับบัญชากรมญวนหก ดัดแปลงรำโคมให้เป็นอย่างไทย ผู้คิดลำนำร้องคือ พระราชมนู (ทองอยู่) ซึ่งเวลานั้นเป็นหลวงพิษณุเสนี แสดงในงานเฉลิมพระชนมพรรษารัชกาลที่ 4 ครบ 60 พระชันษา ผู้แสดงรำโคมต้องมีจำนวนมากๆ 40 - 80 คน จึงจะงาม ผู้แสดงแต่งกาย โดยสวมสนับเพลา นุ่งผ้าเกี้ยว สวมเสื้อแพรสีต่างๆแถวละสี มีผ้าคาดเอว ศีรษะสวมหมวกเศียรพญานาค ถือโคมรูปดอกบัว มีเทียนจุดไฟปักอยู่ภายในโคม ขับร้อง และร่ายรำเข้ากับเพลงปี่พาทย์ จบคำร้องเพลงหนึ่งๆแล้ว มีกรับตีบอกจังหวะให้ผู้รำโคมแปรขบวน ขยายแถว และเข้าต่อกันเป็นรูปต่างๆ เช่น รูปเรือกำปั่น รูปโคมเวียน รูปป้อม รูปซุ้ม เป็นต้นการดูรำโคม ผู้ดูควรอยู่ในที่สูง จะเห็นความงดงาม ฉะนั้นจึงนิยมเล่นกลางสนาม และจัดที่ประทับสำหรับพระเจ้าอยู่หัวให้สูงขึ้น

              ลักษณะบทร้อง มักแต่งเป็นกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 หรือกาพย์สุรางคนางค์ 28 แต่ส่วนมากนิยมใช้กาพย์ฉบัง 16 เพลงที่ใช้ร้องได้แก่ ฝรั่งรำเท้า นางนาค พัดชา เหาะ ลมพัดชายเขา กราวรำมอญ ลีลากระทุ่ม ขึ้นพลับพลา เพลงหน้าพาทย์ใช้เพลงพญาเดิน เพลงโล้ เพลงเชิดฉิ่ง เพลงมหาชัย เป็นต้น บทร้องที่นิยมใช้จะยึดบทที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นหลัก แต่ก็มีบทที่แต่งขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะกับโอกาสที่แสดง

    http://www.anurakthai.com/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×