ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #190 : [การแสดงในพระราชพิธี และพิธีไหว้ครู] กุลาตีไม้

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50




               
                    กุลาตีไม้ เป็นการละเล่นของหลวง สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากการละเล่นพื้นเมืองของอินเดียตอนใต้ เรียกว่า ทัณฑรส คือระบำไม้ เพราะมีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับกุลาตีไม้ของไทยมาก ผู้เล่นถือไม้สั้น ๆ สองมือ เต้นเป็นวงกลม ใช้ไม้ตีกันเป็นคู่ ๆ ด้วยท่าทางต่าง ๆ และมีคนตีฉิ่งเรียกว่า ตาลัม เป็นผู้รักษาจังหวะ
    กุลาตีไม้น่าจะพัฒนามาจากโมงครุ่ม เพราะโมงครุ่มนั้นผู้แสดงจะร่ายรำอย่างเดียวไม่ต้องร้องเพลง แต่กุลาตีไม้นั้นผู้แสดงจะร้องโคลงหรือกาพย์พร้อมๆกันเป็นจังหวะ โคลงหรือกาพย์นั้นก็เป็นในทำนองสรรเสริญพระมหากษัตริย์ ดังนี้

    "ศักดานุภาพ
    สิทธิครูมอบให้
    เชี่ยวชาญชัย
    พระเดชพระคุณปกเกล้า
    เลิศล้ำ
    จึ่งแจ้ง
    เหตุใด
    ไพร่ฟ้า
    แดนไกล
    ฤทธา
    นาพ่อ
    อยู่เย็น"

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×