ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #122 : ชีวิตจริงของชาวอียิปต์ในยุคโบราณ
สวัสดีขอรับ คงจะงงว่าข้าน้อยข้ามมาอัพตอนต่อไปทั้งที่ตอนเก่ายังลงไม่เสร็จ เหอะๆ อย่าเครียดขอรับ อ่านอันนี้ไปก่อน พร้อมเมื่อไหร่ก็ลงเอง
ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าสิ่งที่ข้าน้อยลงต่อไปนี้ได้นำมาจากหนังสืออีกทีหนึ่ง ซึ่งหลายคนก็อาจจะเคยอ่านกันไปแล้ว อย่าหาว่าอย่างนู้นอย่างนี้เลยนะ ไม่รู้จะลงอะไรให้ ข้อมูลมันไม่มี บวกกับความมึนตลอดชาติ ขอโทษสิ่งที่บางคนให้หาแล้วข้าน้อยไม่รู้จะหาจากไหนมาให้ ง้ำๆ สุดท้ายก่อนอ่านมีอะไรอยากถามก็ถามมาเลย ท่านD13 จะตอบเอง (- -) ลงแล้ววิ่งหนีไป...
ชีวิตจริงของชาวอียิปต์ในยุคโบราณ
หากเราสามารถเดินทางย้อนกาลเวลาเข้าไปท่องเที่ยวในอาณาจักรอียิปต์โบราณ เราจะพบว่าแม้อาญาจักรกลางทะเลทรายแห่งนี้จะมีความเจริญรุ่งเรืองมากกว่าอาณาจักรอื่นๆ แต่เรายังคงต้องช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากอาณาจักรแห่งนี้ไม่มีโรงแรมให้พัก ไม่มีมัคคุเทศก์มืออาชีพและไม่มีสถานทูตประจำให้เราได้ขอความช่วยเหลือ ในกรณีที่เราประสบปัญหา
แต่หากเรายังต้องการเดินทางไปเที่ยวชมอาณาจักรโบราณแห่งนี้ ผู้เขียน (ไม่ใช่ข้าน้อยแต่เป็นคนเขียนหนังสือ เข้าใจนะ) ขอแนะนำให้ไปเดือนตุลาคมและมีนาคม เพราะแม้สภาพอากาศจะร้อนแสนร้อน แต่เราจะได้โบนัสจากงานเทศกาลเก็บเกี่ยวพืชผลประจำปี
ด้วยความที่อาณาจักรอียิปต์เป็นดินแดนที่อากาศร้อนอบอ้าวและอุดมไปด้วยแมงป่อง ดังนั้น เราจึงควรสวมใส่เสื้อผ้าบางๆ ทั้งยังควรสวมใส่ให้น้อยชิ้นและสวมอย่างหลวมๆ หมั่นตรวจสอบรองเท้าก่อนสวมใส่เพื่อความปลอดภัยจากแมงป่อง ทั้งยังควรพกพาอุปกรณ์ติดตัวให้น้อยที่เพื่อความคล่องตัวและช่วยผ่อนคลายอาการเหน็ดเหนื่อยอันเนื่องมาจากแสงแดดที่ร้อนระอุ แต่จำได้ว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นและขาดไม่ได้สามอย่างที่เราต้องมีก็คือ พัด ยาฉีดหรือยาทาขับไล่แมลง และที่สำคัญอีกอย่าง ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม มันก็คือพริกไทย!
ระบบเงินตรามาตรฐานของชาวอียิปต์โบราณคือทองแดง (โดยชั่งเป็นน้ำหนัก) แต่โดยทั่วไป สินค้าและการบริการก็สามารถนำมาใช้แทนเงินตราในระบบแลกเปลี่ยน หรือแม้แต่แรงงานก็สามารถตีราคาเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นอาหารได้ ด้วยเหตุนี้ หากเรามีพริกไทยและผ้าไหม ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาวอียิปต์โบราณไม่มีอยู่ในประเทศ เราจะสามารถนำไปแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีและอย่างมากมายด้วย นอกจากนี้ พริกไทยและผ้าไหมยังไม่เพียงสามารถนำไปแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ เรายังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของ 'ของกำนัล' ที่ล้ำค่าสำหรับชาวอียิปต์โบราณ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เราต้องหมั่นตรวจสอบปฏิธินของชาวอียิปต์โบราณ ซึ่งมีเครื่องหมายของวันดีและวันไม่ดี (สิ่งดีและสิ่งเลวที่เกิดกับเทพเจ้าของพวกเขา) อยู่มากมาย ซึ่งหากเราพบว่าวันนั้นเป็นวันไม่ดี เราต้องงดกิจกรรมทุกอย่างในวันนั้น หาไม่ความหายนะอาจกลายเป็นจุดจบที่น่าเศร้าของเราเอง
แม้สถานที่ราชการในการดูแลทุกข์สุขของราษฎรในอาณาจักรอียิปต์โบราณจะไม่มีอย่างเป็นทางการ แต่ในกรณีที่เรามีเรื่องฉุกเฉิน ให้เรียกหา 'มาไจ' ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเทียบเท่าตำรวจและมีอยู่ในเมืองสำคัญๆ ทุกเมือง โดยมาไจเหล่านี้จะทำหน้าที่รักษากฎหมาย จับอาชญกรและป้องกันการรุกล้ำตามแนวชายแดน
ในด้านมาตรการชั่งตวงวัด ชาวอียิปต์โบราณมีหน่วยวัดความยาวมาตรฐานที่เรียกว่า 'คิวบิต' ซึ่งเป็นความยาวที่วัดจากข้อศอกถึงปลายนิ้วของผู้ใหญ่ แต่ด้วยความที่ขนาดความยาวของข้อศอกและปลายนิ้วของผู้ใหญ่แต่ละคนยาวไม่เท่ากัน ดังนั้น ชาวอียิปต์โบราณจึงกำหนดมาตรฐานความยาวจากข้อศอกถึงปลายนิ้วไว้ที่ 52.5 เซนติเมตรหรือ 21 นิ้ว ซึ่งเรียกว่า คิวบิตราชสำนัก สำหรับหน่วยความยาวที่สั้นกว่านั้น ชาวอียิปต์โบราณใช้ระยะความยาวและความกว้างของฝ่ามือเป็นตัวกำหนด โดยกำหนดให้นิ้วที่นำมาวางเรียงกันรวมยี่สิบแปดนิ้ว (ไม่นับนิ้วหัวแม่มือ) หรือเจ็ดช่วงความกว้างของนิ้วมีค่าเท่ากับหนึ่งคิวบิต
(กรุณาเอียงคอไปทางซ้าย ขอบคุณ)
หน่วยน้ำหนักของชาวอียิปต์โบราณเป็นหน่วยที่ได้มาจากการชั่งน้ำหนักของก้อนหินหรือโลหะ ซึ่งมักทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ โดยน้ำหนักมาตรฐานเรียกว่า 'ดีเบ็น' โดยหนึ่งดีเบ็นจะมีค่าราว 91 กรัมหรือ 3.64 ออนซ์ นอกจากนี้ ชาวอียิปต์โบราณยังแบ่งหน่วยดีเบ็นออกเป็นหน่วยย่อยเรียกว่า 'ไคต์' หน่วยใหญ่กว่าที่เรียกว่า 'เซ็ป' โดย 10 ไคต์จะมีค่าเท่ากับ 1 ดีเบ็นและ 10 ดีเบ็น (100 ไคต์) จะมีค่าเท่ากับ 1 เซ็ป
ชาวอียิปต์โบราณใช้นาฬิกาน้ำ (ไม่ใช่นาฬิกาทราย) เป็นอุปกรณ์วัดเวลา โดยบรรจุน้ำในหม้อที่เจาะรูเล็กๆ แล้วปล่อยให้น้ำหยดออกจากหม้อจนหมดในเวลาหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหนึ่งวันของชาวอียิปต์จะมี 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกับเราในยุคปัจจุบัน
ปฏิธินของชาวอียิปต์โบราณแตกต่างจากปฏิธินของเราเล็กน้อย กล่าวคือหนึ่งเดือนของพวกเขาจะมีสามสิบวันและมีวันพิเศษทางศาสนาต่างหากอีกห้าวันรวมเป็นสามร้อยหกสิบห้าวันในหนึ่งปี และหนึ่งสัปดาห์ของพวกเขาจะมีสิบวัน โดยทุกๆ วันที่สิบของสัปดาห์จะเป็นวันหยุดพักผ่อน ส่วนหน่วยของปี (ศักราช) จะเริ่มนับโดยถือเอาปีที่กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฟาโรห์รามเสสขึ้นครองราชย์ ปีนั้นจะเป็นปีศักราชที่หนึ่งใหม่โดยมีคำต่อท้ายว่า 'แห่งการปกครองของรามเสส'
ชาวอียิปต์โบราณแบ่งฤดูกาลในแต่ละปีออกเป็นสามฤดูโดยยึดเอาการเพาะปลูกเป็นเกณฑ์ โดยฤดูแรกเรียกว่า 'ฤดูไหลบ่า' ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เนื่องจากเป็นฤดูน้ำท่วม ฤดูที่ชาวอียิปต์โบราณให้ความสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง เพราะหากไม่มีปรากฎการณ์น้ำท่วมจากแม่น้ำไนล์ อาณาจักรอียิปต์ทั้งอาณาจักรจะมีแต่ความแห้งแล้งและความร้อนของทะเลทราย หลังจากหมดฤดูน้ำท่วมก็จะถึงฤดู 'เพาะปลูก' ซึ่งจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และสุดท้ายจะเป็นฤดู 'เก็บเกี่ยว' ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน
อ้างอิง...พลิกปูมอาณาจักรอียิปต์โบราณ ศักดิ์ บวร เรียบเรียง
ขอบคุณขอรับ (_ _)( - - )
3ความคิดเห็น