ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ
บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษมี 5 ลำดับขั้น เรียงจากชั้นสูงสุดลงไป ดังนี้
1.ดยุค (Duke) ฝ่ายหญิงเรียก ดัชเชส (Duchess)
2.มาควิส (Marquess) ฝ่ายหญิงเรียก มาร์เควียเนส (Marchioness)
3.เอิร์ล หรือเคานต์ (Earl หรือ Count) ฝ่ายหญิงเรียก เคาน์เตส (Countess)
4.ไวส์เคานต์ (Viscount) ฝ่ายหญิงเรียก ไวส์เคาน์เตส (Viscountess)
5.บารอน (Baron) ฝ่ายหญิงเรียก บารอเนส (Baroness)
ส่วน "ลอร์ด" (Lord) เป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ชายที่มีกำลังและอำนาจ ใช้แตกต่างกันไปตามบริบทต่างๆ ซึ่งถ้าหากจะพูดในแง่ของตำแหน่งหรือบรรดาศักดิ์ในระบบขุนนางแล้ว ลอร์ดเป็นบรรดาศักดิ์ของชนชั้นสูงที่มีศักดินาถือครองที่ดินรวมถึงผลผลิตและแรงงานของทาสที่อาศัยอยู่ และจะใช้เป็นคำสุภาพเรียกบุตรของขุนนางด้วย เช่น บุตรชายคนเล็กของดยุคและ มาควิสก็เรียกว่าลอร์ด (ตามด้วยชื่อหรือนามสกุล)
ในอังกฤษ ขุนนางในบรรดาศักดิ์ไวส์เคานต์และบารอน นิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า ลอร์ด และกับฝ่ายหญิงหรือภรรยาของไวส์เคานต์ และ บารอน ใช้คำนำหน้าชื่อว่า เลดี้ (Lady) เช่นเดียวกับขุนนางชายทั้งหมด (ยกเว้นดยุค) ทั้งนี้ คำที่ตามหลังตำแหน่งอาจเป็นชื่อเมืองก็ได้ เช่น อัลเฟรด เทนนีซัน บารอนที่ 1 แห่ง เทนนีซัน ก็จะเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ลอร์ดเทนนีซัน หรือ ลอร์ดแห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด์ อย่างที่ถามมา เป็นต้น
ในวัฒนธรรมยุโรป ลอร์ดอาจหมายถึงคำนำหน้าชื่อเทียบเท่ากับมิสเตอร์ในภาษาอังกฤษ ซินญอร์ในภาษาอิตาลี แฮร์ในภาษาเยอรมัน หรืออาจจะเป็นคำสุภาพในภาษาที่หมายถึง คุณ ทั้งยังใช้เรียกเชิงยกย่องว่าเป็นนาย หรือบางครั้งลูกศิษย์ก็อาจเรียกอาจารย์ว่าลอร์ด
หากจะเปรียบลอร์ดของยุโรปกับประเทศไทย บรรดาศักดิ์ของข้าราชการไทยระดับที่เรียกว่าขุนนางซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 5 ขั้น ได้แก่
1.สมเด็จเจ้าพระยา
2.เจ้าพระยา 3.พระยา
4.พระ
5.หลวง (ขุน หมื่น พัน ทนายผู้น้อย ศักดินาน้อยกว่า 400 ไร่นั้น ไม่เรียกขุนนาง แต่อาจเรียกว่าขุนนางระดับล่าง)
แต่ละบรรดาศักดิ์จะมีศักดินาประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ทั้งนี้ ระบบขุนนางไทยถือว่าศักดินาสำคัญกว่าบรรดาศักดิ์ เพราะศักดินาจะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหมและพินัยในกรณีขึ้นศาล ดังนั้น แม้ว่าบางตำแหน่งบรรดาศักดิ์จะสูงกว่า แต่ศักดินาต่ำ ก็ไม่ถือว่าเป็นขุนนางระดับสูง เช่น บรรดาศักดิ์เจ้าพระยามหาโยธา ศักดินา 3,000 ไร่ ก็ถือเป็นเพียงชั้นขุนนางศักดินา 3,000 ไร่เท่านั้น ต่ำกว่าขุนนางระดับพระที่มีศักดินา 5,000 ไร่ เช่น พระพิชัยสงคราม ทหารเจ้ากรมอาสาซ้ายในกรมอาสาหกเหล่า พระพิชัยสงครามก็อาจเลื่อนบรรดาศักดิ์ไปเป็นพระยาพิชัยสงคราม โดยมีราชทินนามเดิม ตำแหน่งเดิม ศักดินาเท่าเดิม มีเพียงบรรดาศักดิ์ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขุนนางของไทยสมัยโบราณไม่เหมือนขุนนางในประเทศตะวันตก คือไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น เทียบได้กับระบบชั้นยศของข้าราชการปัจจุบันที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางโบราณจะมีราชทินนามและศักดินาเพิ่มเติม ต่างจากข้าราชการในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศ
สำหรับ จมื่น หรือพระนาย เป็นบรรดาศักดิ์หัวหน้ามหาดเล็กในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1,000 ไร่ เทียบได้เท่ากับบรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด เป็นช่องทางรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกขุน ออกหลวง เป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ดยุค เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
2.มาควิส เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
3.เอิร์ล หรือ เคานส์ เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
4.ไวส์เคาน์ เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
5.บารอน เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
6.ลอร์ด มีบรรดาศักดิ์อย่างไร
ตอบ
7. การใช้" ลอร์ด " จะต้องใช้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง มากกว่าในบทเรียน
ตอบ
8.ขุนนางไทยต่างจากขุนนางตะวันออกอย่างไร
ตอบ
9.รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนครั้งนี้
ตอบ
10.นักเรียนเคยคิดที่จะเรียนรู้เรื่องนี้หรือไม่ ?
ตอบ
ปล.ลงในห้อง และกรุณาลงชื่อด้วย
1.ดยุค (Duke) ฝ่ายหญิงเรียก ดัชเชส (Duchess)
2.มาควิส (Marquess) ฝ่ายหญิงเรียก มาร์เควียเนส (Marchioness)
3.เอิร์ล หรือเคานต์ (Earl หรือ Count) ฝ่ายหญิงเรียก เคาน์เตส (Countess)
4.ไวส์เคานต์ (Viscount) ฝ่ายหญิงเรียก ไวส์เคาน์เตส (Viscountess)
5.บารอน (Baron) ฝ่ายหญิงเรียก บารอเนส (Baroness)
ส่วน "ลอร์ด" (Lord) เป็นบรรดาศักดิ์ของผู้ชายที่มีกำลังและอำนาจ ใช้แตกต่างกันไปตามบริบทต่างๆ ซึ่งถ้าหากจะพูดในแง่ของตำแหน่งหรือบรรดาศักดิ์ในระบบขุนนางแล้ว ลอร์ดเป็นบรรดาศักดิ์ของชนชั้นสูงที่มีศักดินาถือครองที่ดินรวมถึงผลผลิตและแรงงานของทาสที่อาศัยอยู่ และจะใช้เป็นคำสุภาพเรียกบุตรของขุนนางด้วย เช่น บุตรชายคนเล็กของดยุคและ มาควิสก็เรียกว่าลอร์ด (ตามด้วยชื่อหรือนามสกุล)
ในอังกฤษ ขุนนางในบรรดาศักดิ์ไวส์เคานต์และบารอน นิยมใช้คำนำหน้าชื่อว่า ลอร์ด และกับฝ่ายหญิงหรือภรรยาของไวส์เคานต์ และ บารอน ใช้คำนำหน้าชื่อว่า เลดี้ (Lady) เช่นเดียวกับขุนนางชายทั้งหมด (ยกเว้นดยุค) ทั้งนี้ คำที่ตามหลังตำแหน่งอาจเป็นชื่อเมืองก็ได้ เช่น อัลเฟรด เทนนีซัน บารอนที่ 1 แห่ง เทนนีซัน ก็จะเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ลอร์ดเทนนีซัน หรือ ลอร์ดแห่งนอร์ธัมเบอร์แลนด์ อย่างที่ถามมา เป็นต้น
ในวัฒนธรรมยุโรป ลอร์ดอาจหมายถึงคำนำหน้าชื่อเทียบเท่ากับมิสเตอร์ในภาษาอังกฤษ ซินญอร์ในภาษาอิตาลี แฮร์ในภาษาเยอรมัน หรืออาจจะเป็นคำสุภาพในภาษาที่หมายถึง คุณ ทั้งยังใช้เรียกเชิงยกย่องว่าเป็นนาย หรือบางครั้งลูกศิษย์ก็อาจเรียกอาจารย์ว่าลอร์ด
หากจะเปรียบลอร์ดของยุโรปกับประเทศไทย บรรดาศักดิ์ของข้าราชการไทยระดับที่เรียกว่าขุนนางซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 5 ขั้น ได้แก่
1.สมเด็จเจ้าพระยา
2.เจ้าพระยา 3.พระยา
4.พระ
5.หลวง (ขุน หมื่น พัน ทนายผู้น้อย ศักดินาน้อยกว่า 400 ไร่นั้น ไม่เรียกขุนนาง แต่อาจเรียกว่าขุนนางระดับล่าง)
แต่ละบรรดาศักดิ์จะมีศักดินาประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ทั้งนี้ ระบบขุนนางไทยถือว่าศักดินาสำคัญกว่าบรรดาศักดิ์ เพราะศักดินาจะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหมและพินัยในกรณีขึ้นศาล ดังนั้น แม้ว่าบางตำแหน่งบรรดาศักดิ์จะสูงกว่า แต่ศักดินาต่ำ ก็ไม่ถือว่าเป็นขุนนางระดับสูง เช่น บรรดาศักดิ์เจ้าพระยามหาโยธา ศักดินา 3,000 ไร่ ก็ถือเป็นเพียงชั้นขุนนางศักดินา 3,000 ไร่เท่านั้น ต่ำกว่าขุนนางระดับพระที่มีศักดินา 5,000 ไร่ เช่น พระพิชัยสงคราม ทหารเจ้ากรมอาสาซ้ายในกรมอาสาหกเหล่า พระพิชัยสงครามก็อาจเลื่อนบรรดาศักดิ์ไปเป็นพระยาพิชัยสงคราม โดยมีราชทินนามเดิม ตำแหน่งเดิม ศักดินาเท่าเดิม มีเพียงบรรดาศักดิ์ที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขุนนางของไทยสมัยโบราณไม่เหมือนขุนนางในประเทศตะวันตก คือไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น เทียบได้กับระบบชั้นยศของข้าราชการปัจจุบันที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางโบราณจะมีราชทินนามและศักดินาเพิ่มเติม ต่างจากข้าราชการในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศ
สำหรับ จมื่น หรือพระนาย เป็นบรรดาศักดิ์หัวหน้ามหาดเล็กในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1,000 ไร่ เทียบได้เท่ากับบรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด เป็นช่องทางรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกขุน ออกหลวง เป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ดยุค เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
2.มาควิส เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
3.เอิร์ล หรือ เคานส์ เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
4.ไวส์เคาน์ เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
5.บารอน เปรียบเหมือนบรรดาศักดิ์ใดในไทย
ตอบ
6.ลอร์ด มีบรรดาศักดิ์อย่างไร
ตอบ
7. การใช้" ลอร์ด " จะต้องใช้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง มากกว่าในบทเรียน
ตอบ
8.ขุนนางไทยต่างจากขุนนางตะวันออกอย่างไร
ตอบ
9.รู้สึกอย่างไรกับบทเรียนครั้งนี้
ตอบ
10.นักเรียนเคยคิดที่จะเรียนรู้เรื่องนี้หรือไม่ ?
ตอบ
ปล.ลงในห้อง และกรุณาลงชื่อด้วย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น