คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : Admission ปี 53 ความโชคร้ายของเด็กม.ปลาย
ประเดิมหัวข้อแรกน้าคัฟ วันนี้ผมจะพูดถึงการสอบ Admission ปี 53
....Admission ปี 53 คงได้ยินข่าวแว่วๆมาแล้วว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผมเลยหยิบรูปแบบการสอบของปีนี้มาให้ดูนะคัฟผม....
ขอบคุณ : เว็บ Da’vance (www.Davance.com) ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลดีๆนะคัฟผม
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษา
เนื้อหา แบ่งเป็น 6 ภาษา คือ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 3 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
.ซึ่งการสอบแบบนี้นั้น ทางผู้ใหญ่เค้าก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่เหมือกัน ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในครั้งหน้า แต่ถ้าเกิดมีการสอบแบบนี้ขึ้นจริงๆ สื่งที่ผมกลัวก็คือ
1. คะแนนปีนี้อาจจะเฟ้อ เนื่องจากข้อสอบความถนัด (PAT) เป็นข้อสอบวัดไอคิว ไม่ได้ใช้ความรู้การบทเรียน (อาจจะมีบ้าง)
2. มหาลัยก็จะหันไปรับตรงมากขึ้น โอกาสในการแข่งขันก็มีสูงขึ้น
3. ข้อดีนิดๆหน่อยๆก็คือ เราจะไม่สอบเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ไทย+สังคม อังกฤษยากแล้ว แต่มันจะทำให้ได้ใช้ความรู้ในการสอบได้เต็มที่หรอ
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องช่วยกันติดตามข่าวกันนะคัฟผม
ความคิดเห็น